4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

วิจัยเชิงนโยบายควรมีการวางแผนการสื่อสารตั้งแต่แรก

Teaser: 
งานวิจัยนโยบายถูกคาดหวังมากขึ้นว่าต้องถูกนำไปใช้พัฒนานโยบาย ดังนั้นการจัดการ เพื่อทำให้งานวิจัยนโยบายมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้จึงกลายเป็นศาสตร์หนึ่งที่ สำคัญ และไม่ได้มองแคบว่าเราจะจัดการให้ได้ผลวิจัยเสร็จทันตามเวลาและได้คุณภาพตาม ที่ตกลงกันในสัญญาระหว่างผู้ให้ทุนกับนักวิจัย

งานวิจัยนโยบายถูกคาดหวังมากขึ้นว่าต้องถูกนำไปใช้พัฒนานโยบาย ดังนั้นการจัดการ เพื่อทำให้งานวิจัยนโยบายมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้จึงกลายเป็นศาสตร์หนึ่งที่ สำคัญ และไม่ได้มองแคบว่าเราจะจัดการให้ได้ผลวิจัยเสร็จทันตามเวลาและได้คุณภาพตาม ที่ตกลงกันในสัญญาระหว่างผู้ให้ทุนกับนักวิจัย

ประสบการณ์จากกรณีศึกษางานวิจัยที่ถูกนำไปใช้ เราสามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้

  1. นัก วิจัยกำหนดปัญหาการวิจัย วิจัย และเมื่อผลวิจัยเสร็จจะถูกนำไปใช้เป็นลำดับต่อไป ซึ่งเป็นการมองกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นเส้นตรง และเป็นกรอบคิดแบบดั้งเดิมที่สุด
  2. คล้ายกับโมเดลแรก แต่การกำหนดปัญหาการวิจัย เกิดร่วมกันระหว่างผู้ใช้ผลวิจัยและนักวิจัย
  3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับผู้ใช้ผลวิจัยเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความเห็นและมุมมองกันและกัน
  4. คล้ายโมเดลสาม แต่เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น ผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น หรือใครก็ตามที่น่าจะเป็นผู้ที่มีโอกาสจะนำผลวิจัยไปใช้
  5. ผล การวิจัยถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมและความมีเหตุมีผลของกลุ่มตนเอง ผลวิจัยถูกนำไปใช้โต้แย้งกับกลุ่มอื่นๆ ที่มีความเห็นแตกต่าง
  6. การ วิจัยถูกนำไปเป็นข้ออ้างว่า ขณะนี้กำลังมีการวิจัยเรื่องนี้ นิยมใช้ในฝ่ายการเมือง เมื่อต้องตกอยู่ในภาวะถูกกดดันจากฝ่ายต่างๆ ที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

 โมเดลที่ 4 เพราะ สร้างโอกาสที่วิจัยจะสร้างมูลค่าเพิ่มหรือถูกนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของการจัดการตามโมเดล 4 คือ เวลาและทุนที่ต้องใช้จัดการวิจัยจะต้องมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเวลาที่บางครั้งฝ่ายนโยบายการเมืองที่ต้องการคำตอบในเวลาที่ มอบหมายให้อย่างจำกัด จนไม่สามารถจัดการงานวิจัยให้เป็นไปตามโมเดลนี้ได้

งาน วิจัยนโยบายดูจะมีข้อจำกัดและอุปสรรค จนดูเหมือนว่าวิจัยนโยบายต้องการการเตรียมการล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่นๆ และคงไม่ใช่แค่วิจัยด้านวิชาการตามลำพัง แต่ต้องจัดการเพื่อให้เกิดการสื่อสารของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหนังสือ “Evidence-Based Policymaking” เขียนโดย Karen Bogenscheneider และ Thomas J. Corbett ปี 2010 ให้ความเห็นว่า ใครก็ตามที่ต้องจัดการงานวิจัยนโยบาย ต้องวางแผนการสื่อสารการจัดการงานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น

ไม่ใช่งานวิจัยเสร็จแล้วค่อยวางแผนสื่อสารอย่างที่เรามักทำกัน โดยปัจจัยที่เราควรวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้วางแผนการสื่อสาร ประกอบด้วย 1) อะไรคือคำถามสำคัญของงานวิจัยกันแน่ 2) จากคำถามสำคัญ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียไหนบ้างที่เกี่ยวข้อง 3) เราจะให้การวิจัยเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้อย่างไร 4) เราจะปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเหล่านั้นอย่างไร ด้วยวิธีไหน 5) เราจะทำอย่างไรถึงรับรู้ว่าแต่ละกลุ่มต้องการคำตอบอะไร ระดับไหน และสุดท้าย คือ 6) บริบทการวิจัย เช่น เวลาและงบประมาณมีให้มากน้อยเท่าไหร่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้