ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

นักวิชาการมหิดลรับเป็น"กาวใจ"เคลียร์กฎหมายคุ้มครองผู้ป่วย

          เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ตึกกรมสุขภาพจิตจัดเวทีพบสื่อมวลชนเรื่อง "กฎหมายคุ้มครองผู้ป่วย : ประสบการณ์ต่างแดน  เรียนรู้และเข้าใจก่อนตัดสินใจ" จัดโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดย รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง นักวิชาการโครงการสังคมศาสตร์สุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว กล่าวว่า ในประเทศพัฒนาแล้ว เห็นว่าการใช้ช่องทางการฟ้องร้องมีผลข้างเคียงมาก ใช้เวลานาน ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย รวมทั้งผลประโยชน์ไม่ได้ตกที่ผู้ป่วยแต่ไปอยู่ที่ฝ่ายกฎหมาย ปัจจุบันกว่า 10 ประเทศหันมาใช้ระบบการชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด (No-Fault Liability) อาทิ สวีเดน นิวซีแลนด์ อังกฤษ เยอรมนี แคนาดา ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา โดยหลักการสำคัญคือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจเจกบุคคล แต่มาจากระบบส่วนประเด็นการออกแบบระบบนั้น สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้อย่างนิวซีแลนด์จ่ายชดเชยทุกกรณี แต่ในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐจ่ายเฉพาะกรณีได้รับความเสียหายจากการคลอดเท่านั้นเป็นต้น

          รศ.ดร.ลือชัย กล่าวว่า ควรหยุดถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองผู้ได้ รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ... แต่ควรยอมรับว่าประเทศไทยสมควรมีระบบการชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดส่วนการ ออกแบบระบบ ทั้งแหล่งที่มาของกองทุน เพดานการชดเชย หรือการจ่ายชดเชยในกรณีใดบ้าง เรื่องนี้สามารถออกแบบร่วมกันได้ เพราะหากไม่มีกลไกลักษณะนี้ สุดท้ายจะประสบปัญหากลไกการฟ้องร้องเหมือนในต่างประเทศคือ จะเกิดอุตสาหกรรมการฟ้องร้องขึ้นมา และประโยชน์จะไปอยู่ที่กลุ่มวิชาชีพทางกฎหมายซึ่งไม่ใช่ทั้งผู้ป่วยและแพทย์

          วันเดียวกันนี้ ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายพนักงานบริการ และเครือข่ายความหลากหลายทางเพศตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจน (สคจ.) เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข

          นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เรื่องการแก้ไขปัญหาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขว่า เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข จึงมีมติให้ประสานคณะทำงานระดับประเทศ ซึ่งจะประกอบจากบุคลากรจากภาคส่วนต่างๆ 78 คน คือ แพทย์จากโรงเรียนแพทย์แห่งละ 1 แห่ง แพทยสภา 6 คน แพทยสมาคม 5 คน แพทย์ 4 เหล่าทัพ แห่งละ 4 คน แพทย์ผู้ให้บริการจากกระทรวงสาธารณสุขเขตละ 1 คนจาก 20 เขต แพทย์จากสมาคมรพ.เอกชน 1 คน แพทย์จากหน่วยงานสังกัดกทม. 5 คน แพทย์และตัวแทนจากสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) 10 คน ตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสาขาอื่น 5 คน ตัวแทนจากเครือข่ายปกป้องระบบบริการสาธารณสุขไทย 3 คนและสมาคมแพทย์คลินิกแห่งประเทศไทย 1 คน จะประชุมตัวแทนในสัปดาห์หน้าเพื่อคณะกรรมการเสริมสร้างสมานฉันท์ในระบบ บริการสาธารณสุขต่อไป





ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 13 สิงหาคม 2553 หน้า 10
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้