4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส.-ม.วลัยลักษณ์ จับมือพัฒนาศักยภาพการวิจัยการแพทย์สาธารณสุขภาคใต้ มุ่งสร้างโมเดลแก้ปัญหาระบบสุขภาพในพื้นที่ พร้อมตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) เสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย และสร้างงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาระบบสาธารณสุขในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาระบบวิจัยและการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ โดยมี นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการ สวรส. และศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มวล. ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ “การเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน” ระหว่าง มวล. และ สวรส. มี ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. และศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม มวล. ลงนามเป็นพยาน ตลอดจนผู้บริหาร นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2563 ณ ห้องประชุมโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

          นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัยนับเป็นฐานข้อมูลสำคัญต่อการได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งและใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยต้องมุ่งเป้าและระบุความสำคัญของปัญหาที่ชัดเจน รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยควรสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพในบริบทสังคมปัจจุบันได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) อุบัติเหตุจราจร โรคอุบัติใหม่ สังคมผู้สูงอายุ ช่องว่างระหว่างวัย สังคมดิจิตอล สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ดังนั้นงานวิจัยจึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งพัฒนางาน พัฒนาเทคโนโลยี และสะสมองค์ความรู้เพื่อต่อยอดการพัฒนาด้วย ซึ่งนอกจากการเป็นพันธมิตรและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และเกิดโอกาสของการสร้างนักวิจัยหน้าใหม่ ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยและการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยแล้ว สวรส. ยังหวังที่จะเห็นการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายวิจัยในระยะยาว เพื่อความเข้มแข็งของงานวิจัยในพื้นที่ และนำไปสู่การขยายผลในการแก้ปัญหาเชิงระบบระดับประเทศต่อไป 

          ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการเรียนการสอน ตลอดจนนับเป็นมหาวิทยาลัยการวิจัยที่สมบูรณ์แบบ โดยมีมีการวิจัยที่ครอบคลุมทั้งด้านการสร้างองค์ความรู้ การแก้ปัญหา และพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชุมชน นำสู่การเป็นนโยบายของประเทศต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าความร่วมมือระหว่าง มวล. และ สวรส. ซึ่งเป็นความร่วมมือต่อเนื่อง
จะสามารถสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป

          ด้าน ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความร่วมมือฯ ครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก มวล. และ สวรส. ได้สร้างความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย โดยมีการจัดกิจกรรมในลักษณะการจัดอบรมนักวิจัยในเครือข่ายภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย และพัฒนาโจทย์วิจัยที่ตอบสนองการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายนักวิจัยระบบสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยคาดหวังให้เกิดโมเดลของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่สามารถนำไปขยายผลในวงกว้างได้ด้วย ซึ่งถึงแม้ สวรส.จะมีทุนสนับสนุนงานวิจัย แต่ถ้าไม่มีงานวิจัยและนักวิจัยที่มีคุณภาพ สวรส.ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาหรือสร้างงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพและพัฒนาประเทศได้ ดังนั้นการที่งานวิจัยจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์และเกิดผลกระทบในภาพรวม จึงต้องเกิดจากความร่วมมือของทั้ง สวรส. และ มวล. ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เข้มแข็งด้านการวิจัยในพื้นที่

          นอกจากนี้ ภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือ นักวิจัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิจาก สวรส. ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ  ทพ.จเร วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย และนายธีรธัช กันตามระ ผู้จัดการสำนักนโยบายและแผน เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่จะนำไปสนับสนุนทุนวิจัยโดย สวรส. ซึ่งงานวิจัยที่มานำเสนอ ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสู่ความสำเร็จในการจัดการตอบโต้โรคระบาดโควิด-19 ของศาสนสถาน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) การปรับตัวและวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ของเด็กนักเรียนไทยหลังวิกฤติโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน 3) การใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาต้านจุลชีพในการป้องกันอาการท้องเสียในสุกรหย่านม เพื่อลดภาวะการดื้อยาต้านจุลชีพ 4) การสำรวจเชื้อดื้อยา E.coil และ Salmoneella spp. ในเนื้อโค ไก่ และสุกร เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อดื้อยาอันยั่งยืนในพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้