4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อันตราย"ยาตีกัน..ภัยเงียบผู้ใช้ยาอาจถึงตายได้"รณรงค์จดบันทึกยา ลดยาตีกัน-ใช้ยาซ้ำซ้อน

          สภาเภสัชกรรม ร่วมกับ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) จัดโครงการ "สัปดาห์เภสัชประจำปี 2554" รณรงค์ให้ประชาชนให้ความสำคัญของการจดบันทึกรายการยาที่ใช้เพื่อลดปัญหา เรื่องยาตีกัน-ใช้ยาซ้ำซ้อนภายใต้คำขวัญ "บันทึกยารักษาต่อเนื่อง ลดปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกร" ชี้อันตรายจากยาตีกัน-ใช้ยาซ้ำซ้อน ภัยเงียบของผู้ใช้ยาอันตรายถึงตายได้

          ภญ.รศ.ธิดา นิวสานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า "ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่าในปี 2553 สัดส่วนผู้สูงอายุที่ 12 ของประชากรชาวไทยคาดประมาณการณ์จะเพิ่มขึ้นคือ 17%ในปี 2553 แน่นอนผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง

          จากรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนชาวไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปีพ.ศ.2551-2552 ของสำนักงานสุขภาพประชาชนไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จำนวน 21,960 คน มีผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 44% หรือ 9,720 คนพบว่าประชากรไทยอายุ 60 ปีพบมีโรคเรื้อรังเรียงตามลำดับดังนี้ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยเพียงบางส่วนที่รู้ตัวและได้รับการรักษา

          ภญ.รศ.ธิดา ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า การที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับยาหลายชนิดร่วมกันการรับประทานยาไม่ถูกต้อง หรือพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยสูงอายุเข้ามานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมีสาเหตุมาจากเรื่องยาถึง 40% ที่ใช้ยาไม่ถูกต้องและ 60% มาจากอาการไม่พึงประสงค์จากยาซึ่ง "ยาตีกัน" หมายถึงการที่ฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อได้รับยาอีกตัวหนึ่งร่วม ผลที่เกิดอาจก่อให้เกิดผลการรักษาที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ตั้งใจ เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือทำให้ผลการรักษาลดลงได้ บางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตามยาตีกันจะเกิดผลมากน้อยขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วย ระยะเวลาที่ใช้ยาร่วมกันและขนาดยาที่ใช้

          "สมุดบันทึกยา" มีข้อมูลรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ไม่ว่าจะได้จากสถานพยาบาล ตรวจสอบดูแลปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ช่วยให้แพทย์หรือเภสัชกรไม่จ่ายยาที่ซ้ำซ้อนกับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่หรือ เลือกจ่ายยาที่ไม่ "ตี" กับยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยาในสมุดบันทึกยานอกจากจะมีรายการยาทั้งหมดที่ ผู้ป่วยได้รับแล้ว ยังมีการบันทึกรายละเอียดที่สำคัญของผู้ป่วย พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ภก.รศ.(พิเศษ) กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ อุปนายกสภาเภสัชกรรม กล่าวเสริมในงาน "สัปดาห์เภสัช2554"

ที่มา : หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับสันที่ 3 สิงหาคม 2554 หน้า 9

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้