ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

เรื่องเชื่อ เรื่องจริง “กลูโคซามีน”

จาก วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นมา ข้าราชการและผู้มีสิทธิไม่สามารถเบิกจ่ายยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดข้อ หรือยาบางตัวในกลุ่มกลูโคซามีน คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ “ทำไม อะไร อย่างไร กับ กลูโคซามีน”
     กลูโคซามีน เป็น ที่นิยมใช้ในประเทศไทยมาก ทั้งการซื้อใช้เองโดยประชาชนและการจ่ายเป็นยาให้กับผู้ป่วย โดยมีมูลค่าการใช้ในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการประมาณปีละ 600 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีแม้จะถูกจัดเป็นรายการยานอกบัญชียาหลักแห่ง ชาติ และเกิดข้อคำถามเกี่ยวกับ ประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการใช้ยากลุ่มดังกล่าว
จากการที่ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 4.659 หมื่นล้านบาทในปี 2553 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในระยะเวลาไม่ถึง 5 ปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 ให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังต้องดำเนินการควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่ายาในบริการผู้ป่วย นอก ในการนี้ กรมบัญชีกลางจึงพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์เพื่อพัฒนาข้อ เสนอในการควบคุมให้มีการใช้ยากลุ่มที่มีราคาแพงและมีมูลค่าการใช้สูงให้ เป็นไปอย่างเหมาะสมและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และมอบหมายให้สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทำการเฝ้าระวังการใช้กลุ่มยาที่อาจมีการใช้อย่างไม่เหมาะสมและมีมูลค่าการ เบิกจ่ายสูง นำเสนอกลุ่มยาที่ควรต้องทบทวนเงื่อนไขการเบิกจ่ายต่อคณะทำงานวิชาการฯ และได้เสนอรายการยา 9 กลุ่มที่เข้าข่ายดังกล่าว และในการนี้ได้เลือก กลูโคซามีน เป็นกลุ่มแรกในการเสนอมาตรการในการควบคุมด้วยเหตุผลหลักคือ ขาดความชัดเจนในประสิทธิผลและความคุ้มค่า
     เพื่อสืบค้นข้อเท็จจริง สวปก. ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ทบทวนเอกสารงานวิจัยมากกว่า 130 ฉบับ และคัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงได้จำนวน 24 ฉบับมาทำการทบทวนประสิทธิผลและความคุ้มค่าของยากลุ่มดังกล่าว และผลการทบทวนสรุปได้ว่า “กลูโคซามีนมีประสิทธิผลไม่ต่างจากยาหลอกและไม่คุ้มค่าในการใช้” เพื่อ ความโปร่งใสและฟังความรอบด้าน คณะทำงานได้จัดส่งผลการทบทวนดังกล่าวให้ ราชวิทยาลัย สมาคม และมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้อ รวมทั้ง สมาคมผู้ผลิตและจำหน่าย เพื่อให้ความเห็นต่อข้อเสนอดังกล่าวตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ต่อมาได้รับหนังสือและข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 แห่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่ส่งมาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อสรุปของคณะทำงานวิชาการฯ ได้ คณะทำงานวิชาการฯ จึงได้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้มีมติให้ยกเลิกการเบิกจ่ายยากลุ่มดังกล่าว 
“สิทธิ” และ “ความคุ้มค่า” ในการใช้เงินภาครัฐ
     มีข้อโต้แย้งจากฝ่ายที่เคยได้รับประโยชน์ว่า การยกเลิกการเบิกจ่าย “กลูโคซามีน” เป็น การลิดรอนสิทธิข้าราชการ ประเด็นนี้คงต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าการยกเลิกดังกล่าวเป็นการลิดรอนสิทธิ หรือไม่
ประการแรก หลักฐานเชิงประจักษ์จากทั่วโลกบ่ง ชี้ชัดว่า กูลโคซามีนไม่มีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างที่หลายท่านเชื่อ กัน ดังนั้นการยกเลิกการเบิกจ่ายยากลุ่มนี้จึงไม่ถือเป็นการลิดรอนสิทธิ เนื่องจากไม่ว่าจะใช้ยากลุ่มนี้หรือไม่ มิได้มีผลต่อการรักษาข้อเข่าเสื่อมแต่อย่างใด
ประการที่สอง ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการใช้จ่าย เงินงบประมาณ ซึ่งจัดเก็บมาจากภาษีอากรที่ประชาชนทุกคนเป็นคนจ่าย ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายและความเป็นธรรมจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึง ถึงในการใช้จ่าย ในเมื่อหลักฐานเชิงประจักษ์บ่งชี้ว่ายากลุ่มดังกล่าวไม่มีประสิทธิผลในการ รักษา การยังคงให้มีการเบิกจ่ายยากลุ่มดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการใช้จ่ายเงินอย่าง ไม่คุ้มค่า เพราะผลตอบแทนด้านสุขภาพของผู้ใช้ยาดังกล่าวในภาพรวมมิได้ดีขึ้นแต่อย่างใด
ประการที่สาม ในปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศในกลุ่มประเทศที่ร่ำรวย เช่น สหราชอาณาจักร สกอตแลนด์ สวีเดน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น รวมถึงกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา หรือเพื่อนบ้านเราอย่างมาเลเซีย ต่างไม่อนุญาตให้มีการเบิกจ่ายยาในกลุ่มนี้ ให้กับผู้ป่วยในระบบสวัสดิการของตน เนื่องด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ขาดประสิทธิผล และไม่มีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงินภาครัฐหรือระบบประกันสุขภาพของประเทศ
     ที่นำเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อให้เพื่อนข้าราชการ และท่านผู้อ่านได้รับทราบว่า กว่าที่จะมีการดำเนินการยกเลิกการเบิกจ่ายกลูโคซามีนนั้น มีขั้นตอนและวิธีการทำงานที่มีความละเอียด รอบคอบ เป็นกระบวนการที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลต่อผู้รับสวัสดิการได้รับความคุ้มครองด้านสุขภาพจากการใช้ยา ที่ไม่สมเหตุผล และเกิดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งในการที่เราจะร่วมกัน เพื่อช่วยประเทศชาติให้เกิดความคุ้มค่าและใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูง สุด


 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้