4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ติดตาม 16 งานวิจัย นักวิจัยเขตสุขภาพ

            จากที่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมมือกับภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการพัฒนานักวิจัยด้านนโยบายในเขตสุขภาพ รุ่นที่ 1 (Area Health Research Fellowship) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มอบหมายให้ สวรส. ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนทางวิชาการ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ได้มีความรู้ด้านการวิจัยเชิงระบบและนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การสร้างนักวิจัยหน้าใหม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 12 เขตสุขภาพ ที่สามารถทำงานวิจัยโดยใช้ข้อมูลปัญหาในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพของตนเองมาพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุผลตามตัวชี้วัดของ สธ. นั้น

            โดยที่ผ่านมาการดำเนินโครงการดังกล่าว ได้เริ่มต้นไปเมื่อช่วงปลายปี 2556 มีการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะที่ 1 และคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่มีศักยภาพ ความพร้อม ประกอบกับการพิจารณาหัวข้อการวิจัยที่เหมาะสม จำนวน 20 ผลงานวิจัย ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะต้องกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ พร้อมทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา จากนั้นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาโครงร่างงานวิจัย และดำเนินการทำวิจัยโดยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือข้อเสนอเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาช่วยให้คำแนะนำ และลงเยี่ยมในพื้นที่

            เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 57 ที่ห้องประชุมสุปัญญา อาคารสุขภาพแห่งชาติ ทาง สวรส. ได้จัดการประชุมเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการวิจัยนักวิจัยเขตสุขภาพ จำนวน 16 โครงการฯ ซึ่งเป็นระยะที่ 3 ช่วงของการดำเนินการวิจัยและการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ โดยมี ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม เป็นประธาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ รองผู้อำนวยการ สวรส. ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวรส. ดร.นพ. กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ดร.นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย ดร.รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม นพ.อานนท์ วรยิ่งยง เป็นต้น

            โดยผลงานนำเสนอความก้าวหน้าในครั้งนี้ เป็นการติดตามผลงาน 16 โครงการ ซึ่งผลงานบางโครงการยังอยู่ในกระบวนการของการศึกษาของนักวิจัย ในโอกาสนี้ทาง สวรส. จึงขอนำเสนอหัวข้อจากงานวิจัยที่น่าสนใจของโครงการพัฒนานักวิจัยด้านนโยบายในเขตสุขภาพ รุ่นที่ 1

  • งานวิจัย “ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดน้ำหนักของเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา” นำเสนอโดยคุณนิยม จันทร์แนม ที่พบปัญหาสำคัญจากวัยรุ่นที่อ้วน 100 คน เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังคงมีภาวะอ้วนถึง ร้อยละ 80 จึงจัดโปรมแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครองของเด็กในกลุ่มที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและตัวเด็กเอง รวมถึงผู้จำหน่ายอาหาร เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พร้อมเตรียมจำข้อเสนอจากการวิจัยเสนอต่อผู้บริหารโรงเรียนเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • งานวิจัย “รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตบริการสุขภาพที่ 3” นำเสนอโดย อ.บงกฎ พัฒนา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลานสัก จ.อุทัยธานี เพื่อพัฒนาและกำหนดรูปแบบการทำงานส่งเสริมสุขภาพของ อปท. ที่เหมาะสม ซึ่งจากการศึกษาแม้ว่าโครงสร้าง อปท. จะเหมาะสมดีอยู่แล้ว แต่ระบบข้อมูลข่าวสารยังมีส่วนที่ต้องเติมเต็มอยู่บ้าง โดยผลการศึกษาในเบื้องต้นได้วิเคราะห์ข้อมูล พร้อมกำหนดร่างรูปแบบไว้จำนวน 3 แบบ และวิเคราะห์ SWOT การบริหารจัดการมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการส่งเสริมสุขภาพของ อปท.
  • งานวิจัย “ผลลัพธ์ของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลในเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 4” นำเสนอโดย น.ส.ดาวรุ่ง คำวงศ์ นักศึกษา ป.เอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการบริการและอธิบายรูปแบบการบริการใน NCD Clinic คุณภาพ โดยการดำเนินงานอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ จากคลินิก NCD ของ รพศ. รพท. รพช. และ รพ.สต. ทั้งหมด 56 แห่ง เพื่อวิเคราะห์และสรุปผลต่อไป
  • งานวิจัย “ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” โดย ดร.ภก.มณฑกา ธีรชัยสกุล สำนักงานประเมินมาตรฐานเทคโนโลยี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (พท. พล.) จากการศึกษาพบว่า มีความจำเป็นต่อระบบสาธารณสุขของโลก ทว่ายังไม่เคยมีการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ว่ามีปัจจัยบ้างที่มีอิทธิผลส่งผลต่อจำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในสถานบริการสังกัด สธ. เช่น ในด้านกำลังคน จำนวนแพทย์แผนไทย ชนิดของการบริการ รายการยาสมุนไพร บริการ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา
  • งานวิจัย “โครงการวิจัยวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานอนามัยแม่และเด็ก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยคุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตบริการสุขภาพที่ 12 สะท้อนให้เห็นว่าการเสียชีวิตของมารดา บ่งบอกถึงการเข้าถึงบริการสุขภาพ ขณะที่การเสียชีวิตของมารดา 3 จวต. สูงขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาที่มีผลกระทบและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระดับเขต เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ได้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
  • งานวิจัย “ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลรัฐ เขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 3” นำเสนอโดยคุณณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์ รพ.พิจิตร ที่รายงานว่า การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ในพื้นที่เขต 3 (นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร ตามลำดับ) เป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล จึงศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น การจัดบริการ คุณภาพการนำส่ง การบริหาร รวมถึงปัจจัยความสำเร็จและล้มเหลว เฉพาะใน รพ.รัฐ เขตบริการที่ 3 เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่หน่วยงานรัฐและเอกชน อาทิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) สธ.
  • งานวิจัย “การเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการภายหลังการใส่ฟันเทียมในผู้สูงอายุโครงการฟันเทียมพระราชทาน กรณีศึกษาเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 2” โดยคุณอำนาจ ธีบำรุง รพ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก นำเสนอวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการใส่ฟันเทียมจะช่วยแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำ หรือมีปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้สูงวัยที่ได้รับบริการหรือไม่ จากการสรุปผลการวิจัยเบื้องต้น ช่วง 6 – 12 เดือน ผู้ใส่ฟันเทียมจะมี BMI เพิ่มขึ้น ฉะนั้นการใส่ฟันเทียมจะช่วยแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในผู้สูงวัยที่ไม่มีฟันได้
  • งานวิจัย “การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตบริการสุขภาพที่ 12” โดย คุณอนันต์ อัครสุวรรณกุล ระบุว่า จากการจัดการร่วมในรูปแบบเขตสุขภาพ โดยมีเป้าหมายมุ่งผลสัมฤทธิ์การบริหารระบบข้อมูลข่าวสารร่วมจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้ ในการศึกษาความต้องการเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดเก็บข้อมูล การเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึง กำกับ ติดตาม และประเมินผล ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัย
  • งานวิจัย “การประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ(DHS)จังหวัดตาก” โดยนายปราโมชย์ เลิศขามป้อม ที่เกริ่นที่มาของการวิจัยว่ามาจากการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยมีการประกาศใช้ DHS ในปีงบประมาณ 56 ถือเป็นปัจจัยเร่งและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่หรือไม่ จึงจำเป็นในการประเมินความเหมาะสม กระบวนการ และผลลัพธ์ ทั้งนี้การวิจัยอยู่ระหว่างดำเนินงาน ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการศึกษา คือ แนวทางสำหรับผู้บริหารและบุคลากร สธ. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงและแก้ปัญหาการดำเนินงาน DHS ให้มีประสิทธิภาพ
  • งานวิจัย “การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยง (Development Model of the Type 2 Diabetes Prevention in High Risk Group)” นำเสนอโดย น.ส.จมาภรณ์ ใจภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ขอนแก่น ที่รายงานว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะการเกิดความทนกลูโคสที่ผิดปกติ (IGT) จะกลายเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 2-10% ต่อปี การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะช่วยลดอุบัติการณ์ของเบาหวานได้ จึงพัฒนาโปรแกรมการดูแลกลุ่มเสี่ยง ที่สอดคล้องกับชุมชนคนอีสาน โดยวิจัย R&D พัฒนาโปรแกรม ทดลองใช้/ประเมิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา อนาคตอาจจะมีคู่มือโปรแกรมและคู่มือพี่เลี่ยงในการปฏิบัติที่ต้องติดตาม
  • งานวิจัย “พัฒนารูปแบบการดำเนินงานโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” โดยคุณกานต์นะรัตน์ จรามร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สสจ.ฉะเชิงเทรา ทบทวนเอกสารงานวิจัยพบ แรงจูงใจ บรรยากาศ แรงสนับสนุน มีอิทธิพลต่อการดื่มสุรา จึงเน้นศึกษาวิจัยเพื่อทบทวนมาตรการทางสังคม แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิบัติในทางสร้างสรรค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งานวิจัย “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูล 21 แฟ้มมาตรฐาน ของบุคลากรใน รพสต.จังหวัดชลบุรี” คุณรุ่งทิวา พานิชสุโข นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สสจ.ชลบุรี ข้อมูลที่น่าสนใจของ รพ.สต.ใน จ.ชลบุรี ปี 2556 พบคุณภาพข้อมูลต่ำด้านความถูกต้อง ไม่ครบถ้วน จึงศึกษากระบวนการทำงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและอุปสรรค นำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น การเสนอให้ผู้บริหารกำหนดให้คุณภาพข้อมูลเป็นตัวชี้วัดในการพิจารณาเงินเดือน การจัดให้มีระบบป้อนกลับข้อมูลสู่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อรับทราบผลงาน เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด เป็นต้น
  • งานวิจัย “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางกายและความเคลื่อนไหว” นำเสนอโดย คุณปาริชาต สุวรรณผล สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ที่ระบุว่า การเข้าถึงบริการฟื้นฟูยังมีช่องว่าง ดังนั้นควรพัฒนาระบบบริการและรูปแบบการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างมีระบบ ทั้งนี้การศึกษาอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องและจัดการข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาเป็นข้อเสนอต่อไป
  • งานวิจัย “ความก้าวหน้าโครงการต้นทุน – ประสิทธิภาพของการให้บริการยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลชุมชน” ภก.ดร.สุรศักดิ์ เสาแก้ว คณะเภสัชศาสตร์ ม.พะเยา เพื่อศึกษาต้นทุนและผลของการให้บริการยาฯ ใน รพช. เทียบกับการให้บริการยาฯ โดยระบบส่งต่อของผู้ป่วย เนื่องจากโรคสมองขาดเลือดมีแนวโน้มการตายสูงขึ้นทุกปี หลังผลการศึกษาคาดว่าจะได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย ว่าโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่สามารถที่จะทำหัตถการได้ ซึ่งจะคุ้มค่าอย่างไรงานวิจัยมีคำตอบในเร็วๆ นี้
  • งานวิจัย “การศึกษาระยะเวลาในการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี” โดยคุณพนัชญา ขันติจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.อุบลราชธานี เพื่อประเมินระยะเวลาในการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการมารับการรักษา ใน จ.อุบลฯ ทั้งนี้ การวิจัยอยู้ระหว่างการเก็บข้อมูลและดำเนินการศึกษา
  • งานวิจัย “การศึกษาภาระงานโดยวิธี Full Time Equivalent และการกระจายอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชบุรี” โดย นพ.ณรงค์ เห็นประเสริฐ รพ.ราชบุรี

          ทั้งนี้ ในการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าผลงานวิจัย คณะกรรมการและนักวิจัย พร้อมคณะทำงานวิจัยโครงการต่างๆ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึงและลงรายละเอียดเพื่อการพัฒนาโครงการวิจัยทุกชิ้นได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อยอดพัฒนาผลงานวิจัยให้สมบูรณ์ สามารถตอบโจทย์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่แต่ละเขตสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

รูปภาพเพิ่มเติม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้