4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. ยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานวิจัย รุกเร่งพัฒนา “นักจัดการงานวิจัยมืออาชีพ” กำลังคนต้นทางของการวิจัย

สวรส. จัดอบรมหลักสูตรผู้จัดการงานวิจัย  หวังสร้างคน  พัฒนาศักยภาพ  สร้างงานวิจัยคุณภาพ  พร้อมขยายผลการจัดการความรู้สู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศ  สามารถตอบโจทย์แก้ปัญหาระบบสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)  จัดอบรมหลักสูตรผู้จัดการงานวิจัย รุ่นที่ 3  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานวิจัยระบบสุขภาพ  โดยเน้นการพัฒนาความสามารถบุคลากรที่จะทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการ แผนงาน หรือหน่วยงานวิจัย  ให้สามารถดำเนินกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างมีคุณภาพ  พร้อมสนับสนุนให้ระบบวิจัยสุขภาพสามารถสร้างความรู้  จัดการความรู้  และนำความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสุขภาพ  จนเกิดเป็นผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีของประชาชน  ตลอดจนร่วมพัฒนาให้เกิดความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม  โดยการอบรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 - 24 ก.พ. 2560 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริชมอนด์

การอบรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจำนวน  87 คน ประกอบด้วย นักวิจัย  ผู้ประสานงานการวิจัยที่มาจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข  และสถาบันการศึกษาต่างๆ  โดยได้เปิดเวทีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับประเด็นงานวิจัยของ สวรส. ในหลากหลายหัวข้อ  ไม่ว่าจะเป็น  ระบบการวิจัยสุขภาพกับการพัฒนาประเทศ  จริยธรรมการวิจัยและกฎระเบียบที่ควรรู้  ทิศทางการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุข  ตลอดจนการแบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติในประเด็นต่างๆ  อาทิ  การตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับปัญหาและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์  การเขียนข้อเสนอโครงการ  การออกแบบวิธีการวิจัยที่เหมาะสม  การบริหารจัดการงบประมาณการวิจัย  การจัดทำแผนปฏิบัติการ  การคัดเลือกนักวิจัย  การกำกับติดตามประเมินผล  การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย  ฯลฯ  โดยในวันสุดท้ายของการอบรมได้รับเกียรติจาก พญ.มยุรา  กุสุมภ์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  มอบประกาศณียบัตรให้กับผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้จัดการงานวิจัย รุ่นที่ 3 ด้วย   

ด้าน พญ.วัชรา  ริ้วไพบูลย์  ผู้จัดการสำนักจัดการงานวิจัยและประสานโครงการและผู้จัดการงานวิจัยอาวุโส  กล่าวว่า  นักจัดการงานวิจัยหรือผู้จัดการงานวิจัย  นับเป็นบุคลากรสำคัญของระบบวิจัยของประเทศ  โดยเฉพาะในระบบการวิจัยด้านสุขภาพ  สำหรับประเทศไทย มีกระบวนการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2504  ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพยายามให้การพัฒนาเป็นไปด้วยกระบวนการของการใช้ความรู้เป็นสำคัญ  เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ตรงทิศทาง  แก้ปัญหาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  แต่ในระยะแรก  การวิจัยอาจยังไม่ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนามากนัก  ซึ่งจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 12 ในปัจจุบัน  ประเทศไทยสามารถยกระดับจากประเทศยากจนที่มีรายได้น้อยขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้  แต่ยังติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางอยู่เป็นระยะเวลานาน  ยังไม่สามารถก้าวกระโดดไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงได้  แต่ขณะเดียวกันบนกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง  ยังมีกับดักอื่นซ้อนอยู่ด้วย  ซึ่งนั่นก็คือ กับดักเรื่องความเหลื่อมล้ำ  เนื่องจากรายได้ของประเทศที่เพิ่มขึ้นมีการกระจายตัวที่ไม่ดี  ยังมีช่องว่างที่กว้างอยู่มาก  คนส่วนใหญ่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย  คนจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีรายได้สูง  ส่วนกับดักต่อมาคือกับดักของการที่จะก้าวไปสู่ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วย  ซึ่งภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาที่จะทำให้เกิดการก้าวข้ามกับดักเหล่านี้ไปให้ได้  ด้วยกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  โดยภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติในมิติที่เกี่ยวข้องกับ สวรส. ในด้านการวิจัยสุขภาพ  สวรส.จะทำหน้าที่บริหารจัดการงานวิจัย  เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพที่ดีของประชาชน  โดยเน้นการมีสุภาพที่ดีอย่างถ้วนหน้า  ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  เกิดการสร้างสุขภาพที่ดีอย่างเท่าเทียม  

พญ.วัชรา  กล่าวต่อว่า  สำหรับด้านการวิจัยระบบสุขภาพ  พบว่าปัญหาของระบบวิจัยที่ผ่านมา  ไม่ใช่ประเด็นไม่มีงานวิจัย  หรือไม่มีงบประมาณในการทำวิจัย  แต่ปัญหาที่สำคัญคือ  การไม่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่  เนื่องมาจากขาดเป้าหมายที่ชัดเจน  ขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในทุกระดับ  มีความซ้ำซ้อนทั้งการจัดสรรงบประมาณและการทำวิจัย  โครงการวิจัยย่อยๆ ไม่สามารถสร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงระบบโดยรวมได้  ฯลฯ  ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องมีกำลังคนสำคัญ  ที่เรียกกันว่า  นักบริหารจัดการงานวิจัย หรือ นักบริหารโครงการวิจัย ที่มีทั้งความรู้ความเข้าใจในบริบทของระบบสุขภาพและการพัฒนาประเทศ  และมีทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย  พร้อมสามารถควบคุมคุณภาพงานวิจัย  ตั้งแต่การสร้างความรู้ไปจนถึงการใช้ความรู้จากงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ  

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยใช้เงินสำหรับการวิจัยและพัฒนา เพียง 0.5% ของ GDP  ดังนั้นเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  จึงมุ่งยกระดับไปให้ถึง 1.5% ของ GDP  ซึ่งโดยรวมสิ่งที่อยากเห็นคือ  การสนับสนุนและการลงทุนทางด้านการวิจัยในสัดส่วนที่เหมาะสม  เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้าง  การพัฒนาคน  การพัฒนาโจทย์วิจัยให้ตรงกับปัญหา  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ได้ในที่สุด  

 

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้