4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

รูปแบบระบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย : พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว

ความเป็นมา

          การให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับคนต่างด้าวเป็นแนวทางการจัดบริการสุขภาพ (Health for all policy) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและสร้างความเท่าเทียมในการเข้ารับบริการสุขภาพของคนต่างด้าว มุมมองของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับคนต่างด้าว ทั้งในมุมของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงเสมือน ทางสองแพร่ง (Dilemma) ในประเด็นด้านกฎหมายและด้านสุขภาพ  สำหรับกลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย และกลุ่มผู้ติดตามตั้งแต่เริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ดังนั้นรูปแบบการให้บริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวต้องอาศัยแนวทางใดบ้างในการจัดบริการ

          จากการศึกษารูปแบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยทีมวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพบว่า แนวทางการจัดบริการสำหรับคนต่างด้าวเพื่อตอบสนองความต้องการและเป็นมิตรต่อระบบริการสุขภาพ และผู้เข้ารับบริการ ประกอบไปด้วย 1) การบริหารจัดการในโรงพยาบาลเพื่อรองรับการให้บริการกับกลุ่มคนต่างด้าว (Management) 2) ความยั่งยืนของระบบการเงินการคลัง (Financing) 3) กำลังคนสุขภาพ (Human resources) และ 4) การจัดบริการทางสุขภาพที่เชื่อมโยงข้อมูลทั้งในและนอกโรงพยาบาล (Health information and management) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตร เพื่อรองรับจำนวนคนไข้ที่จะเพิ่มขึ้น  ข้อเสนอเชิงนโยบายที่มุ่งเน้นด้านบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีส่วนในการบริการด้านสื่อสารไปจนถึงให้ความรู้ด้านสุขภาพพื้นฐาน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

          1. ล่ามภาษา แบ่งได้ 3 แหล่งใหญ่ คือ 1) ล่ามของโรงพยาบาล (บางแห่งหมายรวมถึงพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวด้วย) โดยส่วนใหญ่จะพบในโรงพยาบาลที่มีจำนวนคนไข้ต่างด้าวมาใช้บริการมากกว่า 10,000 ครั้งต่อคนต่อปี  2) ล่ามจิตอาสา/เครือข่าย ส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาลที่มีจำนวนคนต่างด้าวไม่มากนัก  3) ล่ามเอกชน/สถานประกอบการที่นายจ้างจัดจ้างเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสุขภาพและขึ้นทะเบียน
          2. พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่และจำนวนของคนต่างด้าวในพื้นที่ด้วย
          3. อาสาสมัครต่างด้าว (อสต.) ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่และจำนวนคนต่างด้าวชุมชน โดยส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ที่มีคนต่างด้าวหนาแน่น เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีผู้นำชุมชน เป็นต้น 

          ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า คนต่างด้าวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ในการเอาใจใส่ ให้คำแนะนำ และสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ และให้บริการรักษาเหมือนคนไทยโดยไม่มีการแบ่งแยก (ระดับ 4: พึงพอใจมาก) อย่างไรก็ตาม บริการและสิ่งที่คนต่างด้าวมากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคือ การเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ล่ามภาษา และการให้ความรู้ในด้านการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน   

ข้อเสนอเชิงนโยบาย
     • การพัฒนาศักยภาพของพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวเพื่อทบทวนและฟื้นฟูความรู้ รวมถึงพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ
     • โรงพยาบาลควรพัฒนาการทำงานบริการเชิงรุกของบุคลากรร่วมกับการพัฒนาคนต่างด้าวที่มีจิตอาสาและอยู่ในพื้นที่ประจำขึ้นมาเป็น อสต. หรือแกนนำสุขภาพในพื้นที่ เพื่อทำงานเชิงรุกร่วมกัน
     • กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดความชัดเจนของกรอบอัตรากำลัง เกณฑ์และคุณสมบัติสำหรับการจัดจ้าง พสต. เพื่อเปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่มีคนต่างด้าวมารับบริการเป็นจำนวนมากสามารถจ้าง พสต. ในโรงพยาบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม และถูกต้องตามระเบียบราชการ
     • การพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารด้านสุขภาพ หลากหลายภาษา 

ผู้เขียน : จิราลักษณ์ นนทารักษ์ และคณะวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้