4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

“LOINC” รหัสมาตรฐานสากล เพื่อระบบข้อมูลสุขภาพของไทย

          LOINC  (Logical Observation Identifiers Names and Codes) อ่านออกเสียงว่า “หลอยค์” ระบบชื่อและรหัสมาตรฐานสากล (Standard name and coding system) ที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิก  ซึ่ง LOINC เปรียบเสมือนภาษาในการสื่อสารที่ทำให้ระบบข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่างระบบกัน สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิกทำงานร่วมกันได้    

          ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีรหัสมาตรฐานดังกล่าว  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อมูลทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางคลินิก (Laboratory Information) ของหน่วยงานต่างๆ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้  การมีรหัสมาตรฐานข้อมูลทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางคลินิกที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งประเทศ จะเกิดประโยชน์กับหน่วยงานในระบบสุขภาพ  ทั้งเพื่อการดูแลรักษาคนไข้ เพื่อการรายงานทางระบาดวิทยา เพื่อการบริหารทรัพยากร เพื่อการบริหารจัดการการประกันสุขภาพและการเงินการคลังระบบสุขภาพ  ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกและทางสาธารณสุข  ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบการบริการสุขภาพของประเทศมีประสิทธิภาพขึ้นทั้งด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล และทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพ

          จากรายงานผลการวิจัยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาอีเฮลท์ (eHealth) และระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของประเทศไทย ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการร่วมกับองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาบริการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth applications and services) ค่อนข้างแพร่หลาย แต่เป็นการพัฒนาที่กระจัดกระจาย ขาดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน รวมถึงขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ และที่สำคัญขาดการพัฒนาในระดับพื้นฐานของระบบฯ  ทั้งด้าน 1) การให้ความสำคัญระดับนโยบาย และการกำกับดูแลในระดับประเทศ  2) การพัฒนามาตรฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ  3) การพัฒนากำลังคนด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ  รวมถึงการพัฒนาระบบการศึกษาอบรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ

          ดังนั้นศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.)  เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)  เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดการประชุม “แนวทางการนำมาตรฐานการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มาใช้ในระบบสุขภาพไทย” ขึ้น ในวันที่ 20 พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายแนวคิดการนำชื่อและรหัส LOINC ไปใช้ในรหัสห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของประเทศไทย  พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากนักวิชาการ  ตัวแทนหน่วยบริการ  และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือของการพัฒนารหัสมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในระยะต่อไป

          นพ.บุญชัย กิจสนาโยธิน นักวิชาการ ศมสท.  กล่าวว่า  LOINC เป็นรหัสมาตรฐานฯ ระดับนานาชาติที่ควรนำมาใช้ในระบบข้อมูลสุขภาพไทย เนื่องจากมีข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจน  ไม่ว่าจะเป็น 1) มีความเป็นสากลครอบคลุมการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีอยู่เกือบทั้งหมด  และออกแบบวิธีการกำหนดรหัสให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการตรวจใหม่ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต  2) เป็นรหัสมาตรฐานที่มีการยอมรับ และใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในสหรัฐ  แคนาดา  เยอรมัน  สเปน อาร์เจนตินา  สวิสเซอร์แลนด์ และอีกหลายประเทศ  มีกระบวนการบำรุงรักษาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ  มีระบบสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนมีการขยายเครือข่ายการร่วมพัฒนาออกไปในหลายประเทศ  3) มีโปรแกรม mapping ที่เรียกว่า RELMA (Regenstrief LOINC Mapping Assistant)  4) สามาถนำไปใช้ได้ฟรี  โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์   แต่เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับรหัส LOINC ยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีในประเทศไทย  ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาและจัดทำแนวทางการนำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้  โดยการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อย่างเช่นนักเทคนิคการแพทย์  เพื่อจะได้นำไปกำหนดเป็นข้อเสนอการพัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศ และแนวทางในการจัดทำมาตรฐานรหัสทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน  โดยในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายหน่วยงาน อาทิ นักเทคนิคการแพทย์จากโรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวน 60 แห่ง ตัวแทนจากกรมบัญชีกลาง บริษัทซอฟแวร์ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหมดประมาณ 90 คน

          ด้าน นพ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการ ศมสท. และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า  ในอนาคตอันใกล้ กรมบัญชีกลางได้มีแนวทางในการสนับสนุนให้มีการพัฒนามาตรฐานรหัสการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด  ซึ่งนอกจากจะทำให้มีการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกและทางสาธารณสุขแล้ว  ยังทำให้การให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนมีคุณภาพยิ่งขึ้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพของประเทศ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้