4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พ.ร.บ.วิจัยสุขภาพ

          สวรส. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ... เพื่อพัฒนาร่างกฎหมายสู่การปฏิรูประบบวิจัยสุขภาพ พร้อม Reform สวรส. สู่บทบาทที่ครอบคลุมทุกมิติงานวิจัยด้านสุขภาพของประเทศ ตลอดจนการทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพที่บูรณาการทั้งด้านนโยบาย แหล่งทุนวจัย การพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการประเมินผล

          ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ในฐานะประธานกรรมการพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี กรรมการฯ พร้อมด้วย นพ.ภูษิต ประคองสาย รักษาการผู้อำนวยการ สวรส. ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สวรส. อ.ไพศาล ลิ้มสถิตย์ และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมดังกล่าว

          นพ.ภูษิต ประคองสาย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ จะเป็นร่างที่จะขยายขอบเขตการทำงานของ สวรส. ให้ครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม - วัฒนธรรม รวมทั้งการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ซึ่งการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในครั้งนี้จะช่วยให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

          ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อขอคำแนะนำ ความคิดเห็นต่างๆต่อ ร่างพรบ. เพื่อให้ประเทศไทยมีหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยเพื่อสุขภาพอย่างครบทุกด้าน เพราะเดิมที่ สวรส. ทำงานทั้งสนับสนุนและวิจัยเองทางด้านระบบสุขภาพเท่านั้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องหรือครอบคลุมกับด้านวิจัย Basic วิจัยผลิตภัณฑ์และด้านคลินิก เป็นต้น

          โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) พ.ร.บ.ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ แบ่งเป็น 3 หมวด ดังนี้

  • หมวด 1 คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ
  • หมวด 2 คณะกรรมการติดตามประเมินผลการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ
  • หมวด 3 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ

          ส่วนความคาดหวังของการปฏิรูประบบวิจัยสุขภาพครั้งนี้ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ งานวิจัยสุขภาพที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพซึ่งจะช่วยสร้างรายได้และความมั่นคงด้านสุขภาพให้แก่ประเทศ รวมถึงเกิดการสร้างนักวิจัยที่เป็นบุคลากรสำคัญของการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้