4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

วงถกหลักประกันสุขภาพระดับชาติ ชงรัฐบาลเพิ่มงบ ‘บัตรทอง’ ปีละ 4.2%

        วงถกหลักประกันสุขภาพระดับชาติ เสนอรัฐบาลเพิ่มงบ "บัตรทอง" ในอัตราปีละ 4.2% เพื่อความยั่งยืนทางการคลัง แนะควรแยกงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขออกจากรายหัว ส่วนเรื่องตัดเงินเดือนบุคลากรภาครัฐในงบเหมาจ่ายรายหัวยังไร้ข้อสรุป

        ที่ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ครั้งที่ 2 : ยั่งยืนด้วยคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเป็นธรรม จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2559 ภายใต้การดำเนินการของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านการคลังและระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล เป็นประธาน มีข้อสรุปในประเด็นความยั่งยืนทางการคลังว่า รัฐบาลจำเป็นต้องปรับเพิ่มงบประมาณของระบบหลักประกันสุขภาพอย่างน้อยในอัตรา 4.2% ต่อปี

        นอกจากนี้ ควรจัดงบประมาณด้านการลงทุนโครงสร้างขั้นพื้นฐานระบบบริการสาธารณสุข เพื่อไม่ให้ระบบบริการภาครัฐลดถอยลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยควรจัดสรรงบประมาณด้านการลงทุนแยกไว้เป็นการเฉพาะ

        สำหรับแหล่งการคลังที่สำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ยังคงเป็นงบประมาณภาครัฐโดยอาศัยระบบภาษีเป็นหลัก ซึ่งจะไม่เป็นการสร้างภาระหรืออุปสรรคในการเข้าถึงบริการของประชาชน

        นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ยังมีข้อสรุปเรื่องการยกระดับความเป็นธรรม โดยเสนอให้มีการจัดชุดสิทธิประโยชน์ทางสุขภาพเพื่อใช้กับระบบหลักประกันสุขภาพทุกระบบของประเทศในกรอบเดียวกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชุดสิทธิประโยชน์หลัก และชุดสิทธิประโยชน์เสริม

        “ในส่วนของชุดสิทธิประโยชน์หลักนั้น ประกอบด้วยชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานด้านสุขภาพ และชุดสิทธิประโยชน์ขั้นครัวเรือนล้มละลาย โดยหลักเกณฑ์ที่ต้องนำมาพิจารณาคือต้องเป็นบริการที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณภาพ คุ้มทุน ประเทศสามารถจ่ายได้” นพ.ภิรมย์ กล่าว

         นพ.ภิรมย์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นการแยกงบประมาณเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรออกจากงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีทางเลือกที่ดำเนินการได้ทั้ง 2 ทาง คือทั้งตัดและไม่ตัด ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางไหนจำเป็นต้องศึกษาและทบทวนการวางแผนกระจายทรัพยากรอย่างเป็นระบบ

        ทั้งนี้ ข้อมูลปี 2557 พบว่าการจ้างและการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในส่วนของภาคบริการ มีการใช้งบประมาณเพียง 57% ขณะที่ข้อมูลปี 2559 ระบุว่ามีบุคลากรที่ไม่ใช่ข้าราชการอยู่ในระบบถึง 16% จึงต้องทบทวนและวางแนวปฏิบัติให้ชัดเจนว่าหากมีการแยกเงินเดือนและค่าตอบแทนออกมาแล้ว วงเงินงบประมาณโดยรวมที่จะนำมาใช้ในระบบบริการสาธารณสุขจะต้องไม่ลดลง

        อย่างไรก็ตาม การตัดแยกงบประมาณดังกล่าวออกจากงบประมาณของระบบ สปสช.อาจไม่ใช่การแก้ไขต้นเหตุของปัญหาการขาดสภาพคล่องของโรงพยาบาลสังกัด สธ.

        อนึ่ง ข้อเสนอดังกล่าวจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ รมว.สาธารณสุข และคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 4 ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

 

ข้อมูลข่าวจาก : https://www.hfocus.org/content/2016/10/12875

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้