4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

มีอะไรใหม่ในข้อเสนอการปฏิรูปบทบาทและโครงสร้าง กสธ.

Teaser: 
“จุดประเด็น” เดือนเมษายน ๒๕๕๔ ผมได้แจ้งให้ทุกท่านทราบว่า สวรส. ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (กสธ.) พัฒนาข้อเสนอการปรับบทบาทและโครงสร้าง กสธ. โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบ (system approach) และแบ่งระบบสุขภาพเป็น ๔ ระบบย่อย ได้แก่ ระบบบริการสุขภาพ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

 

Download เอกสารนำเสนอ

 

         “จุดประเด็น” เดือนเมษายน ๒๕๕๔ ผมได้แจ้งให้ทุกท่านทราบว่า สวรส. ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (กสธ.) พัฒนาข้อเสนอการปรับบทบาทและโครงสร้าง กสธ. โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบ (system approach) และแบ่งระบบสุขภาพเป็น ๔ ระบบย่อย ได้แก่ ระบบบริการสุขภาพ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยวิเคราะห์ว่า ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป กลไกย่อยๆ ในแต่ละระบบจะต้องปรับบทบาทอะไรบ้าง และ กสธ. ควรจะมีบทบาทตรงไหนในระบบนั้นๆ การใช้แนวคิดเชิงระบบ ก็เพื่อขยายกรอบการมองกลไกทั้งหมดว่า ไม่ใช่มีเฉพาะ กสธ. อย่างเดียว แต่มีภาคีภาคส่วนอื่นๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมผลักดันแต่ละระบบด้วย

          คณะทำงานร่วมระหว่าง กสธ. และ สวรส. ได้มอบหมายให้นักวิชาการทั้งภายในและภายนอก กสธ. พัฒนาข้อเสนอบทบาท กสธ. ในแต่ละระบบในลักษณะคู่ขนานกัน คือ ในแต่ละระบบย่อยจะมีนักวิชาการภายใน กสธ. ๑ คนและนอก กสธ. ๑ คนพัฒนาข้อเสนอ โดยข้อเสนอทั้งหมดจะเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อพิจารณาในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งมีผู้บริหาร กสธ. และนักวิชาการภายนอกเข้าร่วมโดยรวมกว่า ๕๐ คน (คณะทำงานเรียกว่าเป็นการผนวก inside-out และ outside-in approach เข้าด้วยกัน)

          ผมและคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ได้รับมอบหมายให้สรุปประเด็นเสนอในการประชุมวันที่ ๒๖ มิย. ก่อนเปิดการอภิปรายทั่วไปและปิดการประชุม ซึ่งผมได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ผมขอเป็นการสะท้อนสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในที่ประชุมจะดีกว่าเป็นการสรุปเพราะอาจจะเร็วเกินไป โดยผมมีประเด็นข้อสังเกตเสนอที่ประชุมดังนี้ (รายละเอียดอาจศึกษาใน PowerPoint Presentation ที่แนบมาด้วย)

  •  กสธ. เห็นความจำเป็นที่จะต้องดึงการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคีต่างๆ ในการพัฒนาระบบสุขภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังขาดความชัดเจนเรื่องระดับการมีส่วนร่วม มีข้อเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาในระดับต่างๆ เป็นกลไกในการอภิบาลระบบสุขภาพ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะบูรณาการคณะกรรมการต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากได้อย่างไร และจะให้คณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร มีข้อเสนอให้จัดตั้งสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐเพื่อให้มั่นใจว่าจะสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขณะที่แนวคิดการออกแบบระบบและกลไกภาครัฐในระยะหลัง เน้นให้มีการแยกบทบาทของแต่ละกลไกจากกัน (เช่น การแยกหน่วยงานนโยบาย หน่วยงานผู้ซื้อและผู้ให้บริการ) เพื่อให้เป็นระบบที่มีธรรมาภิบาล (โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพ) แนวคิดนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร กสธ. เท่าที่ควร
  • ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า กสธ. ควรทำหน้าที่เป็น National Health Authority (NHA) ที่มองและกำกับทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพในภาพรวมของประเทศ โดยนักวิชาการเห็นว่า การที่ กสธ. ยังต้องดูแลสถานพยาบาลรัฐส่วนใหญ่ของประเทศ อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่เป็น NHA ขณะที่ผู้บริหาร กสธ. เห็นว่า กรณีดังกล่าวกลับเป็นจุดแข็ง
  • การให้ความสำคัญกับกลไกระดับเขตและระดับจังหวัดมากขึ้น โดยมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน (ดูในสไลด์) แต่ยังขาดความชัดเจนว่า กลไกดังกล่าวจะมีหน้าตาอย่างไร และจะเชื่อมโยงบูรณาการกับกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ได้อย่างไร
  • ยังไม่มีข้อเสนอที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท และโครงสร้างศูนย์วิชาการของกรมต่างๆ ในระดับเขต

ในช่วงท้ายผมยังได้เสนอจังหวะก้าวการดำเนินงานในระยะต่อไปด้วย (ดูรายละเอียดในสไลด์)

โดยรวม บรรยากาศการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นในการประชุมครั้งนี้ค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ต่างฝ่ายต่างพยายามเข้าใจข้อจำกัดและแนวคิดของกันและกัน และพยายามเสนอทางออกที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คงไม่นานนักที่เราจะเป็นการปรับตัวของ กสธ. เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในศตวรรษที่ ๒๑ นี้


                                พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
                                ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔

 

Download เอกสารนำเสนอ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้