4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ถก บทบาทกระทรวงสาธารณสุข ปรับตัวก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

          ก.สาธารณสุข พร้อมปรับบทบาทรับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ภาคีสุขภาพและเครือข่ายภาคประชาชนร่วมให้ความเห็น ย้ำรูปแบบที่เหมาะสมควรมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

          เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2554 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง บทบาทกระทรวงสาธารณสุขในศตวรรษที่ 21 ณ โรงแรมเดอะรอยัลเจมส์ กอลฟ์ รีสอร์ท จ.นครปฐม เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคีสุขภาพและเครือข่ายภาคประชาชน โดยมีทีมนักวิชาการของ สวรส. และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันนำเสนอข้อเสนอการปรับบทบาทกระทรวงสาธารณสุขในระบบสุขภาพของประเทศใน 4 ระบบย่อย ได้แก่ ระบบบริการสุขภาพ ระบบสร้างเสริมสุขภาพ ระบบควบคุมและป้องกันโรค ระบบยาและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยมี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในการประชุม ซึ่งเวทีนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ ตัวแทนจากภาคประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน มาร่วมให้ความคิดเห็นมากมาย อาทิ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ นพ.สุรพจน์ สุวรรณพานิช รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ นายอาวุธ วรรณวงศ์ คุณรสนา โตสิตระกูล นางสุวรรณี คำมั่น นางสารี อ๋องสมหวัง รศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ฯลฯ เพื่อช่วยกันให้มุมมองต่อข้อเสนอปรับบทบาทกระทรวงสาธารณสุข

          หลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้มีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่เมื่อปี 2545 โดยมีการแยกงบประมาณบริการสุขภาพไปดำเนินการโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลดีต่อระบบการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของบริบทในสังคมที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพเกิดขึ้นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม โรคอุบัติใหม่ต่างๆ ระบบสุขภาพในระดับนานาชาติ หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของหน่วยงานอิสระต่างๆ ในระบบสุขภาพ ทำให้กระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างและบทบาทการทำงาน เพื่อให้เกิดการทำงานที่บูรณาการกับทุกฝ่าย รวมทั้งปรับตัวไปสู่ระบบที่พึงประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

          การเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานขนาดใหญ่อย่างกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีเครือข่ายหน่วยบริหารและหน่วยบริการในสังกัดที่วางเชื่อมการดำเนินงานครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จึงมีการนำเสนอข้อมูลวิชาการที่มาจากการศึกษาของนักวิชาการทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกกระทรวงฯ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน ตลอดจนเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงบทบาทของกระทรวงฯ สอดคล้องกับสถานการณ์และทิศทางของระบบสุขภาพในอนาคตที่เหมาะสม และมีข้อมูลเชิงประจักษ์อ้างอิงชัดเจน

          นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวถึงมุมมองต่อข้อเสนอการปรับบทบาทฯที่เสนอโดยนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ บทบาทใหม่กระทรวงสาธารณสุข ควรมองปัญหาของประเทศและมองมากกว่ากลไกและโครงสร้างของ กสธ. การเป็นผู้ดูแลสถานพยาบาลภาครัฐส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการภายในกระทรวงฯ มองว่าเป็นจุดแข็ง แต่นักวิชาการภายนอกมองว่าเป็นอุปสรรค กสธ. ควรมีบทบาทเป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลมากกว่าการเป็นหน่วยปฏิบัติ และควรกำหนดนโยบายครอบคลุมการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ตลอดจนต้องการระบบข้อมูล การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทำหน้าที่เป็น  National Health Authority ที่สมบูรณ์ กสธ.ส่วนกลางควรลดจำนวนคนลง โดยปรับบทบาทใหม่ หรืออาจบริหารจัดการคนโดยเกลี่ยไปยังหน่วยบริการที่มีความจำเป็น ตลอดจนพัฒนาศักยภาพคนเพื่อให้รองรับบทบาทใหม่ เช่น เป็น System Manager, Knowledge broker, Policy communication อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ต้องการระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ


          นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า ระบบสุขภาพที่อยากเห็น คือระบบบริการสุขภาพที่มีผู้เล่น (providers) หลากหลาย แต่มีการจัดบริการที่ประสานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความครอบคลุมที่เป็นธรรม ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบประกันสุขภาพและมีบริการที่มีคุณภาพโดยเฉพาะปฐมภูมิที่เข้มแข็งทั้งในเมืองและชนบท มีการส่งต่อที่ไร้รอยต่อ มีการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ผสมผสานงานส่งเสริมคุณภาพป้องกันโรค โดยมีการทำงานกับท้องถิ่นชุมชน  มีการจัดโครงสร้างการบริหารระบบบริการที่ไม่รวมศูนย์ สามารถตัดสินใจและจัดสรรงบประมาณสนองตอบต่อความต้องการหรือจัดซื้อบริหารที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ระบบประกันสุขภาพมีการลงทุนที่เพียงพอ มีการจัดสรรทรัพยากรและการซื้อบริการที่มีประสิทธิภาพ ไม่แยกส่วน ไม่ซ้ำซ้อน ไม่แตกต่างในสิทธิประโยชน์หลัก และมีการบริหารที่ให้ความคล่องตัวในระดับพื้นที่ มีกลไกดูแลภาพรวมของระบบเพื่อให้เกิดการจัดบริการ การกำหนดนโยบายสาธารณะ มีการกำหนดกติกาเพื่อควบคุมกำกับคุณภาพมาตรฐาน ผู้ผลิตและผู้จัดบริการและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคมีการลงทุนและจัดการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคประชาชน และมีการทำงานร่วมกับ อปท.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้