4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สุขภาพดีแม้ไม่มีเนื้อสัตว์

การรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติ  เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเนื่องจากมีสารอาหารที่เพียงพอ อย่างไรก็ตามในสังคมปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่รับประทานอาหารเจหรือมังสวิรัติ จึงต้องรับสารอาหารกลุ่มโปรตีนจากพืชทดแทนเนื้อสัตว์
 

สำหรับบุคคลทั่วไป (ไม่ได้เป็นนักกีฬา หรือมีความจำเป็นในการต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ เช่น กำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น) ต้องการโปรตีนประมาณ 0.8 ของน้ำหนักตัวในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรรับประทานโปรตีนประมาณ 40 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 13 กรัมต่อมื้อ เราสามารถทราบปริมาณโปรตีนได้จากข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งร่างกายของเราก็มีการสึกหรอจากการทำกิจกรรมต่างๆอยู่ตลอดเวลา  อีกทั้งโปรตีนยังเป็นส่วนประกอบของแทบทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นเซลล์ เนื้อเยื่อ ฮอร์โมน เม็ดเลือด กล้ามเนื้อ ฯลฯ โปรตีนยังถูกนำมาใช้เป็นพลังงานเมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงานหลักจากคาร์โบไฮเดรตอีกด้วย การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอจึงสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย เพื่อป้องกันการขาดโปรตีนในกลุ่มผู้รับประทานอาหารเจจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เต้าหู้, นมถั่วเหลือง, ถั่วต่างๆ, ธัญพืช, เนยถั่ว เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่เป็นมังสวิรัติสามารถ มังสวิรัติสามารถรับโปรตีนจากสัตว์ได้โดยเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นม, ไข่, โยเกิร์ต เป็นต้น

 

สำหรับผู้รับประทานอาหารเจหรือมังสวิรัติที่ไม่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ ควรรับประทานแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืชอย่างหลากหลาย เนื่องจากโปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนสมบูรณ์ คือมีกรดอะมิโนครบทั้ง 9 ชนิด แต่โปรตีนจากพืชยังคงขาดกรดอะมิโนบางตัวอยู่ ยกเว้นถั่วเหลือง (Soy) ที่ถือว่าเป็นโปรตีนสมบูรณ์ที่ได้จากพืช
แม้โปรตีนจะเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่การรับประทานโปรตีนมากเกินความพอดีย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ไปเพิ่มการทำงานของตับ ไตในการกำจัดโปรตีนส่วนเกิน, เกิดภาวะไม่สมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลโดยการดึงแคลเซียมมาใช้มากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม ภาวะกระดูกพรุนได้ นอกจากการขับโปรตีนส่วนเกินออกทางปัสสาวะแล้ว ร่างกายยังสามารถสะสมโปรตีนส่วนเกินในรูปของไขมันได้อีกด้วย

 

ดังนั้นการรับประทานโปรตีนให้พอดีกับที่ร่างกายต้องการ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป ร่วมกับการรับประทานผักผลไม้ต่างๆ อย่างหลากหลาย และการรับประทานคาร์โบไฮเดรต ไขมันในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล มีสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จะนำมาซึ่งสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและปราศจากโรคภัยอย่างแท้จริง
 

ข้อมูลจาก : Nestle ; คุณวรงค์พร แย้มประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้