4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

บทเรียนรณรงค์ป้องกันเอดส์ สู่แผนเอดส์ชาติ 5 ปีข้างหน้า

          คนทำงานด้านเอดส์จากภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศร่วมระดมความคิดค้นหาวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ หวังยื่นข้อเสนอสู่การทำยุทธศาสตร์เอดส์ชาติ โดยนำบทเรียนจากการทำงานมาทบทวน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของงานป้องกันเอดส์ในแผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2554-2559 ต่อไป

          ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. 2554 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์ชาติ (ศบ.จอ.) คณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์ (คอปอ.) สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (สอวพ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ : จากบทเรียนสู่ยุทธศาสตร์ชาติ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กทม.

          นพ.พงษ์พิสุทธิ์  จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส. ประธานเปิดงาน กล่าวว่า เกือบสามสิบปีที่ผ่านมา ผลกระทบที่เกิดจากโรคเอดส์ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงานที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ ก่อนหน้าที่จะมีการให้ยาต้านไวรัสเอดส์ สถานการณ์ภาระโรคที่เกิดจากโรคเอดส์สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆทั้งเพศหญิงและชาย  ต่อมาแม้จำนวนผู้ป่วยจะลดลง แต่ก็ยังมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ติดเชื้อที่มีอายุน้อยลง ดังนั้นการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์จึงหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในระหว่างนี้ที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ กำลังจะจัดทำแผนยุทธศาสตร์บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ชาติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศในการแก้ปัญหาเรื่องโรคเอดส์อีก 5 ปีข้างหน้า  สวรส.ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการให้เกิดรูปแบบและกลไกรณรงค์ป้องกันเอดส์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สนับสนุนการทำกิจกรรมของเครือข่ายต่างๆทั่วประเทศ จึงเปิดเวทีให้คนทำงานด้านเอดส์ผู้ปฏิบัติงานจริงได้มีพื้นที่ในการเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ที่เป็นภาพรวมของประเทศ นอกจากนั้นการระดมความเห็นครั้งนี้ก็จะได้เป็นชุดของบทเรียนและประสบการณ์ของคนทำงานด้านเอดส์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนทำงานและการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ของประเทศต่อไปได้อีกด้วย

          ด้าน นพ.สรกิจ  ภาคีชีพ ผู้จัดการกองทุนเพื่อบริการผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์และผู้ป่วยวัณโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ถึงแม้บทบาทของ สปสช. ในเรื่องโรคเอดส์จะเน้นไปที่เรื่องการรักษามากกว่าการป้องกัน แต่ สปสช. ก็ตระหนักดีว่าการป้องกันมีความสำคัญ และส่งผลถึงเรื่องการรักษาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อสามารถประหยัดงบประมาณค่ายาต้านไวรัสเอดส์ได้จำนวนหนึ่ง เมื่อปี 2552-2553 สปสช. จึงได้สนับสนุนงบประมาณให้ สวรส. ดำเนินการเรื่องการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ/กลไกในการขับเคลื่อนการรณรงค์ป้องกันเอดส์ และในอนาคต สปสช.ก็จะพยายามให้การสนับสนุนงบประมาณกับกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลถึงการป้องกันโรคเอดส์ เช่น การฟื้นฟูระบบการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อโดยสมัครใจโดยจัดรถเคลื่อนที่ออกไปให้บริการ ซึ่งกิจกรรมทั้งสองอย่างนี้ได้ดำเนินการร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและเชื่อว่าการรวมตัวกันของคนทำงานด้านโรคเอดส์ทุกภาคส่วนในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้การจัดทำยุทธศาสตร์เอดส์ชาติมีกลยุทธ์และรูปแบบการทำงานที่สามารถดำเนินงานอย่างได้ผลจริง

          ในการสัมมนาครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนามีภารกิจในการระดมความคิดเกี่ยวกับรูปแบบที่ได้ผลในการป้องกันเอดส์ในกลุ่มเฉพาะต่างๆที่มีความเสี่ยง ได้แก่ หญิงบริการ ชายรักชาย ผู้ใช้เข็มฉีดยา คนข้ามชาติ ผู้ต้องหา เยาวชน คู่รักต่างเพศ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เป็นแกนนำในการป้องกัน ได้แก่ กลุ่มศาสนา กลุ่มสื่อมวลชน และกลุ่มท้องถิ่น/จังหวัด คาดว่าผลจากการสัมมนาครั้งนี้จะช่วยให้การจัดทำยุทธศาสตร์เรื่องโรคเอดส์ของประเทศมีทิศทางที่ชัดเจนและก้าวหน้า/ทันสมัยขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานในอนาคตมีประสิทธิผลในการป้องกันเอดส์ได้อย่างแท้จริง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้