4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ร่างกม.คุ้มครองอยู่ในวาระสภาแล้ว


          บอร์ด สปสช.มีมติไม่รับขยาย ม.41 สปสข. แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เนื้อหาครอบคลุมกว่า ดูแลคนทั้งประเทศไม่ใช่เฉพาะผู้ถือบัตรทอง "จุ รินทร์" เผยบรรจุเข้าอยู่ในวาระสภาแล้ว เครือข่ายผู้ป่วย เอ็นจีโอ ร้องถอดหมอเอื้อชาติออกจาก ปธ.คกก.ควบคุมคุณภาพ สปสช. เหตุผลประโยชน์ทับซ้อน ปกป้องผลประโยชน์ รพ.เอกชน

               ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อ ช่วงบ่ายวันที่ 13 ก.ย.ผ่านมา ทางเครือข่ายผู้ป่วย ได้แก่ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง และเอ็นจีโอด้านสาธารณสุข นำโดยนายสุบิล นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไต ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการ สปสช. เพื่อขอให้พิจารณาประเด็นจริยธรรมและผลประโยชน์ทับซ้อนของ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข เนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน เป็นทั้งประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ สปสช. แต่ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม รพ.เอกชนด้วยที่มีความขัดแย้งกัน

               อีกทั้งที่ผ่านมา นพ.เอื้อชาติยังเป็นหนึ่งในกลุ่มแพทย์ ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกฎหมายหลักประกันสุขภาพโดยตลอด รวมถึงกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการรักษาผลประโยชน์ของ รพ.เอกชน มากกว่าการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและผู้ป่วย รวมถึงกรณี นพ.เอื้อชาติทำหนังสือเพื่อเสนอขอให้มีการขยาย ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นการผลักภาระของ รพ.เอกชนที่ไม่ต้องการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กำหนดให้สถานพยาบาลมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย

               ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ด สปสช. ว่า จากที่ นพ.เอื้อชาติ ประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช.ให้บอร์ด สปสช.แก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการแก้ไข ม.41 และ ม.49 เพื่อขยายการคุ้มครองกรณีผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ไปสู่ระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ ที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขตามที่เสนอเพราะว่าขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว และเข้าสู่ระหว่างการพิจารณาในรัฐสภา ซึ่งมีเนื้อหาที่กว้างขวางและครอบคลุมกว่าการขยาย ม.41

               "หากจะเสนอแก้ ม.41 เราเห็นว่าตอนนี้มีร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายครอบคลุมมากกว่าอยู่แล้ว จึงไม่ควรแก้กฎหมายฉบับนี้ให้ซ้ำซ้อน อีกทั้งยังอาจล่าช้ากว่า เพราะการแก้ไขกฎหมายจะต้องนำเสนอเข้า ครม.ใหม่ และต้องส่งให้กฤษฎีกาตีความอีก แล้วจึงนำกลับเข้า ครม.เพื่อเสนอต่อสภา และขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ได้ถูกบรรจุวาระการพิจารณาแล้ว" รมว.สธ.กล่าว และว่า ส่วนกรณีที่ทางเครือข่ายผู้ป่วยและเอ็นจีโอได้ยื่นหนังสือให้ตรวจสอบ จริยธรรม นพ.เอื้อชาติตามขั้นตอน ตนจะส่งเรื่องให้ สปสช.พิจารณาต่อไป

               ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า กรณีการตรวจสอบจริยธรรมและผลประโยชน์ทับซ้อนของ นพ.เอื้อชาติ นพ.ประทีปกล่าวว่า เรื่องนี้ทาง สปสช.รับเรื่องแล้ว จะส่งต่อให้ทางฝ่ายกฎหมายพิจารณาที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าควรจะไม่ควร และหากมีน้ำหนักเพียงพอจะส่งเรื่องให้ทางบอร์ด สปสช.พิจารณาต่อไป

               นอกจากการขยาย ม.41 แล้ว ทาง นพ.เอื้อชาติยังได้เสนอแก้ ม.59 ที่ระบุให้ รพ.ที่เรียกเก็บเงินจากคนไข้สิทธิบัตรทองต้องจ่ายเงินค่ารักษาคืนพร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ 15 โดยขอให้ปรับลดดอกเบี้ยจากร้อยละ 15 ให้เหลือเพียง 7.5 โดยคิดตามกฎหมายแพ่ง ม.224 ซึ่งบอร์ด สปสช.มีมติไม่เห็นด้วยเช่นกัน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้