4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. ร่วมกับ ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาศักยภาพนักวิจัยภาคใต้ เน้นสร้างคุณภาพงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำสู่การใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ

          สวรส. และ ม.วลัยลักษณ์จัดประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เปิดเวทีพัฒนานักวิจัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัย นักวิชาการในพื้นที่ และผู้จัดการงานวิจัย สวรส. มุ่งพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์ปัญหาและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่และประเทศต่อไป

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการประชุมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยปีงบประมาณ 2563 เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักวิจัยในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่การพัฒนาโจทย์วิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ตลอดจนการเชื่อมงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพที่สามารถตอบสนองการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของเครือข่ายนักวิจัยภาคใต้ จากหน่วยงานและสถาบันต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลตะกั่วป่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานป้องกันควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ฯลฯ จำนวน 80 คน โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน จ.นครศรีธรรมราช

          นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงระบบวิจัยของประเทศภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ส่งผลต่อการบริหารจัดการทุนวิจัยและการดำเนินงานวิจัย เนื่องจากมีการปรับรูปแบบการพิจารณางบประมาณวิจัยของประเทศและการเสนอโครงการวิจัย โดยมีแนวโน้มในการให้ทุนวิจัยแบบมุ่งเป้าที่สามารถชี้ผลลัพธ์จากงานวิจัยให้เห็นอย่างชัดเจน และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข รวมถึงบริบทสังคมและโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) โลกาภิวัตน์ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การบริโภคและการใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ฯลฯ ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ด้านสุขภาพทั้งสิ้น ดังนั้นงานวิจัยจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหา และพัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ให้มีความเหมาะสมและยั่งยืน โดยงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาได้ย่อมต้องมาจากนักวิจัยที่มีคุณภาพ ดังนั้น สวรส.จึงสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานักวิจัยในพื้นที่ เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพและทันต่อการแก้ปัญหา ตลอดจนสามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดการใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ศ.ดร.วรรณา  ชูฤทธิ์ รองอธิการฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในครั้งนี้ นับเป็นการสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและคุณภาพงานวิจัยที่สามารถตอบสนองการแก้ปัญหาสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งความร่วมมือระหว่าง สวรส.และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในเรื่องดังกล่าว ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ถือเป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการที่ส่งเสริมให้เกิดการวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพที่ใช้ชุมชน/พื้นที่เป็นฐาน และเน้นงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่สามารถแก้ปัญหาและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่

          ทั้งนี้ในเวทีดังกล่าวได้มีการนำเสนอแนวทางการจัดสรรทุนและกรอบการวิจัย สวรส.ปี 2563-2564 โดย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์, ทพ.จเร วิชาไทย, ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. และนายธีรธัช กันตามระ ผู้จัดการสำนักบริหารกลาง สวรส. ซึ่งเป็นแนวทางการจัดสรรทุนที่เปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (Program Management Unit: PMU) ซึ่ง สวรส. เป็น 1 ใน 7 PMU ของประเทศ สวรส. โดยการเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย ประจำปี 2564 ดำเนินการภายใต้ 2 แผนงานวิจัย ได้แก่ แผนงานวิจัยมุ่งเป้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเน้นการตั้งเป้าหมายที่สำคัญ เช่น การแก้ปัญหาภาระโรคที่เป็นปัญหา 1 ใน 3 ของประเทศ  ประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี ร้อยละ 80 มีสุขภาพดีและพึ่งพาตัวเองได้
มีนโยบายหรือมาตรการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกที่ได้จากองค์ความรู้งานวิจัย ฯลฯ และแผนงานวิจัยจีโนมิกส์ประเทศไทย โดยเน้นการตั้งเป้าหมายที่สำคัญ เช่น มีการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ (New-S Curves) เพิ่มขึ้น มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเศรษฐกิจ BCG (เกษตรและอาหาร การแพทย์สุขภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พลังงานและวัสดุชีวภาพ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีระบบบริหารจัดการการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ สามารถผลิตผลงานวิจัยที่นำไปต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ฯลฯ

          นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัยจากนักวิจัยที่ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในโครงการดังกล่าวและได้รับการสนับสนุนทุนจาก สวรส.ให้ดำเนินการวิจัยแล้วจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) การปรับปรุงประสิทธิภาพและขยายผลเทคโนโลยี TaWai for Health เพื่อการรายงานและแจ้งเตือนข้อมูลคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา จ.นครศรีธรรมราช 3) ทัศนคติและระดับความมั่นใจในการทำงานนิติเวชศาสตร์ของแพทย์ทั่วไปในภาคใต้ตอนบน โดยมีผู้จัดการงานวิจัยจาก สวรส.ร่วมให้คำแนะนำ พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อการพัฒนางานวิจัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้