4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สังเคราะห์ข้อเสนอ “วางแผนกำลังคน” รับปี 2560-2569 หนุนมาตรการ กลับภูมิลำเนา – เร่งบรรจุพยาบาล

คณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ สังเคราะห์ข้อเสนอวางแผนกำลังคน รับมือความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มุ่งกระจายกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบสาธารณสุข พร้อมสนับสนุนมาตรการบัณฑิตทำงานในภูมิลำเนา – เร่งบรรจุตำแหน่งข้าราชการวิชาชีพ “พยาบาล” ที่มีจำเป็นในระบบ เตรียมมอบข้อเสนอให้รองนายกฯ พิจารณา

คณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569) โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน จัดประชุมนำเสนอและประชาพิจารณ์การวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพในทศวรรษหน้า เพื่อนำเสนอสถานการณ์และแนวโน้มของระบบสุขภาพ การผลิตกำลังคน รวมถึงการการสังเคราะห์ข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายการวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคต ที่ห้องประชุมสานใจ 1/2 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา 

นพ.ฑินกร โนรี นักวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข และในฐานะคณะทำงานอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ ผู้ศึกษาการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการวางแผนกำลังคนในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569) โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า โลกกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงด้านคามต้องการด้านสุขภาพ ได้แก่ อุบัติการณ์ของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความยากจน อุบัติการณ์ของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ เช่น โรคซาร์ โรคไข้หวัดนก ตลอดจนการเพิ่มของผู้สูงอายุและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ดังนั้นการวางแผนพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขจึงต้องวางแผนกำลังคน เพื่อการกระจายบุคลากรให้เหมาะสมกับความต้องการของระบบสาธารณสุขและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

ผู้วิจัยได้รายงานข้อเสนอเชิงนโยบายจากการสังเคราะห์ข้อมูลว่า ปัญหาความขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ ในประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้า หลายวิชาชีพยังมีความขาดแคลน เช่น พยาบาล เภสัชกร แพทย์แผนไทย เป็นต้น การเร่งผลิตบุคลากรเหล่านี้จึงมีความจำเป็น เพื่อรองรับกับสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนไป ขณะที่วิชาชีพแพทย์และทันตแพทย์ เริ่มมีความพอเพียงและแนวโน้มอาจเกินความต้องการในอนาคต ดังนั้นในการผลิตจึงต้องมีการมีการควบคุมไม่ให้วิชาชีพเกินความต้องการแต่ควรมีการกระจายได้เหมาะสม ส่วนวิชาชีพสาธารณสุข ในปัจจุบันมีการผลิตเกินความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก การเพิ่มการผลิตจึงต้องสอดคล้องกับความต้องการ และปรับสมรรถนะบัณฑิตให้เข้ากับความต้องการของตลาด

ปัญหาด้านการกระจาย พบว่า สถานบริการสาธารณสุขสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคยังคงมีปัญหากระจุกตัวในเมือง ภาครัฐควรใช้มาตรการจัดการกระจายและการคงอยู่ของบุคลากร เช่น การรับ การผลิต และการบริหารจัดการให้บัณฑิตกลับไปทำงานในภูมิลำเนา ตัวอย่างโครงการหนึ่งแพทย์หนึ่งอำเภอ (One District One Doctor : ODOD) โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เป็นต้น รวมไปถึงการใช้ตำแหน่งข้าราชการในการบรรจุในบางสาขาอาชีพที่มีความขาดแคลนและจำเป็นต่อระบบสุขภาพ เช่น วิชาชีพพยาบาล สำหรับการบริหารจัดการควรใช้ Skill Mix ในบางสาขาวิชาชีพ เช่น การพัฒนาทักษะของวิชาชีพแพทย์แผนไทยมาเสริมงานด้านการกายภาพให้กับผู้ป่วยได้ หรือการขาดแคลนพยาบาล ควรผลิตบุคลากรกลุ่มผู้ช่วยพยาบาลเพิ่ม เพื่อช่วยลดภาระในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังได้มีข้อเสนออื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น กำลังคนทางด้านสุขภาพ ในอนาคตควรพัฒนาศักยภาพภาคประชาชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เพราะที่ในหลายๆ พื้นที่มีความเข้มแข็งในการเข้ามาช่วยเสริมภาครัฐด้านการดูแลผู้สูงอายุระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี, เงินค่าตอบแทนกำลังคนวิชาชีพด้านสุขภาพ ไม่ควรมองเฉพาะเงินในระบบที่ได้การจัดสรรมาจากรัฐบาล แต่ควรมองไปถึงแหล่งงบประมาณจากนอกระบบเข้ามาช่วยเสริม เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล, การผลิตบุคลากรแต่ละปี ควรมีการวิเคราะห์ถึงความต้องการของตลาดด้วยว่าเมื่อผลิตออกมาแล้วจะไปไหนต่อ รวมไปถึงการผลิตกำลังคนสุขภาพแต่ละวิชาชีพ เขตบริการสุขภาพแต่ละแห่ง ควรทำแผนความต้องการกำลังคนได้เพราะจะง่ายต่อการกระจายกำลังคน เป็นต้น

นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้มีคณะทำงานทั้ง 16 ชุดวิจัยย่อย ประกอบด้วย กลุ่มที่ทำการศึกษาวิชาชีพแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์/ทันตาภิบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ แพทย์แผนไทย สัตวแพทย์ กายภาพบำบัด สาธารณสุข กลุ่มบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ กลุ่มอุตสาหกรรมยา กลุ่มควบคุมและป้องกันโรค กลุ่มอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยแต่ละกลุ่มได้ศึกษาในการวางแผนกำลังคนของแต่ละสาขาและพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดในอนาคตแล้ว ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นประธาน ในวันที่ 12 กันยายนนี้ ก่อนนำเสนอต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้