4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สางปมป่วยความดันสูงแบกค่ายาอ่วม เหตุใช้ไม่เหมาะเสี่ยงดื้อ-พึ่งตลอดชีวิต เร่งยกระดับความรู้เภสัชกรขนานใหญ่-ASTV ผู้จัดการรายวัน

          คณะเภสัชฯ ม.มหิดล เร่งยกระดับความรู้ทางเภสัชวิทยา ชูประเด็นการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดปอดอย่างเหมาะสมหลังพบคน ป่วยนับหมื่นรายต้องพึ่งยารักษาตลอดชีวิต หวังสร้างความเข้าใจแก่เภสัชกรรุ่นใหม่

          วานนี้ (19 พ.ค.) ที่อาคารเทพรัตน์  มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดประชุมวิชาการความก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาครั้งที่ 11 เรื่อง "เภสัชวิทยาของยาใหม่" โดยภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ม.มหิดล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเภสัชวิทยาแก่เภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องตลอดจนเป็นการทบทวนความรู้แก่นักศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ด้วย

          โดย ดร.ภก.ศุภโชค มั่งมูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยาคณะเภสัชฯ ม.มหิดล ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดปอด หรือ พีเอเอช (Pulmonary Arterial Hypertension-PAH)  ซึ่งอุบัติการณ์ของในประเทศไทยราว 10,000 ราย เป็นโรคที่ถือว่าอันตรายเนื่องจากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องรับยาต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยอาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้จากภายนอก คือ ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ทั่วท้อง อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ค่ายามีราคาแพงเพราะยาส่วนมากไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ยาที่ใช้ทั่วไปได้แก่ ยา Antagonists,PDE -5 inhibitor, prostacyclin แต่เภสัชกรจะให้ยาได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยืนยันแล้วว่า ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจริง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดและหัวใจ โดยราคาของยาดังกล่าวเฉลี่ย 1,000 บาทต่อชนิดซึ่งหากใครป่วยด้วยโรคพีเอเอชจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับยาในการ รักษามากกว่า 1 แสนบาท นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่คุ้มค่านัก  แต่หากเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในสิทธิการรักษาพยาบาลทั้ง 3 ระบบ โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งจ่ายยา Beraprost ซึ่งมีอยู่ในบัญชียาหลักแต่ราคาก็ยังแพงอยู่มากเช่นกัน เนื่องจากนำเข้าจากต่างประเทศ

          "ที่น่าห่วงคือหากการวินิจฉัยและรักษาไม่เป็นไปตามคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเสี่ยงต่อการดื้อยาได้ ซึ่งหากดื้อยาแล้วแพทย์จำเป็นต้องใช้ยาเพิ่มมากขึ้นและแรงขึ้น โดยอาจใช้คู่กัน 2 ชนิดขึ้นไป ผู้ป่วยก็ต้องแบกรับกับภาระค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันหากเภสัชกรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ก็ยากที่จะใช้ยาอย่างเหมาะสมในการรักษาโรคพีเอเอช" ดร.ภก.ศุภโชคกล่าว

          ดร.ภก.ศุภ โชค กล่าวด้วยว่าสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้คือ 1. ผู้ที่มีญาติหรือบิดา มารดามีประวัติการป่วยโรคพีเอเอช ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ 2. ผู้ที่ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์และผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่โดยจะพบในบางรายเท่านั้นที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากหลอดเลือดปอด เป็นภาวะแทรกซ้อน ทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมได้ 3. พบได้ในผู้ที่ใช้ยาลดความอ้วนชื่อว่า fenfluramine ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนอันตรายของการใช้ยานี้บ่อยครั้ง

          "ทั้งนี้แพทย์อาจวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการเอกซเรย์ปอดอัลตราซาวนด์หัวใจ ซึ่งหากพบความผิดปกติแพทย์ต้องเร่งซักประวัติที่แน่ชัดและวินิจฉัยโรคเพื่อยืนยันผลที่แน่ชัดอีกครั้งด้วยวิธีการใช้สายสอดเข้าไปข้างในเพื่อดูความดันในเส้นเลือดโดยตรงที่ปอดและหัวใจ ซึ่งค่าตรวจวินิจฉัยรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อราย" ดร.ภก.ศุภโชค กล่าว

          ดร.ภก.ศุภโชค กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดจนหลีกเลี่ยงการทานยาลดความอ้วนทุกประเภท ทั้งนี้ในเมื่อพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปมาก เภสัชกรเองในฐานะหมอยา ก็ต้องเร่งเรียนรู้ในเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสมและเพิ่มพูนทักษะแนวทางการใช้ยาแบบใหม่ให้ดีขึ้นด้วย โดย ม.มหิดลเอง จะเร่งปรับการเรียนการสอนในชั้นปริญญาตรีปริญญาโท เกี่ยวกับเรื่องการใช้ยารักษาโรคพีเอเอชด้วย เนื่องจากถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของโรคที่อันตรายในปัจจุบัน รวมทั้งประมวลความรู้เป็นบทความเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนให้ทราบถึงอันตรายของโรคและผลกระทบจากการใช้ยารักษาด้วย เพื่อที่จะสร้างความตระหนักกับทุกภาคส่วน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ หน้า ๑๐

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้