4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

นวัตกรรมใหม่ช่วยยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่

          ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้มะเร็งกลายเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตประชากรโลกไปมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2573 หรืออีก 19 ปี ข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่ 21.3 ล้านคน และจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ล้านคน โดยมะเร็งที่ผู้ชายป่วยมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และ ทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนในผู้หญิงป่วยมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและในประเทศไทยนั้นสาเหตุการตายจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักพบเป็นอันดับสามรองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด

          นายแพทย์พงศธร ศุภอรรถกร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีกล่าวว่า ความจริงแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักสามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจำนวนมากที่เสียชีวิตจากโรคนี้ก่อนวัยอันสมควรเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เนื่องจากโรคนี้ในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ ที่แสดงออกมาให้พบเห็นอย่างชัดเจน ต่อมาเมื่อมีอาการเลือดออกปนกับมูกและอุจจาระ หรือมีอุจจาระก้อนเล็กลง หรือมีอาการลำไส้ใหญ่ อุดตัน ก็มักจะมีการกระจายของโรคมะเร็งออกไปสู่ ต่อมน้ำเหลืองหรือไปที่ตับแล้วทำให้ผลการรักษาให้หายขาดอาจไม่สามารถทำได้ทุกราย
          "หากตรวจพบก้อนมะเร็งในระยะเริ่มแรกหรือพบในขณะที่เป็นติ่งเนื้องอก ผลการรักษาจะดีและมีโอกาสหายขาดได้ โดยอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย ได้แก่อาการถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด มีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ท้องผูก สลับกับท้องเสีย อาการอื่นๆ ที่อาจจะพบได้ คือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้นอาจตรวจพบว่ามีอาการซีด ซึ่งเกิดจากการเสียเลือดโดยที่ไม่มีเลือดออกในอุจจาระให้เห็นได้ ด้วยตาเปล่า อาจคลำพบก้อนที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ผู้ป่วยบางราย อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของลำไส้ใหญ่อุดตัน ซึ่งจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน และถ่ายอุจจาระหรือผายลมลดลง"

          นายแพทย์พงศธร ยังกล่าวว่า "แนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักยุคใหม่ จะเน้นความจำเพาะต่อบุคคลมากขึ้น โดยการตรวจที่เรียกว่า "Biomarker ยีนบ่งชี้" ซึ่ง สมัยก่อนเมื่อ 50 ปีที่แล้ว การรักษามะเร็งเป็นการรักษาแบบเหวี่ยงแห คนไข้ทุกคนใช้รักษาเหมือนกันหมด เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดก็จะทำลายทั้งเซลล์ดีและเซลล์ไม่ดี เป็นการรักษาแบบไม่จำเพาะ แต่ต่อมาเมื่อช่วง 10 ปีที่แล้ว เราเริ่มรู้ว่าคนไข้แต่ละคนแม้เป็น โรคเดียวกัน แต่การรักษาไม่เหมือนกัน โดยการตรวจ "Biomarker ยีนบ่งชี้" ทำให้เรารู้ว่าคนไข้แต่ละคนควรรักษาอย่างไร Biomarker สามารถทำนายการตอบสนองต่อยารักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และ ทวารหนัก จึงทำให้รักษาให้หายขาดหรือยืดอายุผู้ป่วยให้ยาวนาน ขึ้นได้ ซึ่งตอนนี้ในประเทศไทยสามารถทำได้ในโรงเรียนแพทย์แล้วทุกแห่ง"

          สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจ "Biomarker ยีนบ่งชี้" ได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทุกแห่ง หรือสามารถติดต่อศูนย์ Chula GenePRO (รพ.จุฬาลงกรณ์) โทร.02-2564000 ต่อ 3638, 089-9229501 และสถาบันพยาธิวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข โทร.02-3548208-15 ต่อ 212

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557 หน้า 19

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้