4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563

30/04/2562 -  *** ประกาศรายชื่อข้อเสนอโครงการวิจัยปี 2563 ที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น *** !update

15/03/2562 -  ***ประกาศรายชื่อข้อเสนอโครงการวิจัยปี 2563***

 

 

ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยสุขภาพ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติข้อที่ 1 เร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสนองตอบต่อประเด็นเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาประเทศ และภารกิจของหน่วยงาน โดยรัฐลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ทั้งนี้ สวรส. ได้กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการขอรับทุนสนับสนุนข้อเสนอโครงการวิจัยสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 ดังนี้

นโยบายการให้ทุนสนับสนุน

สวรส. กำหนดนโยบายการให้ทุนวิจัย เป็นไปตามทิศทาง/กรอบการวิจัยสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 ประกอบด้วย 6 แผนงาน 35 ประเด็นวิจัย

แผนงานวิจัย

Research program/ ประเด็น

1. การวิจัยระบบยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี คำธิบายเพิ่มเติม update!

1) การเข้าถึงยา

2) นโยบายราคายาและการจัดซื้อยารวม

3) การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ กลุ่มโรคไต เช่น ชุดวัสดุอุปกรณ์การฟอกไตเทียม หรือชุดอุปกรณ์การวิเคราะห์การปนเปื้อนในเวชภัณฑ์

2. การวิจัยกำลังคนด้านสุขภาพ

4) การพัฒนาภาพรวมกำลังคนด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศและกำหนดมาตรฐานข้อมูล

กำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ

5) การพัฒนาแนวทางและรูปแบบการกระจายอำนาจการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ

6) การพัฒนาข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบเกี่ยวกับกำลังคนด้านสุขภาพในรูปแบบ public private

partnership

7) การพัฒนาแบบจำลองถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ

8) การทดลองถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพตามแบบจำลองในเขตสุขภาพ

9) การพัฒนาระบบการประเมินผู้บริหารสถานพยาบาล โรงพยาบาลของรัฐ

10) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมขีดความสามารถในการบริหารจัดการและ

พัฒนากำลังคนด้าน สุขภาพวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางและกลยุทธ์ในการเพิ่มปริมาณแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

11) จำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม

12) ค่าตอบแทนที่เหมาะสมในการธำรงรักษากำลังคนด้านสุขภาพไว้ในหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

3. การวิจัยระบบบริการสุขภาพ

 

13) รูปแบบการจัดการระบบบริการปฐมภูมิที่มีพื้นที่ที่อยู่ในการดูแล (Catchment area)

14) รูปแบบบริการปฐมภูมิที่สามารถดูแลประชากรในเขตที่รับผิดชอบให้มีสุขภาพดี

15) การพัฒนาหน่วยร่วมบริการปฐมภูมิ เช่น การพัฒนาร้านขายยาคุณภาพให้เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบบริการปฐมภูมิ

16) ตัวชี้วัดในการวัดสมรรถนะของระบบบริการปฐมภูมิ

17) รูปแบบการบริหารจัดการภายในหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCC) ในการทำงานเชื่อมโยงกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชข./พชอ.)

18) ผลการจัดบริการปฐมภูมิเพื่อลดภาระจากกลุ่มโรคที่ป้องกันได้

19) การประเมินผลรูปแบบการใช้บริการสุขภาพที่เหมาะสมจากการเพิ่มการสร้างความรอบรู้ (Health Literacy)

20) การประเมินผลการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รูปแบบที่มีประสิทธิผลในการดำเนินงาน ประสิทธิภาพของการบริหารงบประมาณระดับประเทศ และประสิทธิภาพของงบประมาณที่จัดสรรให้ตามพื้นที่

21) ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพ

22) ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับรูปแบบการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายและความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน

23) ข้อเสนอเชิงนโยบาย นวัตกรรม เครื่องมือ ชุดความรู้ และการประเมินผลเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อ

ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ

4. การวิจัยการเงินการคลังสุขภาพ

24) สร้างชุดสิทธิประโยชน์หลักทั้งสามระบบประกันสุขภาพ และชุดสิทธิประโยชน์เสริมเพื่อการร่วมจ่าย

25) การให้บริการและระบบจ่ายบริการระยะกลางที่เป็น value based payment

26) ระบบรายงานมาตรฐานต้นทุนบริการสุขภาพและกรอบตัวชี้วัดผลลัพธ์

5. การวิจัยระบบอภิบาลสุขภาพ

27) การออกแบบระบบในการอภิบาลระบบสุขภาพของประเทศ

28) ข้อเสนอในเชิงนโยบายในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการภาครัฐและภาคเอกชนในการดูแลสุขภาพของประชาชนไทย

29) การพัฒนาข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ของหน่วยงานด้านสุขภาพเพื่อให้เกิดต่อการดูแลสุขภาพประชาชน

30) ประเมินผลการดำเนินการของการอภิบาลโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

31) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินการเขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข

32) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูประบบบริหารหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข

33) แนวทางการให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารระบบสุขภาพภายใต้การกระจายอำนาจในการบริหารทรัพยากร

34) วิจัยเพื่อพัฒนาระบบการอภิบาลด้านการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

6. การวิจัยปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health : SDH)

35) แนวทางการควบคุม การส่งเสริม การป้องกันและการรักษาโรคที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและอนามัยสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติผู้ขอรับทุน 

  1. ผู้ขอรับทุนทำงานในหน่วยงานของรัฐ/ ภายใต้กำกับของรัฐ/ ภาคเอกชน หรือนักวิชาการอิสระ  

  2. ผู้วิจัยหลัก (หัวหน้าโครงการ) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท รวมถึงมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในสาขาวิจัยที่รับทุน

  3. เป็นผู้มีความพร้อมในด้านเวลาและ สามารถดำเนินงานวิจัยได้สำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาโครงการ รวมทั้งประสานงานร่วมกับ ผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย เพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

  4. กรณีที่หัวหน้าโครงการมีประวัติในการบริหารโครงการอยู่ในทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สวรส. จะขอไม่พิจารณาข้อเสนอโครงการนั้นตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2557 ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557 (ในราชกิจจานุเบกษา หน้า 4 เล่ม 131
    ตอนที่ 78 ก วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

เงื่อนไขการยื่นเสนอข้อเสนอโครงการ

  1. ยื่นในนามหัวหน้าโครงการเท่านั้น เพื่อเป็นการรับรองว่าข้อมูลที่เสนอมามีความถูกต้อง ครบถ้วนตรงกันทั้งในระบบและในไฟล์แนบ

  2. หัวหน้าโครงการ สามารถส่งข้อเสนอโครงการได้ไม่เกิน 2 โครงการ

  3. เป็นโครงการ/แผนงานวิจัย ที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัยไม่เกิน 2 ปี (1 แผนงาน หมายถึง โครงการวิจัยไม่น้อยกว่า 2 โครงการ)

  4. รับข้อเสนอโครงการเฉพาะภาษาไทยเท่านั้น และข้อเสนอโครงการต้องไม่ใช่วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หรือปริญญาเอก

  5. กรณีโครงการที่เป็นการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ สามารถส่งข้อเสนอโครงการได้โดยยังไม่ต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เว้นแต่เมื่อได้รับการพิจารณาสนับสนุนให้ทุนวิจัยแล้ว จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการยื่นขอการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อนการทำข้อตกลง

  6. ผู้ขอรับทุนจะต้องไม่เป็นผู้ติดค้างการส่งรายงานต่างๆ ของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวรส. โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

  7. การกำหนดงบประมาณของโครงการ ให้เป็นไปตามคู่มือบริหารจัดการงานวิจัยของ สวรส. ประกาศ
    ณ เดือนธันวาคม 2560 (https://www.hsri.or.th/researcher/download/guide/detail/5184)

  8. ยื่นผ่านทางเว็บไซต์ (http://www.hsri.or.th/proposal63) เพียงช่องทางเดียว เมื่อท่านคลิกเลือก “ส่งข้อเสนอวิจัย”(ปุ่มสีเหลืองด้านล่าง)แล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน ก่อนนส่งข้อเสนอโครงการ

  9. หัวหน้าโครงการ ต้องมีข้อมูลทะเบียนประวัติในระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ - NRMS (ลงทะเบียนนักวิจัย)(ตรวจเช็ค)

  10. การ upload file ข้อเสนอโครงการต้องใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดเท่านั้น โดยไม่ต้องแนบหนังสือนำส่ง และไม่ต้องส่งข้อเสนอโครงการฉบับ Hard Copy มายัง สวรส. ทั้งนี้ สวรส. ถือว่าข้อเสนอโครงการที่เสนอมานั้น ผ่านความเห็นชอบจากหัวหน้าองค์กร และ คณะผู้วิจัยเรียบร้อยแล้ว หากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวจากคณะผู้วิจัย สวรส.ขอสงวนสิทธิในการสนับสนุนทุนวิจัย

การกลั่นกรองและพิจารณาข้อเสนอโครงการ

  1. การกลั่นกรองโครงการ พิจารณาจากขอบเขตโครงการ เป็นไปตามนโยบายและทิศทางการวิจัยของ สวรส. ที่กำหนดไว้ รวมถึงการพิจารณาศักยภาพ และความน่าเชื่อถือของนักวิจัย ทั้งนี้ สวรส. ให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหา ระบุผู้ใช้ผลงานวิจัย และแสดงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยในเชิงวิชาการและ/หรือเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคมอย่างชัดเจนรายละเอียด ผลกระทบจากงานวิจัย

  2. การพิจารณาโครงการ ดำเนินการโดยคณะกรรมการผู้จัดการงานวิจัย (RM) โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ 1) ความชัดเจนของคำถามการวิจัย เป้าหมายการใช้ประโยชน์ 2) การทบทวนวรรณกรรม 3) ระเบียบวิธีวิจัย 4) การวิเคราะห์ผลการวิจัย 5) การใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย (ในเชิงนโยบาย วิชาการ ชุมชน/สังคม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ/พาณิชย์ ตามลักษณะโครงการ) 6) ประสบการณ์ของผู้เสนอโครงการและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานตามข้อเสนอ

  3. คำตัดสินของ สวรส. ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

กำหนดระยะเวลา(TIME LINE)

ลำดับ

กิจกรรม

ระยะเวลา

1.

ประชาสัมพันธ์

ธ.ค. 2561

2.

นักวิจัยยื่นข้อเสนอโครงการ (Proposal) ผ่าน http://www.hsri.or.th/proposal63 เพียงเท่านั้น

28 ธ.ค. 2561 – 28 ก.พ. 2562

3.

จัดประชุมประกาศกรอบวิจัยสุขภาพปีงบประมาณ 2563 (สมัครที่นี่) เปิดรับ 1 ม.ค. 2562

23 ม.ค. 2562

4.

นักวิจัยตรวจสอบรายชื่อข้อเสนอโครงการผ่านระบบ ว่า สวรส.ได้รับข้อมูลแล้ว

7 มี.ค. 2562

5.

พิจารณาข้อเสนอโครงการเบื้องต้น

มี.ค. – เม.ย. 2562

6.

ประกาศรายชื่อข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น

30 เม.ย. 2562

7.

สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งข้อเสนอโครงการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา

พ.ค.-มิ.ย. 2562

8.

แจ้งนักวิจัยทราบผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และในกรณีที่ข้อเสนอโครงการผ่านการพิจารณาแต่ให้นักวิจัยปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะ

ก.ค. 2562

9.

นักวิจัยส่งกลับข้อเสนอโครงการที่ปรับแก้ไขแล้ว

ส.ค. 2562

10.

สวรส.ตรวจสอบข้อเสนอโครงการที่ปรับแก้ไข

ส.ค. – ก.ย. 2562

11.

จัดเตรียมเอกสารประกอบการทำสัญญา พร้อมหลักฐานการยื่นขอ EC (ถ้ามี)

ก.ย. – ต.ค. 2562

12.

ทำสัญญารับทุน

ต.ค. – พ.ย. 2562

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณธนภร ชัยจิต โทรศัพท์ 02 832 9220

คุณปิยะฉัตร สมทรง โทรศัพท์ 02 832 9270

คุณธีรธัช กันตามระ 02 832 9236

ถ้ามีข้อขัดข้องทางเทคนิค/การคีย์ข้อมูลติดต่อคุณวิชานันท์ อุ่นจิตร 02 832 9242

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้