4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เปิดรับฟังความคิดเห็น พระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ....

ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น
(ตามหัวข้อที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด)

 

. สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหา

          พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบสาธารณสุข ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงานเฉพาะ “การศึกษา ค้นคว้า วิจัยกิจการด้านสาธารณสุข โดยสัมพันธ์กับศาสตร์ด้านอื่น เช่น สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา หรือพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อให้กิจการด้านสาธารณสุขสามารถพัฒนาไปอย่างมีระบบ และสามารถแก้ปัญหาสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ” โดยขอบเขตการดำเนินงานเช่นนี้ ทำให้ไม่ครอบคลุมถึงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคมวิทยาเกี่ยวกับสุขภาพ การวิจัยทางคลินิก และการวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงควรมีกฎหมายที่ครอบคลุมวิจัยด้านสุขภาพโดยรวม และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานดังกล่าวโดยเฉพาะ ไม่ว่าทางด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ และด้านการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์


. ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อแก้ปัญหา

กฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติได้นิยามคำว่า “สุขภาพ” ให้มีขอบเขตที่กว้างขวางกว่าคำว่า “สาธารณสุข” กล่าวคือ สุขภาพหมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมกันอย่างสมดุล การที่จะสร้างสุขภาพให้เกิดขึ้นแก่บุคคล ชุมชน และสังคมได้นั้น จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การวิจัยสุขภาพของประเทศให้ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม มีทิศทางการวิจัยสุขภาพที่ชัดเจนและบูรณาการเป็นเอกภาพ รวมทั้งมีการบริหารงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าการลงทุนการวิจัย อันจะนำความรู้จากการวิจัยที่สามารถสะท้อนให้เห็นช่องว่างการพัฒนา ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจรในการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นยังสามารถนำใช้งานเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภคและหรือผู้รับบริการสุขภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

. หลักการอันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายที่จะตราขึ้น

๑. นิยามของ “การวิจัยสุขภาพ” หมายความว่า การศึกษาค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจ ตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือความรู้ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อพัฒนาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ ได้แก่

(๑).การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคมวิทยาเกี่ยวกับสุขภาพ

(๒).การวิจัยทางคลินิก

(๓).การวิจัยระบบสุขภาพ รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ

(๔).การวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ

(๕).การวิจัยอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

๒. มีคณะกรรมการ ๒ คณะ เพื่อทำหน้าที่ให้ครอบคลุมทุกด้าน คือ

๒.๑ คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ ทำหน้าที่ในการกำหนดแผนงาน ทิศทางของการสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ ให้สอดคล้องกับนโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและแผนพัฒนาประเทศ รวมทั้งจัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ และควบคุมกำกับสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ

๒.๒ คณะกรรมการติดตามประเมินผลการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ ทำหน้าที่ในการประเมินความสอดคล้องของนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ และติดตามประเมินผลการบริหารกองทุน ทั้งนี้ เพื่อให้การวิจัยสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อันจะทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

๓.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพโดยโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน งบประมาณจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อทำหน้าที่จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ ผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม และบริหารกองทุน

๔.มีกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน

 

. ร่างพระราชบัญญัติที่จะรับฟังความคิดเห็น

ดาวน์โหลด ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ....

 

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิจัยสุขภาพไทย

โดยร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.. .... ได้ทาง

๑. อีเมล์ publichearing@hsri.or.th
๒. เว็บไซต์ www.lawamendment.go.th

ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ ๓๑ .. ๒๕๖๐

 

และขอเชิญเข้าร่วมเวทีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ....

ในวันที่ ๒ พ.. ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี โดยผู้สนใจร่วมแสดงความคิดเห็น โปรดลงทะเบียนล่วงหน้า ภายในวันที่
๒๖ ต.. ๒๕๖๐

ดาวน์โหลด แบบตอบรับการเข้าร่วมเวทีการรับฟังความคิดเห็นฯ

ส่งแบบตอบรับมาทางอีเมล์ publichearing@hsri.or.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้