ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

เลขาฯ วช. แจงบทบาทการทำงานขององค์กรวิจัย

           ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง สภาวิจัยแห่งชาติกับบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านการวิจัยของประเทศ และแนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กรนโยบายและสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยว่า รัฐบาลได้มีการระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2551-2554) ไว้อย่างชัดเจนที่ต้องการให้ใช้การวิจัยเป็นพลังขับเคลื่อนในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาในแต่ละด้านของประเทศ

          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะฝ่ายปฏิบัติของสภาวิจัยแห่งชาติพบว่า ระบบวิจัยของไทยประสบปัญหาหลายประการตั้งแต่การขาดความเป็นเอกภาพ ขาดนโยบายและแผนวิจัยที่สามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ประเทศต้องการ งบประมาณเพื่อการวิจัยมีจำนวนน้อยโดยในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมามีประมาณ 0.2% ของรายได้สหประชาชาติ(GDP) การขาดแคลนนักวิจัย โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอต่อการพัฒนางานวิจัย ระดับสูง งานวิจัยส่วนใหญ่ยังไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งกับภาครัฐ และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

          เลขาฯ วช. กล่าวต่อไปอีกว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นที่รับรู้และตระหนักดีพร้อมทั้งมีความพยายามในการแก้ปัญหา ในหลายรูปแบบ ดังนั้น ครม. จึงมีการกำหนดให้ วช. จัดทำนโยบายและแผนการวิจัยโดยส่วนรวมเพื่อกำหนดเงินงบประมาณประจำปีเพื่อการ วิจัย เป็นผู้พิจารณาแผนงานและโครงการที่เสนอของบป้องกันการซ้ำซ้อนและประสาน ประโยชน์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เสนอทุน ทั้งติดตามผลโครงการวิจัยและแผนงาน ทั้งนี้ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ถือปฏิบัติตามมติ

          มีการจัดตั้ง สกว. สวทช. สวรส. สวก. และมีการ แยกหน่วยงานที่เคยอยู่ภายใต้สภาวิจัยแห่งชาติไปจัดตั้งองค์กรที่มีความอิสระ คล่องตัว ได้แก่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) ในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจองค์กรเทคโนโลยีอวกาศและสารสนเทศ (GISTDA) ในรูปขององค์กรอิสระภายใต้การกำกับของรัฐ มีการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)เพื่อเชื่อมต่อและสนับสนุนต่อการที่เอกชนนำเอาผลการวิจัยหรือเทคโนโลยี ใหม่ไปใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ การจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงทางทหารเป็นองค์กรอิสระ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ สวทน.ดำเนินการจัดทำแผนและนโยบายแผนพัฒนาด้านวิทยาการและเทคโนโลยีโดยเฉพาะ THAIST เป็นสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังกัด สวทน. จัดตั้งโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ รับผิดชอบโดย สกอ. สนับสนุน 9 มหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งด้านวิจัยให้มากขึ้น ความร่วมมือจากภาคเอกชนและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เครือซิเมนต์ไทย (SCG)ปตท. IRPC ในเรื่องการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนางานวิจัย

          เลขาฯ วช. กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปี พ.ศ.2550 มีมติ ครม. เห็นชอบให้วช. นำเอาระบบบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Project Management-NRPM) เป็นเครื่องมือบริหารกระบวนการงบประมาณการวิจัยของประเทศในส่วนงบภาครัฐ และในปี พ.ศ.2553 เห็นชอบให้ วช.รับผิดชอบหลักในดำเนินการปฏิรูปการวิจัยของประเทศ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างความพยายามในการแก้ปัญหาในหลายรูปแบบที่ทำขึ้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการวิจัยของประเทศ และแนวทางความร่วมมือระหว่างองค์กรนโยบายและสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยอีกต่อ ไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หน้า 16

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้