4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ชง2แนวทางปฏิรูปค่ารักษาพยาบาลคลังไฟเขียวขรก."แอดมิต"รพ.เอกชน


           ข้าราชการเฮ เจ็บป่วยหลังปีใหม่ เข้า"แอดมิต" โรงพยาบาลเอกชนได้ กรมบัญชีกลางเสนอปฏิรูปค่ารักษาพยาบาล ขรก. แก้ปัญหางบฯบานปลาย 2 แนวทาง ชงขุนคลังเคาะเลือกตั้งกองทุนออมเพื่อสุขภาพ หรือทำประกันสุขภาพให้ข้าราชการต้นปีหน้าจ้าง สวรส. ตรวจเอกสารประกอบฎีกาเบิกเงิน

          พบหมอจ่ายยาฟุ่มเฟือย สั่งโรงพยาบาลคืนเงิน 30 ล้านบาท พร้อมจับข้าราชการ 8 ราย เบิกค่ายาเกินจริง ดำเนินคดีอาญา นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางในการควบคุมการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลว่า ในระยะสั้น กรมบัญชีกลางได้ดำเนินมาตรการเป็น 3 แนวทางได้แก่ 1) การนำระบบแบ่งกลุ่มผู้ป่วยแบบ DRG (Diagnosis related groups) มาใช้ในการกำหนดวงเงินในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลแบ่งตามกลุ่มวินิจฉัยโรค ร่วม 2) ออกระเบียบกำหนดให้โรงพยาบาลจ่ายยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ หากจ่ายยานอกบัญชียาหลักฯ จะต้องมีแพทย์รับรอง 3)จ้างสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุขเข้าไปตรวจสอบเอกสารที่โรงพยาบาลส่งมาประกอบการเบิกเงินค่า รักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง

          ทั้งนี้ เนื่องจากกรมบัญชีกลางไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ จึงต้องไปว่าจ้าง สวรส. เข้ามาตรวจสอบเอกสารขอเบิกเงิน ซึ่งผลการตรวจสอบที่ผ่านมา พบว่ามีหลายโรงพยาบาลมีการจ่ายยาซ้ำซ้อน จ่ายยาเกินความจำเป็น และจ่ายยาไม่ตรงตามการวินิจฉัยของแพทย์ ดังนั้น ทาง สวรส.จึง เสนอให้กรมบัญชีกลางเรียกเงินคืนจากโรงพยาบาล ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 เรียกเงินคืนมาได้เกือบ 30 ล้านบาท และในบางปีเคยเรียกเงินคืนสูงสุดถึง 50 ล้านบาท เท่าที่ทราบโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้เอง แต่ก็มีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหมบางแห่งให้แพทย์เป็นผู้รับผิดชอบ

          ชง 2 ทางเลือกปฏิรูปค่ารักษาพยาบาล
          นายรังสรรค์ กล่าวต่อไปอีกว่า หลังจากที่ได้มีการหารือกับสมาคมประกันชีวิตไทยและสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย(TRDI) เกี่ยวกับการปฏิรูประบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัว หลักๆ จะมีอยู่ 2 แนวทางคือ 1) จัดตั้งกองทุนการออมเพื่อสุขภาพ(Medisave) กับ 2) ดึงบริษัทประกันชีวิตเข้ามาทำประกันสุขภาพให้กับข้าราชการและครอบครัว ซึ่งทั้ง 2 แนวทางจะต้องอยู่ภายใต้หลักการที่ว่าจะต้องไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่ข้า ราชการเคยได้รับลดน้อยลงไปกว่าสิทธิเดิม และสามารถควบคุมการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนด ไว้ในเอกสารงบประมาณด้วย โดยกรมบัญชีกลางจะต้องเร่งหาข้อสรุป เพื่อเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาตัดสินใจในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่มีการจัดทำงบประมาณปี 2555

          "การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ที่ผ่านมามีปัญหาเบิกกันเกินกว่างบประมาณที่ได้รับทุกปี อย่างในปีงบประมาณ 53 ตั้งงบฯไว้แค่ 48,500 ล้านบาทแต่เบิกจ่ายจริงถึง 62,190 ล้านบาท ส่วนที่เบิกเกินไป 13,690 ล้านบาท ก็จะต้องไปยืมเงินคงคลังออกมาใช้ก่อน และต้องไปตั้งงบฯ มาชดเชยในปีถัดไป ส่วนในปีงบประมาณ 2554 ตั้งงบฯไว้ 61,000 ล้านบาท ยังไม่รู้ว่ายอดการเบิกจ่ายจริงจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ดังนั้นหากไม่เข้าไปวาง ระบบให้ดี การเบิกจ่ายงบฯในส่วนนี้ ก็อาจจะบานปลายต่อไปเรื่อย ๆ" นายรังสรรค์กล่าว

          นายรังสรรค์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับข้อเสนอของทาง TDRI ให้มีการจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อสุขภาพ (Medisave) เหมือนกับประเทศสิงคโปร์เป็นแนวทางที่ดี แต่คงต้องทำควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการทั้งระบบด้วย เพราะจะต้องมีการหักเงินเดือนส่วนหนึ่งสมทบเข้ากองทุนฯ ส่วนการดึงบริษัทประกันชีวิตเข้ามาทำประกันสุขภาพให้กับข้าราชการและครอบ ครัว ข้อดี คือรัฐบาลจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้บานปลายได้ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลจะจัดสรรงบฯมาเป็นค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการปีละ ประมาณ 60,000 ล้านบาทอยู่แล้ว ก็อาจจะนำงบฯในส่วนนี้มาจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันแทน โดยบริษัทประกันชีวิตจะเข้ามารับความเสี่ยงแทนรัฐบาล ในกรณีที่มีการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงเกินกว่างบฯที่ตั้งไว้ แต่ถ้าบริษัทประกันฯเข้ามาบริหารจัดการได้ดีและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ ให้สูงเกินกว่าค่าเบี้ยที่ได้รับก็จะมีกำไร

          "ปัจจุบันมีข้าราชการและครอบครัวที่ได้รับสิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ประมาณ 4.5 ล้านคน หากจะให้บริษัทประกันรายหนึ่งรายใดเข้ามารับงานนี้ คงจะทำไม่ไหว ถ้าจะทำ คงต้องเปิดให้หลายรายเข้ามาทำร่วมกัน(Pool) และจะต้องมีบริษัทประกันชีวิตสัญชาติไทยเข้าร่วมประมูลด้วย นอกจากจะทำประกันสุขภาพให้กับข้าราชการแล้ว ยังจะต้องเข้ามาช่วยรัฐบาลวางระบบเทคโนโลยีบริหารและควบคุมการเบิกจ่ายเงิน ค่ารักษาพยาบาลด้วย ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้มีการนำระบบ Medisave มาใช้กับข้าราชการที่บรรจุใหม่ คงจะไม่เวิร์ก เพราะนโยบายตรึงกำลังพล ทำให้ข้าราชการเข้าใหม่มีจำนวนน้อยเกินไป" นายรังสรรค์กล่าว

          ส่วนเรื่องการขยายสิทธิให้ข้าราชการสามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เอกชน ในระยะแรกจะเปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยในก่อน ล่าสุดมีโรงพยาบาลเอกชน80 แห่งยื่นใบสมัครขอเข้าร่วมโครงการนี้มาแล้ว ซึ่งตามเป้าหมายจะคัดให้เหลือเพียง50 แห่งเท่านั้น แต่ตอนนี้มีโรงพยาบาลเอกชนผ่านการคัดเลือกแล้วแค่ 2 แห่ง

          สาเหตุที่ช้าเพราะจะต้องมีการทดสอบระบบออนไลน์ ข้อมูลในหลายด้าน อาทิข้อมูลของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลจะต้องส่งมาให้กรมบัญชีกลางขออนุมัติ ผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง การเบิกยา และทดสอบระบบการชำระเงิน ซึ่งตามแผนงาน ทางกรมบัญชีกลางจะให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มอบเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับข้าราชการในวันปีใหม่ หลังจากนั้นทางกรมบัญชีกลางจะเริ่มทยอยลงนามในสัญญาความร่วมมือกับโรงพยาบาล เอกชนจับ ขรก.เวียนเทียนเบิกค่ายา

          นอกจากนี้ ทาง สวรส.ยังมีการสุ่มตรวจข้าราชการที่เข้ารับการรักษาพยาบาล พบว่ามีอยู่ประมาณ 8 ราย เบิกจ่ายยาไปรายละ 1-3 ล้านบาท ซึ่ง สวรส.คำนวณ แล้วหากรับประทานยาหมดจะมีผลทำให้ไตวายหรือเสียชีวิตได้ จึงส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เข้าไปตรวจสอบและขยายผลการสืบสวน พบว่ามีอยู่ 1 ราย ไปเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 แห่งและมีการเบิกค่ารักษาพยาบาลและค่ายารวมกันแห่งละ 4-5 แสนบาท โดยที่แพทย์ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลได้ ซึ่งกรณีนี้ ป.ป.ท.ได้ร่วมกับโรงพยาบาลลพบุรีทำสำนวนส่งฟ้องศาลอาญาไปแล้ว แต่เนื่องจากจำเลยได้ให้การรับสารภาพทั้งหมด และเป็นการกระทำความผิดเป็นครั้งแรก ศาลอาญาจึงพิพากษาให้รอลงอาญาไว้ก่อน

          แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหารายนี้ยังไปเบิกค่ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลอีก2 แห่ง ซึ่งเรื่องยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาล หากศาลตัดสินว่ามีความผิดจริงอีกครั้งจะถูกลงโทษทันที ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออีก 7 ราย ตอนนี้ทาง ป.ป.ท.กำลังเร่งทำสำนวนส่งฟ้องศาล

          นอกจากนี้ ทาง สวรส.ยังตรวจพบว่ามีการลงโฆษณา รับซื้อยาให้ราคาสูงผ่านเว็บไซต์ จึงส่งเรื่องให้ ป.ป.ท.ไปตรวจสอบพบว่า เป็นการรับซื้อยาจากผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไป ซึ่งในบางกรณีรับประทานยาไปแล้วแพ้ หรือยาเหลือไม่สะดวกที่จะนำไปคืนให้กับโรงพยาบาล ก็จะนำมาขายให้กับผู้ที่รับซื้อทางอินเทอร์เน็ตหรือร้านขายยาทั่วไป แต่ยาที่นำมาขายจะต้องอยู่ในกล่องบรรจุที่ดีและไม่เป็นยาที่หมดอายุ กรณีจึงไม่สามารถดำเนินคดีใด ๆกับผู้ที่รับซื้อได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หน้า 1

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้