4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

การประชุมเชิงวิชาการ: “Healthy Early Life”

 

โครงการจัดประชุมเชิงวิชาการ: “Healthy Early Life”

1. หลักการและเหตุผล

เป็นที่ตระหนักกันมานานแล้วถึงความสำคัญของสุขภาพในวัยเยาว์ต่อภาวะสุขภาพเมื่อเติบใหญ่ ดังที่พบว่า ทารกในครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย (low birth weight) สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ความดันโลหิตสูง (hypertension) และการเกิดเบาหวานประเภทที่ ๒ (non-insulin dependent diabetes) ในผู้ใหญ่ โดยพบความสัมพันธ์ดังกล่าวที่ตรงกันจากหลายรายงานการศึกษาในหลากหลายประเทศ จึงไม่ได้เป็นผลจาก confounding variables ต่าง ๆ (Godfrey KM, Barker DJP. Fetal programming and adult health. Public Health Nutrition 2001; 4(2B), 611-24.) ยังนอกจากนี้ ยังพบหลักฐานจากการศึกษาทั้งทางระบาดวิทยา การศึกษาทางคลินิกและการศึกษาจากการทดลองที่บ่งชี้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระยะเยาว์วัยมีอิทธิพลต่อแนวโน้มการเกิดโรคเรื้อรังทั้งหลายเมื่อสูงอายุ (Gluckman PD, Hanson MA, Cooper C, Thornburg KL. Effect of in utero and early-life conditions on adult health and disease. NEJM 2008;359:61-73.)

ในส่วนของการพัฒนาของสมองในคนเรา พบว่า ช่วงเด็กเล็กวัย ๐.๕-๑ ขวบ เป็นระยะที่สมองพัฒนาได้สูงสุด อาจจะถึงราวร้อยละ ๗๐-๘๐ ตลอดทั้งชีวิต การพัฒนาให้เด็กเล็กทั้งประเทศ ได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองของพวกเขา จะช่วยให้เติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่ฉลาดทั้งทางปัญญา อารมณ์ และจิตสำนึกได้มากกว่านักเรียนและผู้ใหญ่ในปัจจุบันหลายเท่า ชายหญิงควรได้รับการฝึกอบรมแนะแนวให้มีความรู้ตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ ขณะกำลังตั้งครรภ์ และการดูแลพัฒนาเด็กเล็ก ทั้งในเรื่องสุขภาพทางกาย การพัฒนาสมอง สติปัญญา และอารมณ์ โดยควรกำหนดให้แม่ที่มาฝากครรภ์และสามีต้องเข้ารับการฝึกอบรมเป็นพ่อแม่ที่ดี จึงจะได้รับสวัสดิการจากรัฐ เป็นต้น (วิทยากร เชียงกูร. ปฏิรูปประเทศไทย การศึกษา-พัฒนาผู้นำ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ตะวันออก, ๒๕๕๓: ๒๒-๗.)

จะเห็นได้ว่า การให้ความใส่ใจในการป้องกันแก้ไขปัญหาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกของชีวิตจึงนับเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายและประหยัดกว่าการแก้ไขที่ปลายน้ำ นอกจากนี้ สุขภาพกาย สมอง และอารมณ์ มีผลมาจากสภาวะความสมบรูณ์ตั้งแต่ก่อนและขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หลังคลอด รวมทั้งในช่วงการดูแลเลี้ยงดูตั้งแต่เยาว์วัย การประชุมระดมสมองผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละช่วงอายุของชีวิต ในมุมมองที่หลากหลาย เช่น ด้านสุขภาพและสังคม น่าจะช่วยให้เกิดการตกผลึกทางความคิดเพื่อนำไปสู่ประเด็นที่เป็นช่องว่างของการวิจัย หรือ การพัฒนาหามาตรการ ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของชีวิต ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทางสุขภาพได้อย่างเต็มศักยภาพ ที่จะช่วยลด ละ เลี่ยง ปัญหาที่ต้องอาศัยการรักษาและเยียวยาเมื่อเติบใหญ่หรือสูงวัย


2. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  1. ได้หัวข้อวิจัยที่เป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่หรือเมื่อสูงวัย เกิดโครงการวิจัยที่สามารถดำเนินการร่วมกันในระดับชาติ ที่จะแก้ปัญหาในระดับต้นน้ำ

  2. ได้แนวคิด แนวทาง หรือมาตรการที่จะนำไปต่อยอดหรือประยุกต์ใช้ในระยะต้นของชีวิต เพื่อการป้องกันปัญหาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่หรือเมื่อสูงวัย


3. แผนการจัดประชุมเพื่อให้ได้หัวข้อวิจัยและมาตรการที่สามารถนำไปดำเนินการได้

บรรยายและอภิปรายปัญหาด้านสุขภาพกายและใจในวัยผู้ใหญ่ ที่เป็นผลมาจากสภาวะสุขภาพในระยะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หลังคลอด และในวัยเยาว์ ผู้ร่วมบรรยายประกอบด้วย สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ นักวิชาการ นักการศึกษา นักสังคมศาสตร์

  1. กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมประชุม
  2. ครู และบุคลากรแกนนำ กระทรวงศึกษาธิการ
  3. แพทย์ พยาบาล และบุคลากรแกนนำ กระทรวงสาธารณสุข
  4. บุคลากรแกนนำ กระทรวงทรัพยากรและความมั่นคงของมนุษย์
  5. กรรมการและแพทย์จากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
  6. กรรมการและแพทย์จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  7. นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ให้ทุนวิจัย
  8. ผู้สนใจทั่วไป
  9. อื่น ๆ

วันเวลา สถานที่ ในการจัดประชุม

วันพุธที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.ณ ห้องประชุมแซฟไฟร์ ๑-๒ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ

ติดต่อสอบถามโทร 0-2832-9232

ข้อแนะนำสำหรับวิทยากร

  • สำหรับวิทยากรที่มีเวลา ๓๐ นาที กรุณาเตรียมการบรรยายให้เสร็จสิ้นในระยะเวลา ๒๕ นาที และมีเวลาตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม ๕ นาที
  • สำหรับวิทยากรที่ต้องใช้สไลด์ประกอบการบรรยาย กรุณาส่งไฟล์ให้ทาง สวรส ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วัน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้