4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

บ้านใจดี: บ้านที่ออกแบบเพื่อมวลชน

     นับตั้งแต่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด อีกทั้งยังมีผู้พิการมากกว่า 2 ล้านคน แต่ผู้สูงอายุและผู้พิการของไทยยังคงขาดความสะดวกสบายในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งที่อยู่อาศัยของตนเอง และอาคารสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุและผู้พิการมีอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวันไม่น้อย และจากปัญหานี้ได้นำไปสู่การนำแนวคิด“การออกแบบเพื่อมวลชน”หรือ Universal Designมาใช้ในการออกแบบสิ่งแวดล้อม สถานที่ และสิ่งของต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานของมวลชน ที่ไม่ว่าจะเป็นใคร เพศหญิงหรือเพศชาย คนปกติหรือคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ป่วยทางกายหรือผู้ป่วยทางจิต  สตรีตั้งครรภ์ หรือแม้กระทั่งคนที่อ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ถูกออกแบบเพื่อมวลชนนั้นได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน เพราะการออกแบบเพื่อมวลชนเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ครอบคลุมสำหรับทุกคน

     และ “บ้านใจดี” คือ อีกหนึ่งตัวอย่างของต้นแบบบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับมวลชน  โดยได้รับการสนับสนุนการคิดค้นจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) สถาบันสร้างเสริมสุขภาพเพื่อคนพิการ (สสพ.) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และกระทรวงมหาดไทยที่ต้องการให้ประเทศไทยมีต้นแบบบ้านที่ได้รับการออกแบบอย่างใส่ใจเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้กระทั่งมวลชนทุกคนได้มีบ้านที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย

หัวใจสำคัญของการออกแบบ “บ้านใจดี”

  1. ที่จอดรถควรเตรียมพื้นที่ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 x6 ม. จัดไว้ใกล้ทางเข้าออกอาคารให้มากที่สุดและไม่ขนานกับทางสัญจรของรถ พื้นต้องมีผิวเรียบและระดับเสมอกัน ไม่ลื่น มีที่ว่างด้านข้างกว้าง 100 ซม. ตลอดความยาวของที่จอดรถสำหรับการขนย้ายผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น
  2. ทางเข้าบ้านควรออกแบบบ้านให้มีทางลาดชัน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. และความลาดชันไม่น้อยกว่า 1:12 มีการแยกสีให้แตกต่างกับผนังกันตก และควรหลีกเลี่ยงการใช้พรม เพราะเป็นอุปสรรคต่อรถเข็น
  3. ประตูบ้าน ควรมีช่องเปิดที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. มีพื้นที่ว่างตอนหน้าและหลัง เพื่อให้เพียงพอสำหรับการสัญจรของรถเข็น ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเปิดผลักเข้าออก ที่เปิด-ปิดประตูควรเป็นแบบก้านโยก แต่ประตูที่ดีสำหรับคนทุกกลุ่ม ควรเป็นบานเลื่อน
  4. บริเวณบ้าน ควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้ เพื่อให้ผู้สูงอายุหรือผู้พิการมีกิจกรรมคลายเหงา และเป็นการสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน เลือกสีโทนร้อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและหลีกเลี่ยงสีโทนเย็น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเทา สีเขียว เพราะไม่เหมาะกับคนสูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว
  5. ห้องนั่งเล่นคือสถานที่ที่ทุกคนในบ้านสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด ดังนั้นความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่างๆ ควรจะถูกจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ระวังไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง เน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท
  6. เคาน์เตอร์ต่าง ๆ ในห้องครัว ต้องมีความสูงและความลึกที่เหมาะสม เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ เคาน์เตอร์ที่ดีต้องสูง 75 ซม. เพื่อให้พอดีกับระดับรถเข็น มีที่ว่างตอนล่างสุทธิ 60 ซม. และมีความลึกไม่น้อยกว่า 40 ซม.
  7. ห้องอาหาร ควรมีพื้นที่กว้าง และตอนล่างของโต๊ะอาหารต้องมีความโล่งให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถร่วม รับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัวได้ รวมทั้งห้องนั่งเล่นต้องคำนึงถึงความสูงของที่นั่ง ตู้ ชั้นวางของต่าง ๆ ควรจัดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเน้นให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท
  8. ห้องนอน การติดตั้งปลั๊กไฟและสวิตช์ ควรมีความสูง 90 ซม. มีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือใกล้หัวเตียง และมีไฟใต้เตียงสำหรับเปิดตอนกลางคืนเพื่อนำทางสู่ห้องน้ำ
  9. ตู้เสื้อผ้า ควรมีความสูงของราวและความลึกของตู้ที่ทุกคนใช้ได้อย่างสะดวก โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งตอนล่างสูง 60 ซม. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นใช้งานได้สะดวก
  10. ห้องน้ำ เป็นจุดสำคัญของบ้าน เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนมากประสบอุบัติเหตุในห้องน้ำอยู่ประจำ ดังนั้นการออกแบบจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ โดยประตูห้องน้ำควรเป็นบานเลื่อน เลี่ยงการทำธรณีประตู เลือกวัสดุที่ไม่ลื่น และมีพื้นที่เพียงพอให้รถเข็นหมุนได้ ระยะที่เหมาะสมคือเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 ซม.เอื้อให้รถเข็นหมุนกลับได้ มีราวจับบริเวณโถส้วม ที่อาบน้ำหรืออ่างอาบน้ำ ติดตั้งสูงจากพื้น 70-80 ซม. อ่างล้างมือควรสูงจากพื้นที่ถึงขอบอ่าง 75-80 ซม. เป็นอ่างล้างมือแบบแขวนหรือแบบเคาน์เตอร์โปร่ง เพื่อให้รถเข็นสอดเข้าไปได้ ก๊อกน้ำควรเป็นคันโยก และควรมีปุ่มกดควรมีสีแดงเพื่อส่งสัญญาณฉุกเฉินขอความช่วยเหลือบริเวณโถส้วมและอ่างน้ำ

            และนับตั้งแต่ต้นแบบบ้านใจดีได้ออกสู่สายตาประชาชนไปในงานสถาปนิค 54 วันที่ 8-13 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา หน่วยงานที่ร่วมมือกันสนับสนุนการออกแบบบ้านใจดีก็ได้ผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่อยอดโครงการ โดยการดำเนินการอบรมสถาปนิคอาสา เพื่อการออกแบบ “บ้านใจดี” และ “อาคารใจดี” ทั่วประเทศกว่า 100,000 แห่ง ภายในระยะเวลา 1-2 ปี สำหรับช่วยเหลือผู้พิการในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายละ 20,000 บาท

            ส่วนบุคคลทั่วไปที่สนใจแบบบ้านใจดีสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่      http://www.healthyability.com/new_version5/detail_new.php?content_id=617

 

                                       

                                       

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้