ข่าว/ความเคลื่อนไหว
มะเร็งปากมดลูกคร่าหญิงไทยอันดับ 2 พบแนวโน้มป่วยพุ่งในวัยรุ่น เหตุมีเซ็กซ์ไว เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ต่ำสุดอายุ 17 ปี รพ.จุฬาภรณ์ จับมือวชิรพยาบาล ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สาว กทม. ฟรี 5 พันราย หวังลดป่วยตาย หลังพบมารักษาช้าเข้าสู่ระยะลุกลาม
นพ.ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม มีผู้ป่วยสะสม 16.7 รายต่อประชากรหญิง 100,000 ราย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 8,000 รายทุกปี จำนวนนี้มี 4,000 ราย เสียชีวิต เนื่องจากตรวจพบเป็นระยะลุกลาม โดยพื้นที่มีปัญหามากที่สุดคือ ภาคตะวันออก อาทิ ระยอง และ ชลบุรี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีประชากรอยู่หนาแน่น และกลุ่มที่พบมากสุดคือมีอายุระหว่าง 50 - 55 ปี โดยอายุมากสุดที่พบคือ 80 - 90 ปี
นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ปัจจุบันพบสถิติที่น่าตกใจ คือ พบวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีแนวโน้มเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2 - 3 โดยอายุน้อยสุดอยู่ที่ 17 ปี เนื่องจากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์เร็ว เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ได้ป้องกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และไม่ได้มารับการตรวจคัดกรอง รพ.จุฬาภรณ์ จึงร่วมกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จัดโครงการความชุกของการตรวจพบเชื้อเอชพีวี และการตรวจพบเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกในสตรีกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “หญิงกรุงเพฯยุคใหม่...ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก” ซึ่งจะให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธีที่ดีที่สุดกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จำนวน 50 เขต เขตละ 100 คนฟรี รวม 5,000 ราย
“ผู้ที่มีสิทธิ์จะต้องเป็นผู้ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ใน กทม. ไม่ต่ำกว่า 5 ปี และเป็นหญิงไทยอายุระหว่าง 25 - 65 ปี โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย. เป็นต้นไป ผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 02-576-6864-68 หรือลงทะเบียนได้เองที่ www.cccthai.org” นพ.ณัฐวุฒิ กล่าว
นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนไทยเข้าถึงการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นแต่จำนวนผู้ป่วยยังไม่ลดลงตามเป้าหมายโดยตามเป้านั้นจำนวนผู้ป่วยต้องไม่เกิน 10 รายต่อแสนประชากร เนื่องจากในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบอัตราการป่วยอยู่ที่ประมาณ 5-6 รายต่อแสนประชากรเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการตรวจคัดกรองของไทยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ตรวจคัดกรองทุก 5 ปี ตรวจได้เพียง ร้อยละ 60 - 70 เท่านั้นและส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจในต่างจังหวัด แต่ในกรุงเทพฯประชาชนยังได้รับการตรวจน้อย เพราะไม่ทราบว่าจะไปตรวจคัดกรองที่ไหน
ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้