4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ตะลึงรพ.3แห่งไม่มีแพทย์ประจำ-กรุงเทพธุรกิจ

          สวค.เผย รพ.อีก 26 แห่งมีแพทย์คนเดียว-จี้ขยายโอกาสนักเรียนชนบทเรียนแพทย์
          สำรวจพบโรงพยาบาล 3 แห่ง ไม่มีแพทย์ประจำ อีก 26 แห่ง มีแพทย์ประจำคนเดียว นักวิชาการเรียกร้องกระทรวงสาธารณสุขขยายโอกาสให้นักเรียนชนบทเข้าเรียนแพทย์ หวังให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น แก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ระยะยาว

          สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำรวจข้อมูลแพทย์ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับช่วงโยกย้ายของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน พบว่ามีโรงพยาบาลชุมชนถึง 3 แห่ง ที่ไม่มีแพทย์ประจำ ได้แก่ รพ. บันนังสตา จ. ยะลา รพ. เกาะกูด จ. ตราด และ รพ. ภูกระดึง จ. เลย ต้องใช้วิธีการเวียนแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัดมาให้บริการประชาชนเป็นการชั่วคราว และมีโรงพยาบาลชุมชนอีก 26 แห่ง มีแพทย์ประจำเพียงแค่ 1 คน ไม่เพียงพอแก่การให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในเขตภาคอีสาน


          ดร.นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทเป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสุขภาพไทย จะเห็นได้ว่า 3 โรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์ประจำเลย ล้วนเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีภูมิประเทศที่ไม่ดึงดูดใจ เช่น เป็นพื้นที่มีเหตุการณ์รุนแรง บนเกาะ และบนเขา ซึ่งทั้ง 3 โรงพยาบาลนี้ไม่เพียงแต่จะไม่มีแพทย์ประจำเท่านั้น แต่ยังพบว่า แต่แม้แต่แพทย์ใช้ทุนก็ยังไม่มีปฏิบัติงาน
          "สถานการณ์แบบนี้ จะคงอยู่ไปตลอด 1 ปี จนกว่าจะถึงช่วงโยกย้ายของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนในปีต่อไป ซึ่งการที่มีแพทย์อยู่เพียง 1-2 คน ในโรงพยาบาลเป็นภาระที่หนักมาก และเมื่อมีแพทย์ลาออกไป 1 คน ภาระงานก็จะตกแก่แพทย์ที่ยังอยู่"

          ดร.นงลักษณ์ กล่าวว่า ในช่วงเดือน พ.ค.ของทุกปี กระทรวงสาธารณสุขจะจัดให้มีการหมุนเวียนแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โดยจะมีแพทย์จบใหม่เข้าฝึกเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลระดับจังหวัด แต่ในรอบปีที่ผ่านมาหมุนเวียนเข้าไปเป็นแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลระดับอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งหากทำตามระบบทุกโรงพยาบาลควรจะต้องมีแพทย์ใช้ทุนอยู่ให้บริการ
          "ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อแพทย์ต้องไปใช้ทุนในพื้นที่ที่ตนเองไม่อยากไปก็จะใช้วิธีการลาออกโดย จ่ายค่าปรับให้กับรัฐบาลแทนโดยในปี 2551 พบว่ามีแพทย์รุ่นนี้ลาออกก่อนใช้ทุนครบ 3 ปี มากถึง 356 คน จากจำนวนแพทย์ใช้ทุนทั้งหมด 1,189 คน"

          ด้าน พญ.ลลิตยา กองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กล่าวว่า ควรจะต้องขยายโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors-CPIRDS) ซึ่งตามโครงการเดิมจะสิ้นสุดในปี 2556 ควรขยายออกไปอีก
          "จากการสำรวจแพทย์ลาออกในระหว่างปี 25543-2554 พบว่า แพทย์ CPIRD ออกจากราชการประมาณ 30% เมื่อเทียบกับแพทย์ปกติ ซึ่งออกจากราชการเฉลี่ยประมาณ 50%" พญ.ลลิตยากล่าว

          ทั้งนี้ โครงการผลิตแพทย์เพิ่มจากระบบการผลิตปกติ กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547-2556 โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเข้าเรียนตามหลักสูตรมาตรฐานของคณะแพทย์ 6 ปี เพื่อให้เด็กชนบทเข้าสู่วิชาชีพแพทย์ได้มากขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หน้า ๑๔

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้