4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ยาเบาหวานอันตราย2เด้ง

สวปก. แนะใช้ยาในบัญชีหลัก สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย เผย ยา "โรสิกลีตาโซน" รักษาเบาหวานนอกบัญชียาหลักสุดอันตราย เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย อยู่ระหว่างเพิกถอน เตือนผู้ใช้ยาแพงใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป แนะใช้ยาในบัญชีดีและถูกกว่า

          นพ.สัมฤทธิ์  ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยว่า ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2553 พบผู้ป่วยที่ใช้สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้รับยานอกบัญชียาหลักแห่ง ชาติ จากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 28 แห่งคิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ยาเหล่านี้เป็นยาใหม่ ที่มีราคาแพงและอาจไม่มีหลักฐานเรื่องความปลอดภัยในการใช้ระยะยาว โดยข้อมูลล่าสุดระบุว่า ร้อยละ 3.4 ของข้าราชการที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ได้รับยาโรสิกลีตาโซน(Rosiglitazone) ซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่กำลังจะถูกถอนทะเบียนจากสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากมีข้อมูลว่าทำให้เกิดกล้ามเนื้อ หัวใจตาย และกระดูกหักง่าย จึงอยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ยาใหม่ราคาแพงไม่ได้หมายความว่าจะดีและปลอดภัยเสมอไป ปัจจุบันมียาในกลุ่มเดียวกันซึ่งปลอดภัยกว่าและอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ คือไพโอกลีตาโซน (Pioglitazone)

          "ในด้านเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสั่งใช้ยาโรสิกลีตาโซน สำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของโรงพยาบาลข้างต้นมีมูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท หากเปลี่ยนเป็นยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติในกลุ่ม เดียวกัน คือไพโอกลีตาโซน จะทำให้สามารถประหยัดงบประมาณของประเทศได้ถึงเกือบครึ่งหนึ่ง" นพ.สัมฤทธิ์กล่าว

          ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) รายงานว่าพบมีการถอดถอนยาโรสิกลีตาโซนแล้วในประเทศแถบยุโรป 27 ประเทศ และซูดาน อียิปต์ อินเดียรวมทั้งสิ้น 30 ประเทศ โดยเพิกถอนรายชื่อทั้งยาโรคสิกลีตาโซนแบบสูตรยาเดี่ยวและสูตรยาผสม เนื่องจากพบว่า ยาโรสิกลีตาโซน ซึ่งเป็นยาสูตรสำรองสำหรับรักษาผู้ป่วยเบาหวานในกรณียาสูตรหลักไม่สามารถ ควบคุมอาการของโรคได้ โดยพบมีผลข้างเคียงเมื่อนำมาเทียบกับยาชนิดอื่นที่เป็นยาสูตรแรก เช่น ไพโอกลีตาโซน โดยยาโรสิกลีตาโซนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักได้ง่าย ล่าสุดอยู่ระหว่างการเพิกถอนยาดังกล่าว โดยระหว่างนี้ได้ขอความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าให้ระงับการจำหน่าย ยาที่มีส่วนประกอบของโรสิกลีตาโซน และเรียกเก็บยาคืนจากท้องตลาดแล้ว


ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม 2553 หน้า 10

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้