4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

รักษาป่วยฉุกเฉินคนสับสน รพ.เรียกเงิน

           เมื่อวันที่ 17 ส.ค. นพ.ถาวร  สกุลพาณิชย์ ผอ.สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัย "การบริหารจัดระบบบริการทางการแพทย์กรณี ฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วมสามกองทุน" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการตามนโยบายการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินร่วม 3 กองทุน ช่วงเดือน เม.ย. 2555-มิ.ย. 2556 จำนวนกว่า 1 พันคน สรุปว่า นโยบายการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินร่วม 3 กองทุนให้บริการรวดเร็ว รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน รวมทั้งโรงพยาบาล (รพ.) รัฐและเอกชนไม่มีการปฏิเสธการรักษาคนไข้ตามมาตรฐานสากล ทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น
          นพ.ถาวร กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาของนโยบายข้างต้นนั้นพบว่า ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะใช้สิทธิได้ที่ไหน และการใช้สิทธิทำได้แค่ไหน รวมทั้งแต่ละหน่วยงานทั้ง 3 กอง ทุนไม่ว่าจะเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ รวมทั้งรพ.รัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติยังมีความสับสนเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติในการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินร่วม  3 กองทุน นอกจากนี้เรื่องค่ารักษาพยาบาลไม่มีการกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยว ข้องอย่างชัดเจนว่าให้ รพ.ที่ให้การรักษาไปเรียกเก็บเงินค่ารักษาจากหน่วยงานใด ทำให้เกิดความสับสนในทางปฏิบัติ แม้ รพ.เอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้เก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโดยตรง แต่ไปเบิกจากกองทุนประกันสังคมผ่านหน่วยงานกลางของ สปสช. ภายหลัง แต่ก็มี รพ. เอกชนบางแห่งยังคงเรียกเก็บเงินค่ารักษาจาก คนไข้ บางรายต้องกู้เงินมาจ่ายค่ารักษาจนเป็น หนี้สิน
          นพ.ถาวร กล่าวด้วยว่า มีข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายโดยห้าม รพ.รัฐและเอกชนที่ให้การรักษาเรียกเก็บเงินจากคนไข้โดยเด็ดขาด แต่ให้ไปเรียกเก็บจากกองทุนต้นสังกัดของคนไข้แต่ละคนโดยผ่านหน่วยงานกลางของ สปสช.เท่านั้น รวมทั้งชี้แจงแนวปฏิบัติที่ชัดเจนให้แต่ละกองทุนเพื่อจะได้เข้าใจและปฏิบัติให้ตรงกัน นอกจากนี้การจ่ายค่ารักษาให้แก่ รพ.เอกชนนั้นควรใช้อัตราเดียวกับที่กรมบัญชีกลางจ่ายให้แก่โรงเรียนแพทย์ ส่วนของ สปส. ควรจัดให้มีสายด่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยแยกจากสายด่วนปกติ และจัดให้พยาบาล มาเป็นคอลเซ็นเตอร์ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ของ สปส. ไปคอยติดตามช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หน้า 3

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้