4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

จุดประเด็น - ชวน BOI มาสนับสนุนการลงทุนบริการปฐมภูมิ

Teaser: 
ผมทำงานในระบบสุขภาพมานาน มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกันผู้คนในวงการต่างๆ มามากมาย ไม่นึกว่าในที่สุดจะมีโอกาสได้ร่วมหารือกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ผ่านการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และเป็นการพูดคุยในเรื่องของการลงทุนในระบบสุขภาพ

          ผมทำงานในระบบสุขภาพมานาน มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกันผู้คนในวงการต่างๆ มามากมาย ไม่นึกว่าในที่สุดจะมีโอกาสได้ร่วมหารือกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ผ่านการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และเป็นการพูดคุยในเรื่องของการลงทุนในระบบสุขภาพ

          เรื่องทั้งหมดนี้เริ่มต้นด้วยมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งล่าสุด (เดือนธันวาคม ๒๕๕๓) ในประเด็นเรื่อง “นโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Medical hub” บ้าง “Medical tourism” บ้าง ที่ผมเป็นประธานคณะทำงานยกร่างข้อเสนอมติดังกล่าว ได้ระบุให้ “รัฐไม่พึงให้การสนับสนุนหรือสิทธิพิเศษทางภาษีและการลงทุนกับบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงธุรกิจ” และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความเห็นชอบต่อมติดังกล่าว ในเวลาใกล้เคียงกันกับที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีมติขยายขอบข่ายการลงทุนประเภท “กิจการโรงพยาบาล” ที่เดิมเคยครอบคลุมโรงพยาบาลตั้งแต่ ๕๐ เตียงขึ้นไป เป็นเกินกว่า ๓๐ เตียงขึ้นไป และเพิ่มประเภทการส่งเสริมการลงทุน “ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง” เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางของภูมิภาค ซึ่งทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่า รัฐบาลกำลังมีนโยบายที่ขัดแย้งกันเอง และต้องการมุ่งเน้นการสร้างรายได้มากกว่าสนใจสุขภาพของประชาชนคนไทยที่ยังคงต้องการบริการทางการแพทย์อีกจำนวนมาก ผลก็คือ รัฐบาลได้ชะลอการประกาศใช้มติคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว และมอบให้ BOI หารือกับ สช. เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการกรณีดังกล่าวต่อไป

การประชุมหารือ ๒-๓ ครั้งที่ผ่านมามีประเด็นความเห็นที่น่าสนใจหลายประการ อาทิเช่น

๑. บทบาทภาครัฐต่อการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดบริการสาธารณสุขควรจะเป็นอย่างไร หากพิจารณาจากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ ข้อ ๔๓ ที่กำหนดให้ “รัฐควรสนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ที่มุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก โดยไม่สนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจ”  ซึ่งเป็นที่มาของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติตามที่กล่าวข้างต้น แสดงโดยนัยว่า รัฐควรปล่อยให้ “ธุรกิจ” การจัดบริการสาธารณสุขภาคเอกชนดำเนินการไปตาม “กลไกตลาด” โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซง (คือไม่คัดค้านและไม่สนับสนุนแต่ต้องคอยกำกับ) แต่ก็มีคำถามว่า หากไม่สนับสนุน (เช่น การยกเว้นหรือลดภาษีผ่านระบบ BOI) ธุรกิจจะอยู่รอดหรือแข่งขันในระดับสากลได้หรือไม่ เพราะผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านให้ข้อมูลว่า โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งกำลังจะแย่แล้ว แต่หลายท่านก็ไม่ชื่อข้อมูลดังกล่าว เพราะได้รับทราบข้อมูลการให้เงินปันผลของโรงพยาบาลผ่านสื่อมวลชน หากสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลเอกชนกำลังจะแย่ลงจริง ก็มีคำถามว่าเป็นหน้าที่ของรัฐต้องเข้าไปโอบอุ้มหรือไม่ เพราภาครัฐต้องการกำลังคนจำนวนมาก และพร้อมจะรับบุคลากรเหล่านั้นกลับสู่ระบบอยู่แล้ว

๒. ที่ประชุมมีข้อเสนออยากให้ BOI มีนโยบายสนับสนุนการลงทุนที่ระดับปฐมภูมิ (primary care) ด้วยเหตุผลหลายประการ (๑) สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการ (๒) เขตเมืองยังขาดบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพจำนวนมาก (๓) ภาคเอกชนยังไม่มีแรงจูงใจที่จะลงทุนมากนัก ส่วนใหญ่เน้นการลงทุนในโรงพยาบาล ปัญหาคือ การสนับสนุนบริการปฐมภูมิจะขัดแย้งกับหลักการในข้อ ๑ หรือไม่ หรือจะจำกัดเฉพาะบริการปฐมภูมิที่ไม่มุ่งหวังกำไรทางธุรกิจ และจะพิจารณาอย่างไรว่า บริการปฐมภูมิใดมุ่งหวังกำไรทางธุรกิจ

๓. หาก BOI ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในบริการปฐมภูมิแล้ว จะทำให้มีบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพในเขตเมืองหรือที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ โดยปรกติ BOI สามารถให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรในการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องมือ/เครื่องจักรต่างๆ หรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (กรณีที่เป็นรูปของบริษัท) เงื่อนไขการส่งเสริมดังกล่าวจะจูงใจมากพอหรือไม่ 

โดยรวม นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่หน่วยงานนอกวงการสาธารณสุข เช่น BOI หันมาให้ความสำคัญกับนโยบายสาธารณสุขและใช้เครื่องมือทางนโยบายที่มีอยู่ (เช่น นโยบายการส่งเสริมการลงทุน) เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขให้เป็นไปทิศทางที่ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด ผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไป 

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข

๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้