ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

Journal Club@สถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพในระดับโลก

          เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และเครือสถาบัน ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง สถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพในระดับโลก ให้กับผู้สนใจได้มีความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวกับระบบกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบย่อยของระบบสุขภาพ (Health System) โดยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ โดยมี ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาลและนักวิจัยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) เป็นวิทยากร  

          ดร.กฤษดา แสวงดี กล่าวถึงคำนิยามของกำลังคนด้านสุขภาพ (health workforce) หมายถึง ผู้ให้บริการทางสุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ เภสัชกร อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรที่ทำงานด้านการจัดการสุขภาพและฝ่ายสนับสนุน เช่น hospital administrators, district health managers, social workers หรือผู้ที่อุทิศตนเพื่อพัฒนางานด้านสุขภาพ จากข้อมูลของ World Health Report (2006) ระบุว่าทั่วโลกมีจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพประมาณ 4.3 ล้านคน และยังมีความขาดแคลนทั้งแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ โดยข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกรวบรวมเมื่อปี 2009 พบว่ามี 57 ประเทศที่จัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญกับสถานการณ์การขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะ 37 ประเทศนั้นอยู่ในทวีปแอฟริกา และได้มีการสูญเสียกำลังคนออกจากประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ อเมริกา นอกจากนั้นปัญหาเรื่องกำลังคนด้านสุขภาพที่สำคัญที่ทุกประเทศกำลังประสบ คือการจัดการฐานข้อมูลที่ขาดความถูกต้อง ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีมากำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพได้อย่างแม่นยำ
ผลกระทบจากการขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ ทำให้องค์การอนามัยโลกตระหนักถึงความสำคัญและได้มีมติสมัชชาอนามัยโลก เกี่ยวกับ WHO Global Code of Practice on the International Recruitment of Health Personnel ซึ่งจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีที่แล้วได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศปลายทาง มีการสรรหากำลังคนด้านสุขภาพอย่างมีจริยธรรมโดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการจัดบริการของประเทศต้นทาง โดยประเทศสมาชิกที่ให้การรับรอง Code ดังกล่าวจะต้องมีการจัดระบบรายงานและการกำกับติดตาม รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ศึกษาวิจัย และจัดแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยต้องมีการรายงานต่อสมัชชาอนามัยโลกทุก 3 ปี ผ่านองค์การอนามัยโลก

          Code ดังกล่าวเป็น soft law ไม่ใช่บังคับดำเนินการแต่เป็นตามความสมัครใจของประเทศสมาชิก ซึ่งการนำมาปฏิบัติในประเทศไทย ถึงแม้ว่าอาจจะมีปัญหาการสูญเสียบุคลากรสุขภาพออกนอกประเทศไม่มากนัก แต่จำเป็นต้องมีการศึกษา ติดตาม จัดทำข้อมูลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต เพราะการเคลื่อนย้ายถิ่นเป็นสิทธิ (Human Right to migration) ซึ่งต้องสร้างความสมดุลในประเทศเพราะการผลิตกำลังคนในประเทศไทยอาศัยทรัพยากรของส่วนรวม (public resources)  กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีแรงดูดบุคลากรจากประเทศอื่นมาก จะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตาม Code เพราะประเทศเหล่านี้ไม่เดือดร้อนจากผลที่เกิดขึ้น แต่ต้องมีระบบข้อมูลในการรับบุคลากรสุขภาพเข้าไปทำงานในประเทศ และมีจริยธรรมในการรับเข้า ส่วนประเทศต้นทางต้องสร้างระบบการธำรงรักษาบุคลากร และสร้างระบบในการกำกับติดตาม ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีระบบการสอบใบประกอบโรคศิลปะ (License) เป็นภาษาไทย ทำให้สามารถป้องกันการไหลเข้าของบุคลากรต่างชาติอย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการติดตามการไหลของบุคลากรสุขภาพภายในประเทศจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ด้วย
  
         
นอกจากนั้นหลังจากที่ได้มีมติสมัชชาอนามัยโลกดังกล่าวออกมา ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการนำมติสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 63 ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งคณะอนุกรรมการฯชุดนี้แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ และได้มีการแปล Code ดังกล่าวเป็นภาษาไทย โดยขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้