4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

กม.ใหม่สิทธิ์ผู้ป่วยเลิกรักษายื้อชีวิต-ไทยโพสต์

          สช.เผยกฎหมายใหม่ ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกขอไม่รับการรักษาพยาบาลเพื่อยื้อชีวิตได้ เพียงแต่มีญาติใกล้ชิดเป็นผู้รับรองเท่านั้น ชี้เป็นการปฏิวัติสังคม พลิกความเชื่อเทคโนโลยีคือสุดยอดการรักษา ให้หันมาทบทวนคุณค่าการใช้ชีวิต เชื่อเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย เร่งจัดทำหนังสือเผยแพร่ทำความเข้าใจแก่แพทย์ พยาบาลทั่วประเทศ

          สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที "สช.เจาะประเด็นเรื่องบั้นปลายชีวิตลิขิตได้ ตามกฎกระทรวง" ที่ออกตามความในมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดให้ผู้ป่วยสามารถแสดงเจตนา รมณ์ในการไม่ขอรับบริการสาธารณสุขเพื่อยุติ ความทรมานจากการเจ็บป่วย ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2554 โดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุข ภาพแห่งชาติ กล่าวว่า การที่กฎหมายให้สิทธิ์ผู้ป่วยในการเขียนหนังสือแสดงเจตนาในการไม่ขอรับการ รักษาเพื่อยื้อชีวิต เป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ยังมีสติสัมปชัญญะสามารถทำได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ไร้สติ แพทย์จะต้องหารือกับญาติใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการรักษาที่ตรงกันก่อน ส่วนผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่เป็นโรคเรื้อรังก็สามารถทำได้ โดยต้องมีญาติใกล้ชิดเป็นผู้รับรอง

          เลขาธิการ สช. กล่าวต่อว่า การทำหนังสือดังกล่าวจะทำให้ทั้งแพทย์ ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย รู้ความต้องการและหาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทุกระดับจะต้องให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งขณะนี้ สช.ได้จัดทำหนังสืออธิบายถึงการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างละเอียด เพื่อแจกจ่ายให้กับ รพ.ทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศแล้ว

          ด้าน นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรองรับคุณภาพโรงพยาบาล กล่าวว่า การปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ที่ออกมานี้ รพ.จะต้องดำเนินการต่อใน 4 เรื่อง คือ 1.ช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษา 2.เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจะต้องถ่ายสำเนาเก็บไว้ ส่วนตัวจริงให้คืนแก่ผู้ป่วยหรือญาติ จากนั้นจึงเร่งประสานทำความเข้าใจกับคณะแพทย์ที่จะทำการรักษา รวมถึงเมื่อมีการย้าย รพ.จะต้องประสานทำความเข้าใจกับ รพ.ที่ผู้ป่วยย้ายไปด้วย 3.แจ้งอาการเจ็บป่วยให้ญาติทราบ เพราะบางครั้งยังมีความจำเป็นที่ต้องรักษาอาการบางอย่างของผู้ป่วยอยู่ ดังนั้นทาง รพ.จะต้องเรียนรู้เรื่องการชั่งน้ำหนัก และ 4.ต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย พร้อมกันนี้จะต้องทำการรักษาแบบประคับประคองอาการไปด้วย

          "แต่มีปัญหาคือ รพ.ต้องการเห็นหนังสือที่ชัดเจนว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ แต่การเขียนรายละเอียดเกินไปนั้นผู้ป่วยถือว่าเป็นการเสียศักดิ์ศรี จึงเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เขียนตามความต้องการของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ รพ.ที่ต้องพิจารณาการรักษาจากหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติสังคมที่จะรื้อฟื้นจากการที่หลงผิดว่าเทคโนโลยีคือ สุดยอดของการรักษา ได้หันมาทบทวนการมีคุณค่าในการใช้ชีวิต" นพ.อนุวัฒน์กล่าว

          พร้อมกันนี้ นพ.สุรชัย โชคครรชิตไชย รอง ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา  กล่าวว่า การใช้กฎหมายดังกล่าว แพทย์จะต้องดูว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่ หากไม่ใช่ จะถือว่าหนังสือนั้นไม่มีผลบังคับ เช่น กรณีอุบัติเหตุ แพทย์จะต้องทำการรักษาตามปกติ ทั้งนี้ หากหนังสือที่นำมาแสดงเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แพทย์ผู้รักษาต้องสอบถามความจริงจากผู้ป่วยที่ยังมีสติหรือญาติใกล้ชิด ทั้งนี้ ทาง รพ.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลและปฏิบัติตามมาตรา 12  โดยเฉพาะที่มีแพทย์และพยาบาลเป็นที่ปรึกษา ส่วนกรณีที่ไม่มีหนังสือแสดงเจตนา ทาง รพ.จะมีคณะทำงานที่ไปเจรจาทำความเข้าใจร่วมกันกับญาติที่ใกล้ชิด เช่น ลูก พ่อ แม่ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อมีการพูดคุยกันแล้วจะทำให้เข้าใจตรงกันมากขึ้น.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 หน้า 8

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้