ข่าว/ความเคลื่อนไหว
รศ.น.พ.วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิจัยโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เครือข่ายการวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-52 ในส่วนของพฤติกรรมการบริโภค เรื่องการบริโภคผัก ผลไม้ว่า การกินผัก ผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยชะลอการเกิดโรคได้ แต่พบว่าประชากรทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ยังบริโภคผักผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์
ผลการสำรวจประชากร อายุ 2 ขวบขึ้นไปใน 4 ภาค รวมทั้งกทม.โดยมาตรส่วนที่เป็นปริมาณแนะนำคือ ผัก 1 ส่วน เท่ากับผักปรุงสุก1 ทัพพี หรือผักสด 2 ทัพพี ส่วนผลไม้ 1 ส่วนมาตรฐาน เท่ากับมะละกอ แตงโม หรือสัปปะรด 6-8 คำ หรือกล้วยน้ำว้าผลเล็ก หรือกล้วยหอมผลกลาง ครึ่งผล หรือส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ หรือ 2 ผลกลาง หรือเงาะ 4 ผล
ผลการสำรวจการกินผัก พบว่าเด็กอายุ 2-14 ปี กินผักเฉลี่ยวันละ 0.7 ส่วน โดยเด็กอายุ 2-5 ปี ทั้งชายและหญิงกินผักน้อยกว่าเด็กอายุ 6-14 ปีเล็กน้อย และไม่พบความแตกต่างระหว่างเด็กในและนอกเขตเทศบาล แต่พบว่าเด็กในภาคใต้ทานผักมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ กทม.ส่วนเด็กภาคอีสาน ทานผักน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความเพียงพอในการปริโภคพบว่า เด็ก 6-14 ปี ที่กินผักเพียงพอตามข้อแนะนำต่อวัน มีเท่ากับร้อยละ 5 เมื่อสำรวจปริมาณการบริโภคผลไม้ พบว่าเด็กอายุ 2-14 ปี ทานเฉลี่ยต่อวัน 1.3 ส่วน เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการบริโภคต่อวันพบว่าเด็ก 1 ใน 2 ทานผลไม้ปริมาณน้อยกว่า 1 ส่วนต่อวัน โดยเด็กในภาคใต้ทานผลไม้เพียงพอมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคเหนือ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 4 ตุลาคม 2554 หน้า 29
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้