4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข้าราชการกับความเป็นธรรมในสิทธิการรักษาพยาบาล

Teaser: 
ปีใหม่ปีนี้ กรมบัญชีกลางมอบของขวัญให้กับข้าราชการทุกคนด้วยการห้ามเบิกกลูโคซามีน (Glucosamine) ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีการใช้กับผู้ป่วย โดยอ้างสรรพคุณในการลดอาการปวดของโรคข้อเสื่อม ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฯลฯ ซึ่งข้อมูลจากการทบทวนไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่า ยานี้มีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างไร (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก http://www.hisro.or.th/csmbs/download/Glucosamine.pdf) เดิมกรมบัญชีกลางอนุญาตให้ข้าราชการสามารถใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติได้ หากแพทย์ 3 ท่านให้ความเห็นชอบ การประกาศห้ามกรณีนี้เท่ากับว่า แม้แพทย์เห็นชอบให้ใช้ ก็ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้

ปีใหม่ปีนี้ กรมบัญชีกลางมอบของขวัญให้กับข้าราชการทุกคนด้วยการห้ามเบิกกลูโคซามีน (Glucosamine) ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีการใช้กับผู้ป่วย โดยอ้างสรรพคุณในการลดอาการปวดของโรคข้อเสื่อม ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฯลฯ ซึ่งข้อมูลจากการทบทวนไม่พบหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่า ยานี้มีคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างไร (รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จาก http://www.hisro.or.th/csmbs/download/Glucosamine.pdf) เดิมกรมบัญชีกลางอนุญาตให้ข้าราชการสามารถใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติได้ หากแพทย์ 3 ท่านให้ความเห็นชอบ การประกาศห้ามกรณีนี้เท่ากับว่า แม้แพทย์เห็นชอบให้ใช้ ก็ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้

การห้ามเบิกกลู โคซามีนนี้ เป็นมาตรการเริ่มแรกของการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นมาก จนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละประมาณ 12,000 บาทต่อปี (ข้อมูลปี 2553) หรือสูงกว่า 5 เท่าของค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมและผู้มีสิทธิหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า การประกาศนโยบายดังกล่าวของกรมบัญชีกลาง ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายประการ

ประการแรก กลุ่มข้าราชการได้เคลื่อนไหวแสดงความห่วงใยว่า นโยบายดังกล่าวอาจจะกระทบต่อสิทธิด้านการรักษาพยาบาลของตนเองและครอบครัว ข้าราชการได้รับเงินเดือน/ค่าตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบภาคเอกชน สิทธิการรักษาพยาบาลที่ได้รับจึงเป็นการชดเชยกับการได้เงินเดือน/ค่าตอบแทน ที่ต่ำดังกล่าว หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ หากพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชนได้รับสิทธิรักษาพยาบาลตามระบบประกันสังคม ข้าราชการและครอบครัวก็ควรจะได้สิทธิที่มากกว่า

ประการที่สอง กลุ่มแพทย์โรงพยาบาลของรัฐได้สะท้อนว่า ที่ผ่านมาโรงพยาบาลอาศัยงบประมาณจากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ช่วยจุนเจือการดูแลผู้ป่วยในระบบประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งจัดสรรเงินมาให้โรงพยาบาลค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอสำหรับการดูแลผู้มีสิทธิ หากกรมบัญชีกลางควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวด อาจกระทบต่อสถานะทางการเงินของโรงพยาบาล และกระทบต่อคุณภาพบริการที่ข้าราชการจะได้รับด้วย นอกจากนี้การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบาง รายที่ไม่สามารถใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติได้

ประเด็นความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจหลายประเด็นคือ

  • หาก ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติสามารถใช้ในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำไมจึงมีการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับข้าราชการเป็นมูลค่า มากว่าร้อยละ 50 ของมูลค่ายาทั้งหมด และหลายกรณีเป็นการสั่งใช้ยาให้กับผู้ป่วยเป็นครั้งแรกด้วย (ไม่ได้สั่งใช้หลังจากพบว่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติไม่ได้ผล) เหตุผลของการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวนมากสำหรับข้าราชการคือ อะไร
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการที่สูงกว่าการดูแลผู้ป่วย ในระบบประกันสุขภาพอื่นนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากต้นทุนการดูแลผู้ป่วยที่สูงขึ้น รวมกับค่าใช้จ่ายด้านยาที่มีราคาแพง เนื่องจากใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติในสัดส่วนที่สูง หากโรงพยาบาลรัฐสามารถใช้งบประมาณจากสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการช่วย จุนเจือการดูแลผู้ป่วยในระบบอื่นด้วย แสดงว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง เกิดจากการบวกกำไรเกินเกณฑ์ปรกติเข้าไปด้วยหรือไม่
  • การรักษาพยาบาล ควรมีมาตรฐานเดียว (single standard) หรือหลายมาตรฐาน หากมีหลายมาตรฐาน จะใช้หลักเกณฑ์อะไรเป็นตัวกำหนดมาตรฐานแต่ละประเภท ปัจจุบันประชาชนทั่วไปได้รับการรักษาตามมาตรฐานขั้นพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมการรักษาที่มีประสิทธิผลและคุ้มค่า ถ้าเช่นนั้นมาตรฐานการรักษาสำหรับข้าราชการควรจะเป็นอย่างไร จะยอมให้ครอบคลุมการรักษาที่ไม่มั่นใจมีประสิทธิผลและคุ้มค่าได้หรือไม่ และการยอมให้ครอบคลุมการรักษาดังกล่าว จะช่วยทำให้ข้าราชการได้รับความเป็นธรรมจากระบบ (จากการได้เงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำ) มากขึ้นหรือไม่ เพราะเท่ากับเป็นการชดเชยในสิ่งที่ข้าราชการและครอบครัวอาจไม่ได้รับ ประโยชน์ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงจากการได้รับยาและการรักษาเกินความจำเป็นอีกด้วย

ข้าราชการ ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าตนเองได้รับเงินเดือน/ค่าตอบแทนค่อนข้างต่ำ จึงควรได้รับสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สูงเพื่อชดเชยให้เกิดความเป็น ธรรม แต่หากพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่า การรักษาพยาบาลที่มีราคาแพงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเสมอไป และหลายครั้งเป็นการให้บริการที่เกินความจำเป็นและอาจเกิดอันตรายได้ ความพยายามที่จะส่งเสริมให้เกิดการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน ซึ่งจะมีผลในการลดค่าใช้จ่ายด้วย จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกตีความว่าเป็นการลิดรอนสิทธิของข้าราชการ กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็ไม่ควรให้ความสำคัญกับปัญหาการลดค่าใช้จ่ายของระบบมากจนลืมไปว่า จริงๆ แล้ว นโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าราชการและครอบครัวเป็นสำคัญ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้