4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เชื้อไวรัสกลายพันธุ์กับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙

          ตามที่มีข่าวว่า ทีมไทยกำลังเร่งผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ มาใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทำให้บางคนสงสัยว่า แล้วที่มีข่าวว่า เชื้อ SARS-CoV-2 กลายพันธุ์หรือมี มิวเทชัน (mutation) ตลอดเวลา เมื่อถึงกลางหรือปลายปีหน้า วัคซีนที่คนไทยทำจะยังใช้ได้ไหม? เพราะเชื้อกลายพันธุ์ไปเรื่อยจนไม่รู้ว่า ปีหน้ายังเหลือเป็นสายพันธุ์เดิมหรือกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่หมดแล้ว? ก่อนที่ผมจะไปสรุปว่า วัคซีนคนไทยทำเสร็จในปีหน้าจะใช้ได้หรือไม่? เราต้องทราบข้อเท็จจริง ๔ ข้อก่อน 

          ข้อที่ ๑ เชื้อ SARS-CoV-2 กลายพันธุ์แน่นอนทุกวัน ตามประสาเชื้อไวรัส RNA ที่กลายพันธุ์เก่ง
          ข้อที่ ๒ เชื้อไวรัสจะมีชีวิตยาวนานและเพิ่มจำนวนมาก่อโรคได้ ต้องเข้าไปอยู่ในเซลล์(มนุษย์ แมว ค้างคาว เป็นต้น) ให้ได้อย่างเดียวเท่านั้น มิฉะนั้น เชื้อจะแห้งตายอยู่ในสิ่งแวดล้อม
          ข้อที่ ๓ และสำคัญที่สุดต่อการก่อโรคและคงอยู่ของเชื้อ SARS-CoV-2 คือ ผิวของเชื้อไวรัสต้องมี spike protein (โปรตีน เอส) ที่มีรูปร่างคงที่และมีลักษณะเฉพาะที่จะจับกับผิวเซลล์มนุษย์ตรงตำแหน่ง angiotensin-converting enzyme 2 (ย่อว่า ACE2 หรือ เอซีอี-สอง) และ TMPRSS2 (transmembrane serine protease 2) ให้ได้เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ที่ผิวเซลล์ไม่ได้ เชื้อก็มุดเข้าเซลล์มนุษย์ไม่ได้  
          ข้อที่ ๔ เซลล์ในระบบทางเดินหายใจ (หรือที่อื่น) ในคนทั่วไป อยู่ตัวและไม่กลายพันธุ์แล้ว 

          ดังนั้น เมื่อเชื้อกลายพันธุ์ (กรดอะมิโนเปลี่ยนตัวในบางตำแหน่งในสายรหัสพันธุกรรม) หากเชื้อตัวไหนกลายพันธุ์จนมีผลให้โปรตีน เอส ที่ผิวไวรัสเปลี่ยนไปด้วย เชื้อจะไม่สามารถใช้ โปรตีน เอส ของตนมุดเข้าเซลล์มนุษย์ได้ เพราะเซลล์มนุษย์ไม่เปลี่ยนและไม่ยอมกลายพันธุ์ตามไปด้วย เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้เองทุกวันเป็นเชื้อหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ไหนห่างไกลจากตัวพ่อแม่มากจนผิวไวรัสมี โปรตีน เอส เปลี่ยนไปจากเดิม จะหลุดจากวงโคจรการก่อโรคในมนุษย์ ตามกฎเกณฑ์การคัดเลือกสายพันธุ์ตามธรรมชาติ (natural selection ในทฤษฎีวิวัฒนาการของ Charles Darwin) เพราะฉะนั้น เชื้อกลายพันธุ์ที่แยกได้จากการติดเชื้อในมนุษย์ แม้จะมีหลายสายพันธุ์ แต่ก็เป็นสายพันธุ์ที่ยังคงมี โปรตีน เอส เหมือนกันตามเดิมทุกสายพันธุ์ เพื่อที่จะเอื้อให้เชื้อมีชีวิตก่อโรคต่อไปได้  ส่วนเชื้อตัวที่กลายพันธุ์จน โปรตีน เอส เปลี่ยนโครงสร้างไปแล้ว ก็มุดเข้าเซลล์มนุษย์ไม่ได้ เชื้อกลุ่มนี้แห้งตายไปแล้วในสิ่งแวดล้อม เราไม่เคยตรวจพบเพราะไม่ได้มาก่อโรคในมุนษย์อีก

          จุดไม้ตายตรงนี้แหละที่นักวิทยาศาสตร์ไทยทำการศึกษาทดลองทำวัคซีนโควิด-๑๙ มาให้ชาวไทยใช้ครับ  เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ให้ตรวจเลือดพบแอนติบอดี (ภูมิคุ้มกัน) ต่อต้าน โปรตีน เอส ที่มีลักษณะเฉพาะนี้ก่อน และยังแถมกระตุ้น เม็ดเลือดขาว ชนิด ที-เซลล์ ให้จำและสร้างภูมิคุ้มกันนานๆ ด้วย ก็ถือว่า วัคซีนของไทยใช้ได้ผล ดังนั้น ขอให้ชาวไทยทุกท่านส่งกำลังใจให้ทีมไทย (มีหลายทีม) ผลิตวัคซีนโควิด-๑๙ ให้เสร็จเร็วๆ ท่านไม่ต้องห่วงเลยว่า วัคซีนโควิดของไทยจะใช้ไม่ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์กับหมอไทยเก่ง เล่นทำวัคซีนต่อต้านตรงจุดไม้ตายนี้แหละ ยิ่งประชาชนสวมหน้ากากอนามัยและใช้ระยะห่างทางสังคมเป็นทุนด้วยแล้ว ให้ไปห่วงเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ดีกว่า ว่าแม้เชื้อตัวนี้จะกลายพันธุ์เก่ง แต่เมื่อมีวัคซีนใช้ น่าจะแห้งตายไปจากประเทศไทยก่อนประเทศอื่นครับ


ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร ลีลารัศมี
นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้