4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

โรคหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวานตีบตัน อาจต้องตัดขา

VDO Clip Motion Graphic ชุดความรอบรู้สุขภาพ กับวิจัยเพื่อสุขภาพประชาชน ตอน : โรคหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวานตีบตัน อาจต้องตัดขา

--------------------------------------------------

          คุณกำลังมีอาการเช่นนี้อยู่หรือไม่ ?

          ปวดเมื่อยน่องขณะที่เดินเพียงระยะสั้นๆ, ชาที่เท้า, มีตาปลาหรือหนังเท้าหนาขึ้น หรือมีอาการไม่สามารถกระดกเท้าข้ามบันไดได้ อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเตือน ว่าคุณอาจเป็น “โรคหลอดเลือดส่วนปลาย” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง จากการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดขา ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนัง, ขา, เท้า, หรือที่แขนได้น้อยลง

          ทั้งนี้ “โรคหลอดเลือดส่วนปลาย” พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีแผล แผลจะติดเชื้อได้ง่าย ทำให้แผลหายช้า หรือไม่หายเลย เพราะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ในบางรายอาจทำให้เส้นประสาทปลายเท้าเสื่อม ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผล และคิดว่าเป็นอาการที่ไม่ต้องรักษา ทำให้ขาดการดูแลที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุให้อวัยวะ ที่อยู่ในจุดตีบตันนั้นขาดเลือดและเน่า ส่งผลให้ต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อรักษาชีวิตไว้ในที่สุด

          นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า “โรคหลอดเลือดส่วนปลาย” ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีประวัติขาเน่าหรือมีแผลเรื้อรัง มีโรคไตแทรกซ้อน หรือมีประวัติการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ และใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาฟาลินนั้น พบว่าภายใน 3 ปี จะมีโอกาสเสียชีวิตจากการกำเริบของโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด คิดเป็นร้อยละ 16.20 ซึ่ง “โรคหลอดเลือดส่วนปลาย” จึงเป็นโอกาสของการเกิดโรคหลอดเลือดได้ทุกชนิด

          ทั้งนี้ การลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดอื่นๆ ของผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีประวัติดังกล่าว คือ

  • ควรควบคุมค่าสูงสุดของความดันโลหิต ไม่ให้เกิน 130 มิลลิเมตรปรอท
  • ควบคุมค่าต่ำสุดของความดันโลหิต ไม่ให้เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท
  • ควบคุมเบาหวาน ไม่ให้มีค่าเกิน 7%
  • ควบคุมไขมัน LDL ไม่ให้เกิน 70 มิลลิเมตรปรอท โดยการเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และงดสูบบุหรี่

          สำหรับแนวทางการดูแลเท้า เพื่อป้องกันการตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธี ดังนี้

  • 1. ล้างเท้าทุกวัน
  • 2. ตรวจเท้าทุกวัน โดยคลำหาตาปลาหรือหนังเท้าว่าหนาขึ้นผิดปกติหรือไม่
  • 3. ทาครีมหรือน้ำมันมะกอกที่เท้าเป็นประจำ
  • 4. ดูแลผิวหนังและตัดเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ
  • 5. ใส่ถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง
  • 6. ใส่รองเท้าตลอดเวลาแม้อยู่ในบ้าน
  • 7. ตรวจสอบภายในรองเท้าก่อนสวมทุกครั้ง
  • 8. ใช้รองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า
  • 9. หลีกเลี่ยงการแช่เท้าหรือย่ำในน้ำที่อาจมีเชื้อโรค
  • 10. ออกกำลังกายเท้าเพื่อให้เท้าแข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ฝึกใช้เท้าขยำหนังสือพิมพ์

          หากมีอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาก่อนที่จะเป็นแผลเบาหวาน จนต้องถูกตัดขาทิ้ง

--------------------------------------------------

ข้อมูลจาก : โครงการวิจัยภาระและระบบการดูแลโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ปีที่ 3 โดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้