ข่าว/ความเคลื่อนไหว
สำนักงานคณะกรรมการสุข ภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช. เจาะประเด็น "สงครามการตลาดนมทารกและขนมกรุบกรอบทำเด็กไทยอ้วน?" เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วนในเด็กเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลกระทบในอนาคตไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของผู้บริโภคที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคไต รวมถึงส่งผลกระทบต่องบประมาณทางด้านสา ธารณสุขที่ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2552 เรื่องการแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักหรือโรคอ้วน ได้ยกร่างแผนยุทธศาสตร์เสนอเข้า ครม. เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผน โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธาราดล รองปลัดกระ ทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้ และต้องดำเนินการเรื่องมาตรฐานการให้สีสัญญาณในอาหารและขนมเด็กพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาล หรือโซเดียม มาตรการทางภาษีและราคาของอาหารควบคู่กันไปด้วย
เลขาธิการ สช.กล่าวต่อว่า สำหรับ การควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก สมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้มอบหมายให้ สธ. เอาจริงเอาจังกับการควบคุมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก และเร่งให้ออกกฎหมายว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กเป็นการเฉพาะให้แล้วเสร็จในปี 2555 รวมทั้งเสนอให้กระทรวงแรงงานและกรมบัญชีกลางร่วมกันพิ จารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขยายสิทธิการคลอดที่มีอยู่ออกไปเป็น 180 วัน โดยได้ค่าจ้างเช่นเดิมด้วย
ด้าน พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขานุการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประ เทศไทย กล่าวถึงปัญหาการเลี้ยงทารก ด้วยนมแม่ว่า ตามหลักการของสากลจะห้ามโฆษณาหรือทำการตลาดนม ผงเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายหรือ ข้อบังคับโดยตรงจึงให้ทำตามหลักเกณฑ์ของ สธ. ห้ามไม่ให้โฆษณาและ ทำการตลาดนมเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบเท่านั้น ขณะที่บริษัทผู้จำหน่ายนมผงได้พัฒนารูปแบบการตลาดโดย การแจกตัวอย่างนมผงตามโรงพยาบาล ต่างๆ หรือแจกยังเทศบาลที่แม่เด็กสา มารถแจ้งเกิดได้ หรือแจกที่สำนักงานประกันสุขภาพ ชุมชน และสถานประ กอบการ โดยเฉพาะโรงงานซึ่งจะมีหญิงตั้งครรภ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเราไม่อนุญาตให้ทำการตลาดโดยติดต่อโดยตรงกับแม่และหญิงตั้งครรภ์ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม
ขณะที่นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านโภชนาการ กล่าวว่า จากสถิติที่สำรวจพบว่า อัตราการเลี้ยงทารกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนของไทย ที่เคยน้อยที่สุดในเอเชียแต่เริ่มดีขึ้นภายหลังมีรณรงค์ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น ตนขอเสนอผลักดันให้ออกกฎหมายให้แม่สามารถลาคลอดได้นานกว่า 3 เดือน รวมถึงกฎหมายที่อนุญาตให้สามีลาคลอดตามภรรยาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้กฎหมายดังกล่าวได้ผ่าน ครม.เรียบร้อยแล้ว
ส่วนขนมกรุบกรอบของเด็กอยากให้เร่งดำเนินการจัดทำบาร์โค้ดแบบสัญญาณไฟจราจร แต่อาจจะทำ ได้ยาก เพราะผู้ประกอบการจะไม่ยิน ยอม รวมถึงหามาตรการทำให้อาหาร นม และขนมมีคุณค่าทางอาหาร เช่น นมสำหรับเด็กต้องเป็นนมจืด และป้องกันไม่ให้ใช้อาหารสำเร็จรูปสำหรับทารก โดยอาจจะต้องอบรมให้ความรู้แก่แม่ และอบรมพี่เลี้ยงในศูนย์เลี้ยงเด็กด้วย
ทั้งนี้ จากสถิติการทานขนมกรุบกรอบพบว่า เด็กทานอาหารประเภทนี้ประมาณปีละ 49.6% ในจำนวนนี้นักโภชนาการให้การยอมรับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียง 18 ถุง จาก 100 ถุงเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าภายในระยะเวลา 3 ปี เด็ก เยาวชน กินขนมกรุบกรอบเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าคิดเป็นมูลค่าปีละ 1 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธาราดล รองปลัด สธ. ได้กล่าวถึงกรณีการออกกฎหมายการลาคลอดเพิ่มเติมว่า เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้ว อยากให้แม่สามารถลาคลอดได้มาก กว่า 3 เดือน เพื่อมีเวลาดูแลและให้นมบุตร แต่อาจเป็นไปได้ยากจนกว่าจะมีการยกระดับไปอีกระดับหนึ่งเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ โดยยังได้รับเงินเดือนเต็มอัตรา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน.
ที่มา : ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้