ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

UC กับ ส่วนร่วมในการลดความยากจนให้คนไทย

     ก่อนที่ประเทศไทยจะมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รายจ่ายด้านสุขภาพเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยจำนวนมากต้องยากจน ทั้งนี้ เพราะ คนไทยต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ในการรักษาอาการเจ็บป่วย คิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 1 ใน 10 ของภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคโดยรวม ซึ่งในสากลถือว่าเป็นเกณฑ์รายจ่ายที่อาจทำให้สิ้นเนื้อประดาตัวได้

     จนกระทั่งในปี 2545 โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้มากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เพื่อไม่ให้คนไทยต้องกลายเป็นคนยากจนเพราะการแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอีกต่อไป

     การวิจัยเรื่อง “การลดความยากจนจากรายจ่ายด้านสุขภาพ:ผลลัพธ์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย”ได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวม 8 ปี ทั้งก่อนและหลังมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนี้

  • ก่อน มีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศึกษาข้อมูลในปี 2539, 2541, 2543 และ 2545
  • หลังมีหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศึกษาข้อมูลในปี  2547, 2549, 2550 และ 2551

      จากการวิเคราะห์โดยใช้ตัวแบบสมการถดถอยเชิงเส้นตรงแบบเป็นช่วง เปรียบเทียบว่าหากไม่มีกับการมีนโยบายนี้ พบว่า ก่อนที่จะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครัวเรือนไทยมากกว่า 200,000 ครัวเรือนที่เคยมีฐานะอยู่ในระดับสูงกว่าเส้นความยากจนของประเทศ ต้องตกมาอยู่ใต้เส้นความยากจน เพราะภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แต่หลังจากที่ประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศแล้ว ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนมีแนวโน้มลดลง จำนวนครัวเรือนที่ต้องตกอยู่ภายใต้เส้นความยากจน เพราะรายจ่ายด้านสุขภาพก็มีจำนวนลดลงตามไปด้วย โดยพบว่าในปี 2551 จำนวนมีครัวเรือนไทยที่ต้องยากจนเพราะภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเหลืออยู่เพียง 80,000 ครัวเรือนเท่านั้น

     สรุปได้ว่า การออกแบบระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยคำนึงถึงทั้งด้าน “ความกว้าง” คือ จำนวนประชากรที่ครอบคลุม และ “ความลึก” คือขอบเขตของสิทธิประโยชน์นั้น มีความสำคัญต่อการป้องกันไม่ให้ครัวเรือนไทยต้องติดกับดักความยากจนเนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย

     การขยายขอบเขตสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ ๆ ที่มีมิติเชิง “ความลึก” ได้แก่ การบริการยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HIV ในปี 2546 และการบริการทดแทนไต (ครอบคลุมการฟอกเลือด ล้างช่องท้อง และผ่าตัดปลูกถ่ายไต) ในปี 2551 ซึ่งทั้งสองโรคเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นภาระหนักสำหรับครอบครัว ได้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดจำนวนครัวเรือนไทยที่ต้องยากจนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว มากกว่าตอนที่ยังไม่มีการขยายขอบเขตสิทธิประโยชน์ในลักษณะเช่นนี้

 

ตารางเปรียบเทียบสัดส่วนร้อยละของจำนวนครัวเรือนที่ยากจนลงเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพ
ในช่วง ปี พ.ศ.2549,2545 และ 2551

 

ตารางเปรียบเทียบระหว่าง
จำนวนครัวเรือนไทยที่ตกอยู่ใต้เส้นความยากจนของประเทศหากไม่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
กับ จำนวนครัวเรือนไทยที่พ้นจากเส้นความยากจนของประเทศเมื่อมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 

                                                                

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้