ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

ผลสำรวจสุขภาพคนไทยอ้วน-ลงพุงเพิ่ม


          เปิดผลสำรวจสุขภาพคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบภาวะอ้วนลงพุง เอวหายพุ่งกระฉูด ไขมันในเลือดสูง กินผักผลไม้น้อย ชี้คนไทย 3.3% กินยาคลายเครียด หรือยานอนหลับเป็นประจำ คาดมีผู้ป่วยเบาหวาน 3 ล้านคน ความดันสูง 10 ล้านคน พบเด็กหญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ขณะคนอายุ 60 ปี มีภาวะสมองเสื่อม 12.4%

          รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร สำนักงานศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึง ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุด ระหว่างเดือน ก.ค. 2551- มี.ค. 2552 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้รับการสนับสนุนจากสำนักนโยบายยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กลุ่มตัวอย่างใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพฯ อายุ 15-59 ปี จำนวน 12,240 คน และอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 9,720 คน รวม 21,960 คน

          จากการสำรวจพฤติกรรมการกินอาหาร พบว่าการกินผลไม้  17.7% กินผักและผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ โดยสัดส่วนการกินผักและผลไม้ในผู้ชายอยู่ที่ 16.9% น้อยกว่าผู้หญิงซึ่งอยู่ที่ 18.5% เมื่อพิจารณาตามภาคพบว่า ภาคใต้กินผักและผลไม้เพียงพอมากที่สุด รองลงมา คือ กรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

          ประเด็นการใช้ยาและอาหารเสริม พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 2.3% กินยาแก้ปวดทุกวัน ผู้หญิงมีความชุกในการกินยาแก้ปวดสูงกว่าผู้ชาย และสัดส่วนการกินยาแก้ปวดเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น และพบว่า 3.3% กินยาคลายเครียดหรือยานอนหลับเป็นประจำ ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ

          "ที่น่าห่วง คือ ภาวะอ้วน ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปผู้ชายพบ 28.4% และผู้หญิง 40.7% ความชุกในเขตเทศบาลสูงกว่านอกเขตเทศบาล โดยภาคกลางและ กทม.สูงกว่าภาคอื่นๆ  ส่วนภาวะอ้วนลงพุง ในผู้ชายที่รอบเอวเกิน 90 ซม.มี 18.6% และในผู้หญิงมี 45% เมื่อเทียบกับผลการสำรวจครั้งที่ 3 พบว่า ครั้งที่ 4 มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน" รศ.นพ.วิชัยกล่าว

          ส่วนกรณีโรคเบาหวาน คาดว่าจะมีผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 6.9% หรือ 3 ล้านคน โดยความชุกในผู้หญิง 7.7% ผู้ชาย 6% โดยความชุกจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

          "อีกประเด็นที่น่าห่วง คือ โรคความดันโลหิตสูง โดยพบว่า อายุ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 10 ล้านคน ความชุกจะสูงขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยจากการตรวจร่างกายพบว่า บางคนความดันโลหิตสูงถึง 240 ก็มี ซึ่งในคนที่ร่างกายทนทานได้อาจจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ดังนั้น ข้อแนะนำ คือ การไปตรวจร่างกายทุกปี โดยเฉพาะในคนอายุ 20 ปีขึ้นไป" รศ.นพ.วิชัยกล่าว

          ส่วนปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่า อายุเฉลี่ยของสตรีไทยเมื่อเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก มีแนวโน้มลดลง และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น โดยกลุ่มอายุ 15-29 ปีมีประจำครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปีกลุ่มอายุ 30-44 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 14 ปี
          ส่วนสุขภาพของผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบภาวะสมองเสื่อม 12.4% โดยในผู้ชายพบ 9.8% ในขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 15.1%


ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 กันยายน 2553 หน้า 14

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้