4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. พัฒนาศักยภาพนักวิจัยพื้นที่ภาคใต้ หวังพัฒนางานวิจัยคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ จากพื้นที่สู่ระดับประเทศ

          สวรส. จัดอบรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย  หวังเปิดโอกาสและพื้นที่การเรียนรู้  สร้างนักวิจัยหน้าใหม่ในพื้นที่ภาคใต้  สร้างงานวิจัยคุณภาพ  มุ่งเป้าการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ  สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

          สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ (Center of Excellence in Health System and Medical Research [CE-HSMR])  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย รุ่นที่ 1/2561 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยตั้งแต่ต้นทางของการทำวิจัย ด้วยมุมมองที่เป็นระบบและวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโจทย์วิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการ การบริหารจัดการงานวิจัย รวมถึงการเชื่อมงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพที่สามารถตอบสนองการพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนเป็นโอกาสให้เครือข่ายนักวิจัยระบบสุขภาพได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยการอบรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 - 9 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช

          การอบรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน ประกอบด้วย นักวิจัยจากสถาบันการศึกษา และสถานพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี  ทั้งนี้นักวิจัยได้มีโอกาสนำเสนอโครงการวิจัย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมผู้จัดการงานวิจัยของ สวรส. และทีมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยจาก ม.วลัยลักษณ์  โดยในการอบรมได้รับเกียรติจาก นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการ สวรส. และ ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม ม.วลัยลักษณ์ ร่วมเปิดการอบรมในครั้งนี้ด้วย

          นพ.พีรพล  สุทธิวิเศษศักดิ์ ผอ.สวรส. กล่าวว่า สำหรับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ ม.วลัยลักษณ์  ถือเป็นพื้นที่แรกๆ ที่ สวรส. ทำงานกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ  โดยคาดหวังการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย  พัฒนาระบบวิจัย  เพื่อให้ผลลัพธ์ของการวิจัย นอกเหนือไปจากมีองค์ความรู้เพิ่มแล้ว ยังสามารถขยับไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพให้ดีขึ้นได้อีกด้วย  ซึ่งวิสัยทัศน์ของ สวรส. ได้มุ่งเน้นในการสร้างความรู้เชิงประจักษ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ  โดยมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ  นอกจากนี้ สวรส. ได้มีแผนงานบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม  ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 เปิดให้นักวิจัยที่สนใจ สามารถยื่นข้อเสนอโครงการเข้ามาที่ สวรส. ได้  ดังนั้นการอบรมฯ ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จึงถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยหน้าใหม่ เพื่อให้สามารถสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ  ส่งผลให้เกิดตัวเลขทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้น  ประชาชนมีความพึงพอใจ  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจนเกิดภาวะล้มละลาย รวมถึงระบบสุขภาพมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน 

          ด้าน พญ.วัชรา  ริ้วไพบูลย์ ผู้จัดการงานวิจัยอาวุโสและผู้จัดการสำนักจัดการงานวิจัยและประสานโครงการ ให้ข้อมูลว่า  ตามที่ สวรส.ได้มีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  สนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ เพื่อตอบสนองการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ  โดยมีสถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางเติมเต็มช่องว่างความรู้ด้านสุขภาพและการแพทย์  พัฒนาโจทย์วิจัยเชื่อมต่อจากระดับพื้นที่ สู่ระดับประเทศ  พร้อมพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายจากความรู้งานวิจัยควบคู่กับการพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ เมื่อเดือน ก.ค.2560 ที่ผ่านมา  การจัดอบรมฯ ในครั้งนี้  จึงเป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยฯ ของ ม.วลัยลักษณ์  ตามที่ได้ลงนามความร่วมมือฯ กันไว้  โดยเน้นไปที่การทำกระบวนการพัฒนาโจทย์และโครงร่างงานวิจัย เพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่  และมีเป้าหมายการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่สามารถเชื่อมต่อเชิงระบบกับการจัดการงานวิจัยในเขตสุขภาพที่ 11  ซึ่งในการอบรมดังกล่าว ได้มีการจัดกลุ่มงานวิจัยที่มานำเสนอออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเรื่องความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ และการสร้างเสริมสุขภาพ  2) กลุ่มนโยบาย  3) กลุ่มเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือต่างๆ  4) กลุ่มอื่นๆ  โดยมีผู้จัดการงานวิจัยจาก สวรส. และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยจาก ม.วัยลักษณ์ ให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักวิจัย เพื่อให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ พร้อมการทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านมากขึ้น

          ดร.อารยา  สุขสม  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้กล่าวว่า ด้วยตนเองมีพื้นฐานการศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ จึงมีความสนใจเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน สิทธิมนุษยชน วิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ฯลฯ  โดยได้ศึกษากลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ  ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องสถานะทางสุขภาพ  ดังนั้นเมื่อ สวรส.ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย จึงมีความสนใจในประเด็น “การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของบุคคลข้ามเพศในประเทศไทย” ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ ได้มีโอกาสในการนำเสนอโครงร่างงานวิจัยให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้ความเห็นและเสนอแนะมุมมองที่เป็นประโยชน์มากต่อการเขียนข้อเสนอโครงการ การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวางแผนวิธีการศึกษาวิจัยและเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ยังได้รู้จักเครือข่ายนักวิจัยในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคตอีกด้วย

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้