ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

สวรส. เร่งงานวิจัยเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ

          เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 แผนงานวิจัยและพัฒนาธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานวิจัยฯ ครั้งที่ 1/2554 โดยมีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน การประชุมดังกล่าวได้มีการแจ้งเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่ม ได้แก่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา นพ.สุรพจน์ สุวรรณวานิช นพ.ถวัลย์ พบลาภ และนพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ นอกจากนั้นมีการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานฯ เช่น ผลการศึกษาเบื้องต้นการประเมินผลลัพธ์ของมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลการทบทวนการบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายด้านสุขภาพระดับชาติ

          ภญ.พัทธรา ลีฬหวรงค์ นักวิจัยโครงประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) นำเสนอผลการวิจัยเรื่องการประเมินผลลัพธ์ของมาตรการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการประเมินผลลัพธ์ของมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ โดยวิธีการวัดความเต็มใจจ่าย (willingness-to-pay) ของครัวเรือนเปรียบเทียบกับต้นทุนเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของแต่ละแผนงานของ สสส. เพื่อพัฒนาแนวทางการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดของการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการวางแผนจัดลำดับความสำคัญของการลดปัจจัยเสี่ยงของการเจ็บป่วยที่ สสส. ต้องดำเนินการเร่งด่วน ตลอดจนให้ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของ สสส. ในอนาคต ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป มีการศึกษาและรายได้น้อย และมีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ รวมทั้งเป็นกลุ่มที่เข้าไม่ถึงมาตรการและสื่อของ สสส.  ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าการดำเนินงานหรือสื่อของ สสส. ที่ผ่านมามีความโดดเด่นและเข้าถึงง่ายสำหรับประชากรในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท นอกจากนั้นยังพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้งที่เคยรู้และไม่เคยรู้การดำเนินงานของ สสส. มาก่อน เต็มใจจ่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ สสส.  ด้วยเหตุผลว่า มาตรการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม และผู้ที่เคยรู้การดำเนินงานของ สสส. มาก่อนมีโอกาสจ่ายเงินสนับสนุนการดำเนินงานของ สสส. มากกว่าผู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ประเด็นนี้เป็นจุดแข็งขององค์กรอย่าง สสส. ที่มีพันธกิจเฉพาะเพื่อสาธารณประโยชน์ สสส. จึงควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประชาชนในสังคมโดยเฉพาะจุดยืนในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เพื่อความยั่งยืนขององค์กรและการดำเนินงานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค

          ดร.อรสา โฆวินทะ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (สนย.) กล่าวถึงผลการทบทวนการบริหารยุทธศาสตร์และนโยบายสุขภาพระดับชาติของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ พบว่า กระทรวงสาธารณสุขของแคนาดาเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง มีหน้าที่สนับสนุนและยกระดับสุขภาวะของชาวแคนาดา  โดยมีบทบาทหลัก 3 ด้าน ได้แก่ การควบคุมกำกับเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ทั้งด้าน อาหาร ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การให้บริการ รัฐบาลจัดบริการด้านสุขภาพพื้นฐาน สำหรับชุมชนห่างไกล นอกจากนี้ยังสนับสนุนเงินทุนสำหรับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคเรื้อรัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม และเป็นผู้ให้บริการข้อมูล โดยทำงานร่วมกับรัฐบาลระดับรัฐ และเขตเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพที่เป็นประเด็นระดับชาติ และสนับสนุนให้เกิดการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้  ส่วนกระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลียเป็นผู้ดูแลเรื่องสุขภาพ โดยมีการสร้างเสริมสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ รัฐ และเขตปกครอง ต่างก็มีหน่วยงานดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในทำนองเดียวกับรัฐบาลกลาง ส่วนกระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการสังคมและครอบครัวของเกาหลีใต้ มีโครงสร้างระดับสำนักงานดูแลตามนโยบายได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการรักษาพยาบาล สวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุ คนพิการ ด้านค้าบริการสุขภาพ และแต่ละหน่วยงานมีการบริหารนโยบายและยุทธศาสตร์ของตนเอง มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและให้ข้อเสนอแนะกับ National Health Insurance Corporation ด้านการประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบสุขภาพของทั้งสามประเทศมีปัจจัยร่วมที่สำคัญ คือ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมีหน้าที่กำหนดทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์ ภารกิจในการดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของรัฐ และจังหวัด ที่มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ดังนั้นหน่วยงานหลักที่มีสมรรถนะสูงในบริหารจัดการนโยบายและยุทธศาสตร์ ตลอดจนการสื่อสารนโยบายสู่การปฏิบัติ จึงเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศ

          ซึ่งทั้งสองโครงการ คณะกรรมการฯได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เพื่อให้นักวิจัยนำไปปรับแก้ให้รายงานวิจัยเกิดความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้