4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

การนอนดึกอีกสาเหตุของโรคเบาหวาน

VDO Clip Motion Graphic ชุดความรอบรู้สุขภาพ กับวิจัยเพื่อสุขภาพประชาชน ตอน : การนอนดึกอีกสาเหตุของโรคเบาหวาน

--------------------------------------------------

          คุณ ! ... แน่ใจหรือไม่ว่า “คุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน”

          เพราะงานวิจัยได้พบแล้วว่า คนที่ตรวจพบ “เบาหวาน” ไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็น “โรคเบาหวาน” มากถึง 43 เปอร์เซ็นต์  โดยคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็น “โรคเบาหวาน” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ คนทั่วไปยังอาจเข้าใจว่า ความหวานจากน้ำตาล เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด “โรคเบาหวาน” ได้เพียงเท่านั้น

          แต่ในความจริงแล้ว “การนอนดึกตื่นสาย” และ “การนอนกรน หรือภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนขณะนอนหลับ” ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน ขณะที่งานวิจัยของต่างประเทศ ยังพบด้วยว่า คนนอนน้อยหรือนอนต่ำกว่า 5 ชั่วโมง และคนที่มีคุณภาพการนอนไม่ดี เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ ก็นำมาซึ่งโรคเบาหวานได้

          เราไปดูกันสิว่า เมื่อเรานอนดึกตื่นสายจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา

          “การนอนดึกตื่นสาย” ซึ่งผิดเวลาหรือนาฬิกาชีวิตตามธรรมชาติไป ทำให้ร่างกายของเรามีค่าน้ำตาลในเลือดสูง และจะตอบสนองต่อเบต้าเซลล์ในตับอ่อน ที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเพื่อการรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุให้คนที่นอนดึกตื่นสายจะมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนที่เข้านอนเร็วนั่นเอง

          ส่วนคนที่ “นอนกรน” หรือมี “ภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน” ขณะนอนหลับเป็นพักๆนั้น จะทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด ส่งผลให้การตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ร่างกายจึงต้องกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น เป็นต้นเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งอินซูลินจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้เป็นปกติเช่นเดิม

          ซึ่งทั้งลักษณะการนอนดังกล่าว เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานในคนไทยตามมานั่นเอง

แล้วอัตราของการเกิดโรคเบาหวานของคนไทยในอนาคต มีมากน้อยเพียงใด ?

          ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย ได้ทำการเปรียบเทียบให้เห็นอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานในอีก 10 ปี  โดยพบว่า คนที่มีค่าน้ำตาลสะสม 100-109 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวาน 24 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนที่มีค่าน้ำตาลสะสม 110-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวาน ได้มากถึง 36 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการเกิดโรคเบาหวาน ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ แทรกซ้อนตามมา

          เพื่อหลีกเลี่ยง “โรคเบาหวาน” นอกจากต้องเลี่ยงอาหารรสหวานแล้ว เรายังควรเข้านอนในช่วง 2-3 ทุ่ม หรือไม่ควรนอนดึก โดยนอนให้ได้ 1 ใน 3 ของเวลาตามรอบนาฬิกาชีวิต และตื่นนอนในช่วงตีห้า – หกโมงเช้า เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่ง และกระตุ้นการลุกตื่น โดยจะดึงน้ำตาลในร่างกายไปใช้เพื่อสร้างพลังงาน และทำให้เราหิวในช่วง 7-8 โมงเช้าต่อไป

          นอกจากนั้น เราควรออกกำลังกาย  ควบคู่กันไปด้วยให้ได้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้งครั้งละ 30 นาที ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพโดยปรับพฤติกรรม การกิน การนอน และการออกกำลังกาย จึงจัดว่าเป็นวิธีการป้องกัน “โรคเบาหวาน” ที่ดี คุ้มค่า และง่ายที่สุดสำหรับทุกคน

--------------------------------------------------

ข้อมูลจาก : การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 (พ.ศ.2557) โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และการศึกษาอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานและการศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการนอนหลับและระดับกรดยูริคในเลือดกับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงหรือภาวะก่อนจะเป็นเบาหวาน โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้