4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ระวัง! อ้วนวัยกลางคนเสี่ยงสมองเสื่อมตอนแก่

แพทย์ด้านโภชนวิทยา ชี้อ้วนวัยกลางคนเพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ ขณะที่เด็กอ้วน 60-70% จะอ้วนต่อเนื่องไปจนโต ย้ำต้องดูแลสุขภาพ อาหารการกินตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนผู้สูงอายุที่ผอมเกินไป มีสิทธิสมองเสื่อมเร็วกว่าเพื่อน เหตุได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองไม่เพียงพอ แนะกินอาหารครบ 5 หมู่ เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย พบเจอผู้คนช่วยเพิ่มการทำงานสมองป้องกันความเสื่อม ระบุผู้สูงอายุกินอาหารเสริมได้หากขาดสารอาหารจริง 

ระวัง! อ้วนวัยกลางคนเสี่ยงสมองเสื่อมตอนแก่ 

        ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร หัวหน้าโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง "กินอย่างไร สดใสตลอดกาล" ในงานวันรู้ทันป้องกันสมองเสื่อม จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า น้ำหนักมีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีหรือวัยกลางคน โดยติดตามระยะยาวไปจนถึงวัยสูงอายุพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนในวัยกลางคน เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม อาจเป็นเพราะภาวะอ้วนนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทั้งเบาหวาน ความดัน เส้นเลือดแข็งตัว ทำให้มีความเสี่ยงเส้นเลือดในสมองแย่ลง เมื่อแก่ตัวก็มีความเสี่ยงเป็นสมองเสื่อมมากขึ้น นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ผอมจนเกินไปก็มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมด้วย เนื่องจากอาจมีปัญหาในการรับประทาน ทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองไม่เพียงพอ 
       
       " แม้ผลวิจัยจะระบุว่าภาวะอ้วนในวัยกลางคนมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ แต่การดูแลสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะอาหารการกินจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เพราะข้อมูลจากกรมอนามัยก็ชัดเจนว่า เด็กที่มีภาวะอ้วนร้อยละ 60-70 โตไปก็จะมีภาวะอ้วนด้วย ดังนั้น การดูแลเรื่องอาหารการกินจะต้องดูแลตลอดชีวิต ตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่แค่เพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต " ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวและว่า สำหรับข้อแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมนั้น อย่างที่ทราบคือจะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยแนะนำให้รับประทานปลา ขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือบวกอีก 1 ข้อนิ้ว จำนวน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยให้ได้รับน้ำมันปลา ซึ่งน้ำมันปลาจะช่วยให้เลือดใส ไม่เกาะตัวง่าย ลดการอุดตันในเส้นเลือด ที่สำคัญต้องกินผักและผลไม้รวมกันให้ได้อย่างน้อย 5 กำมือต่อวัน
       
       ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังต้องงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่หกล้มง่าย และการมีกิจกรรมเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย ออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน จะช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง ก็จะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนการรับประทานอาหารเสริมในผู้สูงอายุนั้น หลักเกณฑ์คือต้องพิจารณาว่าขาดสารอาหารจริงหรือไม่ หากขาดสารอาหารจริงก็สามารถรับประทานได้ อย่างวิตามินบี และซี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ สามารถรับประทานเสริมได้ เพราะเมื่อเกินความต้องการของร่างกายก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่วิตามินซีจะต้องระวังไม่ควรเกิน 2 พันมิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากรับประทานเกินและถูกขับออกทางปัสสาวะมากๆ จะก่อให้เกิดโรคนิ่วได้

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์
       

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้