4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

มอบ อย.ทำงานร่วม 7 องค์กร เร่งแก้เชื้อดื้อยา

          นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า เป็นการประชุมเพื่อหาทิศทางการทำงานด้านสุขภาพ เน้นในเรื่องการทำงานร่วมกันของทุกองค์กรอย่างบูรณาการ ที่ชัดเจนที่สุดคือการแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ปัญหาหนึ่งของเชื้อดื้อยา และยังเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายด้วยนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหญ่ จะให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเป็นไปได้ยาก ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งขณะนี้องค์กรสุขภาพทั้ง 7 แห่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มอบนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งมีการจัดการการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยมี พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัด สธ. ดูแลเรื่องนี้ และจะมีการทำงานร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล นอกจากนี้แล้วทาง ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน จะจัดทำเป็นคู่มือการดำเนินการให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในวันที่ 1 ตุลาคม 2559


          รมว.สธ.กล่าวอีกว่า เมื่อมีความพร้อมในด้านคู่มือประกอบกับมีแนวทางแล้ว ทาง สธ.จะมีการกำกับดูแลให้โรงพยาบาลดำเนินการตามกรอบต่างๆ นอกจากนี้ในส่วนของ สสส.จะทำหน้าที่ในการรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล แนะนำสรรพคุณว่ายาชนิดไหนมีข้อดีและชนิดไหนมีข้อเสียอย่างไร ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการดำเนินงานในลักษณะการจัดสรรงบประมาณ ขณะเดียวกัน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) จะดูแลในเรื่องมาตรฐานสถานพยาบาล หรือเอชเอ (HA) ซึ่งจะนำเรื่องการใช้ยาอย่างเหมาะสมเป็นเกณฑ์มาตรฐานด้วย รวมไปถึงหน่วยงานวิจัย อย่างสำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จะต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ยาสมเหตุสมผล ยาชนิดใดให้โทษ ไม่สมควรใช้ ต้องมีข้อมูลทั้งหมด ทั้งนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยเป็นนโยบายหนึ่งในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละภาคส่วนจะมีหน้าที่ในการดำเนินการแก้ไขอยู่แล้ว อย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็มีหน้าที่ของตนเอง สิ่งสำคัญที่จะฝากให้ อย.ดำเนินการคือ ต้องทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม เอ็นจีโอต่างๆ ไม่แยกฝ่าย จึงอยากขอความร่วมมือให้มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น เรื่องยาปฏิชีวนะที่มีปัญหา ก็ต้องรวบรวมมาดูและพิจารณา เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ


          นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัช วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เป็นข้อเสนอของหลายหน่วยงานที่ต้องการให้ถอดถอนยาต้านแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) ที่วางจำหน่ายในปัจจุบันออกจากบัญชียา ซึ่งในส่วนของการทบทวนยาประเภทนี้ได้มีการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาสักระยะหนึ่ง แต่การดำเนินงานค่อนข้างล่าช้า จึงเป็นการกระตุ้นเพื่อถอนทะเบียนยาเหล่านั้นให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมอย่างทันท่วงที ซึ่งยาที่เป็นอันตรายจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ ยาที่ใช้ในคนเมือง หรือกรุงเทพมหานคร คือยาอมที่มีส่วนประกอบของสารปฏิชีวนะที่วางจำหน่ายทั่วไป และยาที่ใช้ในชนบทที่มีการซื้อขายกันในร้านชำ มีการซื้อในลักษณะที่ไม่ตรงกับอาการ เช่นต้องการซื้อยาแก้อักเสบ แต่ในความเป็นจริงยาที่ได้ไปกลับเป็นยาปฏิชีวนะ


          นอกจากนี้ ปัญหาดื้อยาที่เกิดขึ้นในชนบทก็เกิดจากการใช้ยาตามกำลังซื้อ ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้มีระยะเวลาสั้น ไม่ต่อเนื่อง ในขณะนี้มียากว่า 40 ตำรับต้องมีการแก้ไขในทะเบียนยา แต่ทั้งนี้ การแก้ไขนั้นไม่ได้มีเพียงมาตรการการถอดออกบัญชียาเท่านั้น แต่จะมีการใช้มาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย ตามแต่ความร้ายแรงมากน้อยของยาแต่ละประเภท เช่น หากมีความรุนแรงมากต้องถอนออกจากบัญชียา หากมีจำนวนของสารปฏิชีวนะในจำนวนที่ไม่มากนักต้องมีการปรับสูตรเพื่อนำสารปฏิชีวนะออกไป นอกจากนี้ในเรื่องของฉลากยาที่บางตำรับอาจมีการบรรยายสรรพคุณเกินจริง หรือมีมานานแล้ว ต้องปรับฉลากยาให้ตรงกับสรรพคุณจริง.

 

แหล่งข้อมูล >> ไทยโพสต์ 28 มิถุนายน 2559

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้