4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

หมอกระดูกเผย คนไข้เรียกร้องเป็นเหตุกดดันให้แพทย์จ่ายยามาก หวังคนไทยเข้าใจและหันพึ่งตนเองดูแลข้อเข่า


        หลัง จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีประกาศยกเลิกไม่ให้ผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการเบิกค่ายานอกบัญชียาหลัก ในกลุ่มกลูโคซามีน ซึ่งเป็นยาเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วมีทางเลือกอื่นที่ดีสำหรับผู้ป่วยหรือไม่ อย่างไร

          ในเวทีเสวนาและสาธิตทางเลือกรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554 ที่บ้านสวนสหคลินิก ซอยสุวรรณเกษม จรัลสนิทวงศ์ 13 แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ นายแพทย์ยลชัย จงจิระศิริ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิรินทร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ยาเกี่ยวกับข้อเสื่อมที่มีการโฆษณาว่าบำรุงกระดูกอ่อนนั้น เป็นยาที่ผู้ป่วยรู้จักและนิยมเพราะมีการโฆษณากันมาก คนไข้โดยเฉพาะผู้ที่เบิกสิทธิข้าราชการมักจะเรียกร้องขอให้แพทย์สั่งให้ แม้ว่าแพทย์จะอธิบายถึงการใช้ยาที่เหมาะสม แต่คนไข้ก็มักจะไม่ค่อยรับฟัง ทำให้ยอดการสั่งยากลุ่มกลูโคซามีนที่โรงพยาบาลที่ตนปฏิบัติงานอยู่มียอดสูง เป็นอันดับหนึ่งของค่ายาทั้งหมด

          “การใช้ยาบำรุงกระดูกอ่อน เป็นความเชื่อ แต่จริงไม่จริงยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอน แต่คนไข้เรียกร้องมาก จะเอาให้ได้ ในขณะที่แพทย์เองก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์ว่าเมื่อไรควรใช้หรือไม่ควรใช้ จึงทำให้มีการสั่งจ่ายยามาก ส่วนตัวผมคิดว่า ยาพวกนี้ ทั้งที่กินและที่ใช้ฉีดเข้าข้อไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่ ยิ่งคนที่ข้อเสื่อมมากแล้ว อาจจะมีขาโก่งแล้ว ใช้ยาพวกนี้ไม่ได้ผลอะไร จะเสียเงินเปล่าและแพงด้วย”  นายแพทย์ยลชัย กล่าว

          นายแพทย์ยลชัย กล่าวอีกว่า ที่จริงแล้วคนไข้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมร้อยละ 90 อยู่ในกลุ่มที่สามารถดูแลรักษาได้โดยวิธีธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ยาใด ๆ โดยการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น ไม่นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือนั่งขัดสมาธินาน ๆ ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ และการลดน้ำหนัก โดยพบว่าคนไข้ข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวด หากลดน้ำหนักได้ 5 กิโลกรัมอาการปวดจะหายไปอย่างแน่นอน การรักษาด้วยยาควรใช้เมื่อมีอาการปวดทรมานและเมื่อหายปวดควรหยุดใช้ยา ในฐานะแพทย์ตนหวังที่จะเห็นคนไทยมีความเข้าใจ และดูแลตนเอง โดยต้องมีความมุ่งมั่นและเห็นประโยชน์ว่าการรักษาโดยไม่ใช้ยา และโดยวิธีธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

          อาจารย์ดารณี อ่อนชมจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพวิถีไทย กล่าวว่า สังคมไทยมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก ภูมิปัญญาไทย เช่น การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย ก็มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในการตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาอาการปวดข้อ ที่สามารถเป็นทางเลือกที่ดี จะลดการพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ซึ่งมีราคาแพงและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

          ในงานครั้งนี้ มีการบรรยายและสาธิตการตรวจ รักษา และกายบริหารตามแบบการแพทย์แผนไทย สาธิตการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยจัดดุลยภาพบำบัด ซึ่งว่าด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและกระดูกเพื่อแก้ไขโครงสร้างที่มีปัญหา ให้กลับมาเป็นโครงสร้างที่ไม่บิดเบี้ยว ซึ่งเป็นสาเหตุของการกดทับเส้นประสาทที่ทำให้ปวด สาธิตการนวด การประคบความร้อน การประคบรักษาปวดข้อปวดเข่าด้วยปูนแดงตามศาสตร์การแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งมีประชาชนสนใจเข้าร่วมและซักถามเป็นจำนวนมาก

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้