4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

PMU สวรส. แถลงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

 

          วันที่ 23 มิถุนายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)  และหน่วยงาน PMU ประกอบด้วย 1) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 2) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) 3) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน (สวก.) 4) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) 5) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) 6) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ 7) สวรส. ร่วมแถลงผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบ zoom 

          นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ภารกิจของ สวรส. ภายใต้ พรบ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีหน้าที่สำคัญในการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข รวมทั้งเป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านสุขภาพของประเทศ (PMU) ที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยสุขภาพบนพื้นฐานความต้องการของประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ระยะ 20 ปี ตลอดจนตอบสนองนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ โดย สวรส. มีการจัดสรรทุนวิจัยตามภารกิจสำคัญคือ การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งจัดสรรทุนวิจัยให้กับโครงการสำคัญของประเทศผ่านโจทย์ของ สกสว. เช่น โครงการจีโนมิกส์ไทยแลนด์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาโรคเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น หรือการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นภายในประเทศ เช่น การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อตอบสนองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ซึ่งจะมีทั้งแบบเชิงรุก (commission approach) ที่มักใช้กับงานวิจัยที่มีลักษณะเฉพาะและหานักวิจัยค่อนข้างยาก เช่น งานวิจัยเชิงระบบและนโยบายสุขภาพที่เป็นภารกิจหลักของ สวรส. และแบบประกาศรับข้อเสนอโครงการที่มีกรอบการวิจัยชัดเจน (call for proposals) ทั้งนี้แต่ละงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวรส. ต้องเป็นงานวิจัยที่สามารถแก้ปัญหาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในมิติของการพัฒนาความยั่งยืนของระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสาธารณสุขและระบบการรักษาพยาบาลของประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการลดค่าใช้จ่าย การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบของงบประมาณ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กรณีโรคที่ป้องกันได้ โดยผลักดันให้เป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานในระบบหลักประกันสุขภาพ การพัฒนามาตรการควบคุม/ป้องกันปัญหาโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฯลฯ โดยการกำหนดโจทย์วิจัย สวรส.จะดำเนินการร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยที่มีโอกาสของการนำไปใช้ประโยชน์ และสามารถสร้างผลกระทบสูงต่อประเทศ ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลเป็นระยะ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้