4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

พบ5ปัจจัยที่ทำให้เด็กท้องผูก

          พญ.พัชร เกียรติสารพิภพ กุมารแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า การที่เราจะสังเกตลูกว่ามีอาการท้องผูกหรือไม่นั้นดูได้จากความถี่ของการถ่ายอุจจาระ ถ้าน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์หรืออาจถ่ายอุจจาระทุกวันแต่ต้องเบ่งมากและอุจจาระแข็ง อาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่และแข็งมากทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะเบ่งถ่ายบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งเด็กอาจมีอาการท้องผูกได้ทุกช่วงวัย พบมากที่สุดคืออายุ 6 เดือนถึง 4 ปี มีสาเหตุแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน การท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่
          1.เด็กเปลี่ยนจากนมแม่หรือนมวัวดัดแปลงมาเป็นนมวัวธรรมดาอาจเกิดท้องผูกได้ เนื่องจากนมวัวมีอัตราส่วนของโปรตีนต่อคาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมแม่
          2.เด็กที่ดื่มน้ำน้อยหรือสูญเสียน้ำมากจากอากาศที่ร้อนหรือเป็นไข้ อุจจาระจึงมีลักษณะที่แข็งขึ้นทำให้ขับถ่ายลำบาก
          3.เด็กไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้4.สาเหตุที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาลคือ เด็กห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย
          5.เด็กที่ถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไปยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง หรือเด็กที่มีความกังวลเกี่ยวกับการขับถ่าย ทำให้เกิดความเครียดและมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและพ่อแม่ผู้ปกครอง
          แต่ยังมีเด็กส่วนหนึ่งที่มีอาการท้องผูกจากโรคทางกายอื่นๆ เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคเกี่ยวกับประสาทไขสันหลัง โรคต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย ภาวะผิดปกติของเกลือแร่แคลเซียมและโปตัสเซียม หรือผลข้างเคียงจากยาบางอย่างเป็นต้น

          พญ.พัชร กล่าวว่า วิธีการป้องกันและดูแลเบื้องต้นสำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกบ่อย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อาหาร ควรเลือกรักรับประทานอาหารที่มีเส้นใยและการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ส่วนที่ 2 การฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เด็กถ่ายอุจจาระทันทีที่มีความรู้สึกอยากถ่าย ควรฝึกให้นั่งถ่าย 10-15 นาทีทุกวันในเวลาเดิม โดยเวลาที่เหมาะสมคือหลังเวลาอาหาร เพราะจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวและช่วยให้ก้อน
          อุจจาระเลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น ควรกล่าวชมเชย เพื่อให้ลูกมีความตั้งใจที่จะฝึกขับถ่ายให้สม่ำ เสมอต่อไปส่วนยาระบายควรปรึกษาแพทย์ว่าจะใช้ยาชนิดไหนและอย่างไร ไม่ควรซื้อยาระบายหรือยาสวนมาใช้เองเพราะเป็นการรักษาที่ไม่ถูกต้องจะทำให้อาการแย่ลง ที่สำคัญจะทำให้เด็กไม่ได้รับการตรวจเพื่อหาโรคทางกายที่อาจพบร่วม
          อย่างไรก็ตามหากพบภาวะที่ เด็กถ่ายอุจจาระเล็ด เลอะเทอะกางเกง จะทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการขับถ่ายเรื้อรัง อุจจาระจับเป็นก้อนแข็งขนาดใหญ่มากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการอุดตันได้ การเบ่งอุจจาระมากๆ ทำให้เกิดรอยฉีกบริเวณทวารหนักและมีเลือดออก การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาจสัมพันธ์กับภาวะท้องผูกเรื้อรัง มีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน รับประทานอาหารน้อยและมีการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักน้อย ควรรีบนำส่งแพทย์ทันทีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเด็กอาจเกิดอันตรายได้

ที่มา :หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ 24 - 27 เมษายน พ.ศ. 2558 หน้า 14

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้