4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

'อีโบลา'รับมืออย่างมีสติ

          แม้ประเทศไทยไม่เคยพบโรคอีโบลาและมีความเสี่ยงน้อยที่จะพบโรคนี้ แต่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมประกาศให้เป็น "โรคติดต่ออันตราย"  เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกัน
          วิกฤติเชื้อไวรัสอีโบลาที่ระบาดไกลในโซนทวีปแอฟริกา กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมไทย แม้ว่าพื้นที่การระบาดอยู่คนละซีกโลกกับไทยเรา  แต่โรคนี้เป็นโรคสากล เมื่อมีการเดินทางไปมาระหว่างประเทศอยู่เสมอก็ไม่มีอะไรที่  ร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม เราจะมีวิธีรับมือข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติได้อย่างไร

          คัมภีร์ป้องกันง่ายๆ ที่ใช้ได้กับทุกโรคภัยไข้เจ็บ ไม่เฉพาะอีโบลาคือ การรักษาสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เราทุกคนควรทำให้เป็นนิสัย สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ นี่คือ  สิ่งที่ทุกคนทุกเพศวัยควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย "โอกาสในการติดเชื้อหรือแพร่ของ โรคอีโบลาน้อยกว่าการติดเชื้อไข้หวัด" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์  โรงพยาบาลจุฬาฯ กล่าว ทำความรู้จักอีโบลา...อีโบลาเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายโรค ไข้เลือดออก  มีการรั่วไหลของเลือดและ น้ำเหลืองออกจากหลอดเลือดเหมือน ไข้เลือดออก และทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย เกิดภาวะเลือดออกภายในร่างกาย โดยโรคมีระยะฟักตัว 2-21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต การแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ เลือดออกในอวัยวะภายในและเสียชีวิต

          โรคนี้ติดต่อกันทางสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ทั้งเลือด น้ำมูก น้ำลาย และอาจเป็นได้ทางเพศสัมพันธ์ (ในกรณีที่ผู้ป่วยรอดชีวิตอาจพบเชื้อในน้ำอสุจิได้นานสามเดือน) โรคนี้ยังไม่มียารักษา ต้องรักษาแบบประคับประคองและรักษาตามอาการ และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ติดต่อได้ง่ายทางการสัมผัส มีอัตราการเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50-90

          ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า  โรคอีโบลาไม่ไช่โรคใหม่ มีมาเกือบ 40 ปี ถ้าเป็นโรคที่ระบาดใหญ่คงมีการระบาดไปไกลกว่านี้ แต่การระบาดเกิดขึ้นมากกว่า 20 ครั้ง แต่ละครั้งมีผู้ป่วย 500-600 คน สามารถควบคุมโรคได้อย่างดี  การระบาดในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันเกิดการระบาดมาเกือบ 5 เดือนยังจำกัดอยู่ใน 3 ประเทศแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น การที่ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ เนื่องจากเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ค่อนข้างยากจน ห่างไกลการเข้าถึงกระบวนการสาธารณสุขและแพทย์มีน้อย บวกกับมีความรู้น้อยและมีความเชื่อบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้น เช่น การทำความสะอาดศพด้วยมือเปล่าก่อนที่จะฝัง เป็นต้น "โดยทั่วไปผิวหนังปกติจะป้องกันการเข้าของเชื้อโรคได้ เว้นแต่จะมีบาดแผลหรือมือไปแตะต้องแล้วมาขยี้ตาหรือแคะจมูก ก็จะทำให้ติดเชื้อได้ ยังไม่พบการติดต่อ ทางเดินหายใจ อีกทั้งผู้ป่วยที่อยู่ระยะฟักตัวและยังไม่มีอาการของโรค โอกาสจะแพร่กระจายไปผู้อื่นน้อยมาก เพราะฉะนั้น  การเดินสวนกับชาวแอฟริกัน หรือการพูดคุยไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่อย่างใด" ส่วนการวินิจฉัยการติดเชื้ออีโบลาทำได้โดยการตรวจหาเชื้อไวรัส (antigen  detection, viral RNA polymerase  chain reaction) และภูมิต่อเชื้อไวรัส (IgG)  ส่วนการรักษา ในปัจจุบันเมื่อยังไม่มีการรักษาจำเพาะ จึงทำได้เพียงการบรรเทาอาการ และรักษาตามอาการ  ปัจจุบันมีความพยายามในการคิดค้น ยาใหม่ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา สำหรับการป้องกันสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ โดยการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อ ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาด  ควรปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือด หรือสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของ เครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสาร คัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่อาจนำมาเป็นอาหาร ถ้ารู้สึกไม่สบาย มีอาการไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง ผื่นแดง หรือตาแดง ให้พบแพทย์ทันที

          อย่างไรก็ตาม คุณหมอแนะให้คนไทย เชื่อมั่นในระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ที่สามารถรับมือ ควบคุมได้และไม่ก่อให้เกิดการระบาดอย่างเช่นในประเทศแถบแอฟริกา เนื่องจากมีประสบการณ์ในการควบคุมโรคซาร์สได้อย่างประสบความสำเร็จ ทั้งที่อำนาจในการติดโรคของซาร์สสูงกว่า อีโบลา โดยอัตราการแพร่เชื้อจาก 1 คนไปได้ ถึง 3 คน มากกว่าเชื้ออีโบลาที่แพร่จาก 1 คน ไปได้ 1-2 คน

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หน้า 6

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้