4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สนช.ห่วงภาวะอ้วนลงพุง ต้นเหตุโรคเรื้อรัง เปิดเวทีระดมแนวทางแก้ปัญหา

ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ปี 2552 ซึ่งเป็นการสำรวจประชาชนไทยในทุกๆ 5 ปี โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนมากกว่า 1 ใน 3 โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบในประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชนเมืองมากกว่านอกเขตชุมชนเมือง

            ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ที่รวมไปถึงภาวะอ้วนลงพุงด้วยนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนา การรับประทานอาหารเกินความต้องการ ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียด สูบบุหรี่และดื่มสุราเพิ่มขึ้น จากรับประทานอาหารเกินความต้องการ ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

            รายงานการศึกษายังระบุด้วยว่า “โรคอ้วนลงพุง” เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือดมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยวันละ 236 คน หรือชั่วโมงละ 10 คน ที่สำคัญโรคดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมากเมื่อเทียบกับโรคอื่น ดังนั้น จึงควรมีมาตรการควบคุม ป้องกันโรคอ้วนลงพุง ภาวะแทรกซ้อน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

            เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงได้ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมนวัตกรรมการแพทย์และสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จัดการสัมมนา เรื่อง “แนวทางการบูรณาการงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นประธานเปิดการสัมมนา และกล่าวรายงานโดย นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช. และได้รับเกียรติจาก พญ.มยุรา กุสุมภ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมปาฐกถาพิเศษ

 

 

            นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขโรคอ้วนลงพุง ภาวะแทรกซ้อน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชากรเขตชุมชนเมือง รวมถึงแสวงหาแนวทางและมาตรการ ตลอดจนความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์

            ทั้งยังเป็นเวทีให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนลงพุงภาวะแทรกซ้อนรวมถึงหามาตรการให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เนื่องจากการสำรวจสุขภาพของประชาชนคนไทย พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง มีแนวโน้มต่อภาวะโรคอ้วนลงพุงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ควรหาแนวทางป้องกันและแก้ไขเพื่อสร้างสุขภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

             นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขเป้าหมายหนึ่ง คือ เน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วย แล้วจึงมารักษา จุดเน้นในการทำงาน คือ พัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยให้คนไทยมีโอกาสได้ ร่วมคิด ร่วมนำ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบด้วย เป็นการอภิบาลแบบเครือข่าย เอื้ออำนวยระบบสุขภาพแห่งชาติ เชื่อมประสานทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ตามนโยบายของ รมว.สธ. ซึ่งจุดแข็งของ สธ. คือ มีหน่วยงานในสังกัดระดับภูมิภาคทั่วประเทศและการมีเครือข่ายในพื้นที่

            สำหรับเป้าหมาย สธ. มีแนวทางการดำเนินงานตามองค์การอนามัยโรค คือ ลดตายก่อนวัยอันควรจากโรค NCDs 25% การบริการคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงให้ได้ 90% ของพื้นที่ เมื่อพบว่าป่วยแล้ว ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับยาและเทคโนโลยีที่จำเป็นครอบคลุม 80%  ส่วนแนวทางการป้องกัน ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการบริโภคยาสูบ  ลดการบริโภคเกลือ/โซเดียม เน้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็นต้น

            จากนั้นเป็นการอภิปรายในหัวข้อ “แนวทางการบูรณาการงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกรุงเทพมหานคร” โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จากกรมอนามัย สวรส. กทม. และผู้เชี่ยวชาญทางการกีฬา ดำเนินการอภิปรายโดย นพ.ฆนัท ครุฑกูล คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

            นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยมีมาตรการสำคัญเพื่อส่งเสริมให้คนไทยไร้พุง ลดเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบด้วย 1) การสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เช่น องค์กรต้นแบบไร้พุง หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ เป็นต้น 2) การจัดการแวดล้อมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง/เอื้อต่อสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกฎหมาย/กฎระเบียบ เช่น ระบบเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ หรือเมนูไร้พุง/เมนูชูสุขภาพ เป็นต้น 3) การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เช่น คลินิกไร้พุงคุณภาพ หรือคลินิก NCD คุณภาพซึ่งก็คือคลินิกที่บริหารจัดการและดาเนินงานคลินิกให้เกิดกระบวนการจัดการโรคเรื้อรัง เป็นต้น

            และ 4) การสื่อสารและการสร้างกระแสด้านโภชนาการ เช่น การรณรงค์ หรือการเยี่ยมบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมให้เกิดบริโภคนิสัยที่ดีในทารกเด็กเล็กและวัยเรียน พัฒนาคุณภาพการบริการในสถานบริการ บังคับใช้กฎหมาย และสื่อสารสาธารณะ

            นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวว่า เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญที่เชื่อว่าทุกหน่วยงานต่างมียุทธศาสตร์และความตั้งใจในการแก้ไข อย่างไรก็ดี การสร้างองค์ความรู้ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการทำงาน ฉะนั้นเมื่อทุกหน่วยงานมีการนำนโยบาย หรือมาตรการ หรือการกำหนดแนวทาง ไปดำเนินงานต่างๆ ก็ควรมีการวิจัยศึกษาไปพร้อมกับการปฏิบัติงานด้วย (Implementation research) เพื่อจะได้มอนิเตอร์ว่าหลังจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีผลลัพธ์ออกมาเป็นเช่นไร มีจุดปรับปรุงหรือเสนอแนะตรงไหน ทั้งนี้ เพื่อการเดินหน้าการทำงานกันต่อไปได้ถูกทิศทาง

            สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการศึกษาสถานการณ์โรคอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยนักวิจัยจาก สวรส. และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ชี้ว่า รัฐบาลควรส่งเสริมและรณรงค์ในการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐในส่วนของ สธ. และในส่วนของ กทม. ในการป้องกันโรค พร้อมให้หน่วยงานคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล หรือหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำการประเมินติดตามเกี่ยวกับปัจจัยของภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรของโรงพยาบาล สาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ระดับชุมชน เป็นต้น

            ทางด้าน นพ.วินทร์ ศิรินาค รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า การดำเนินงานป้องกันโรคอ้วนของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีการแบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านอาหาร มีมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนกรุงเทพมหานคร มีโครงการ สนอ. ร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพผู้ขับขี่สาธารณะ โครงการวัยทางานสดใส ใส่ใจสุขภาพ หรือโครงการ สนอ. ร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งจัดทาสื่อรณรงค์ป้องกันปัญหาโรคอ้วน 2) ด้านการออกกาลังกาย กรุงเทพมหานครมีศูนย์เยาวชน 38 แห่ง ศูนย์กีฬา 12 แห่ง และสวนสาธารณะ 34 แห่ง เพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสาหรับใช้ออกกาลังกาย 3) ด้านอารมณ์ มีการจัดกิจกรรมอบรมฝึกคลายเครียดโดยวิธีหัวเราะบำบัด ทั้งนี้ จุดมุ่งหมายของกรุงเทพมหานคร คือ การทำให้พี่น้องประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพ

            ผช.ดร.เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ ผอ.ศูนย์ทดสอบและวิจัยอุปกรณ์ทางการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอแนวทางการออกกาลังกายสำหรับผู้มีปัญหาโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อ ว่า อันดับแรกคือ ต้องมีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องมีผู้ที่เข้าใจถึงวิธีการออกกาลังกายที่ถูกต้องเป็นผู้ให้คาอธิบาย ซึ่งหลักของการออกกาลังกายที่ถูกต้องเพื่อลดน้ำหนัก คือ 1) เหนื่อย ให้พอดี 2) เหนื่อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 3) เหนื่อย ต่อเนื่อง 30 นาที โดยอาจหากิจกรรมที่เหมาะสมซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใช้แรงกระแทกน้อย เช่น การเดิน หรือว่ายน้า หรือใช้อุปกรณ์ออกกาลังกาย อาทิ ม้าโยก หรือจักรยาน ก็ได้

            ภายหลังจากการอภิปรายได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ในประเด็น 1.แนวทางการจัดการปัญหาโรคอ้วนลงพุงและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตชุมชนเมือง 2.แนวทางการบูรณาการเชิงพื้นที่และมาตรการด้านกฎหมายเพื่อจัดการปัญหาโรคอ้วนเรื้อรังในเขตชุมชนเมือง และ 3.แนวทางการสื่อสารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสู่ประชาชน  

            ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะได้รวบรวมประเด็นสำคัญที่ได้รับจากการสัมมนา จัดทำเป็นรายงานนำเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐบาลเพื่อดำเนินการต่อไป

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้